เอกสารเห็ดเป็นยา โดยนักวิทยาศาตร์ (เพื่อนของ) ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล  ตอนที่ 3

เห็ดโคนน้อย เห็ดถั่ว หรือเห็ดปลวก: สรรพคุณ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ

หากพูดถึงการทำอาหารเห็ดโคนน้อยเป็นเห็ดที่อร่อยเมื่อยังเป็นดอกอ่อนๆ
ส่วนคุณสมบัติความเป็นยา มีสาร เออโกไธโอนีอีน ergothioneine สรรพคุณต่อต้านอนุมูลอิสระ และ สาร γ-aminobu- tyric acid (GABA ) สรรพคุณรักษาภาวะวิตกกังวล ตื่นตระหนก

นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณป้องกันการเกิดเนื้องอก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และต่อมลูกหมาก และลดระดับน้ำตาลในเลือด

[su_box title=”ข้อความบางส่วนจากบทความของ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล” style=”glass”]เห็ดโคนน้อยถั่ว ซึ่งเป็นเห็ดที่คนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือ เขากินกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษนานมาแล้ว น่าจะเป็นเห็ดที่เพาะได้ชนิดแรกของประเทศไทย ที่มนุษย์ทำการเพาะได้มานับร้อยนับพันปีแล้ว เพราะเป็นเห็ดที่เพาะง่ายมาก เพียงแต่เอาต้นถั่ว เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง หรือแม้กระทั่งวัสดุอย่างอื่น เช่น ขี้อ้อย กากมัน ทะลายปาล์ม ที่กองกันไว้ มันเป็นเห็ดที่เกิดเร็ว โตเร็ว และเน่าเร็ว บางแห่งเรียกแตกต่างกันไป เช่น ทางเหนือ เรียกเห็ดถั่ว ทางอิสานเรียก เห็ดมัน เห็ดขี้อ้อย แล้วแต่ว่า มันเกิดกับวัสดุอะไร ส่วนภาคกลางและภาคอื่นๆ เหมารวม เรียกว่า เห็ดขี้ม้า เพราะชื่อมันไม่น่าทานเอาเสียเลย เพราะไปเหมารวมเอาเห็ดชนิดนี้ ไปเป็นเห็ด ขี้ม้าเสียหมด

ในช่วงเศรษฐกิจประเทศไทยล้มละลาย เมื่อปี 2541 ผมได้นำเอาเห็ดชนิดนี้มาสอนเพาะ โดยตั้งชื่อใหม่ว่า “เห็ดโคนน้อย” เห็ดโคนน้อย เป็นเห็ดที่มีโปรตีนสูงที่สุด เมื่อเทียบกับบรรดาเห็ดที่เพาะ สูงกว่าเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมเสียอีก ดังนั้น มันจึงเจริญเติบโตเร็วมาก เส้นใยสามารถกินอาหารทั่ววัสดุเพาะด้วยเวลาเพียงสองสามวันเท่านั้น จากนั้นอีกเพียงหนึ่งถึงสองวันก็จะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นแล้ว เมื่อมีดอกเห็ดเกิดแล้ว เนื้องจากมันมีโปรตีนสูง มันจึงโตไวมาก ใช้เวลาเจริญเติบโตเพียงไม่กี่ชั่วโมง นับตั้งแต่เห็นดอกเห้ดดอกเล็กๆเกิดขึ้น ใช้เวลาเพียง ห้าถึงหกชั่วโมง ก็ต้องทำการเก็บเกี่ยวแล้ว หากไม่เก็บเกี่ยวก็จะกลายเป็นเห็ดหมึก(Ink cap) ไป

ส่วนสรรพคุณเป็นยา ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ได้กล่าวไว้ว่า “ผมเอาเรื่องเห็ดโคนน้อยมาสอนควบคู่กันไปพร้อมกับเห็ดฟางตั้งแต่เมื่อปี 2516 ก็เพราะความอร่อยของมันเท่านั้น แต่พอผมไปฝึกงานเรื่องเห็ดกับบริษัทซัมมิเซล ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2525 และที่สถาบันเอทีซีซี รัฐแมรี่แลนด์ อเมริกา ผมกลับเห็นเขาเพาะเห็ดโคนน้อยเอาไปทำเป็นแคปซูลกินเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม ทำให้นับแต่นั้นมา ผมจึงสนใจเรื่อง เห็ดโคนน้อยเป็นพิเศษเสมอมา” จากผลการทดลองในต่างประเทศ จะเห็นว่า เขาได้ทำการทดลองแล้วพบว่า เห็ดโคนน้อย มีสารที่สามารถไปยับยั้งเซลมะเร็งเต้นนม (Ikkapa alpha phosphorylation in MCF7 breast cancer cells) กว่า 90% ดังนั้น จึงมีหลายบริษัทชั้นนำ ที่ผลิตอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ยังไม่มีทางรักษาด้วยยาที่ได้ผลได้ในปัจจุบัน(there is no effective therapy for malignant estrogen-independent breast cancer)

ซึ่งเรื่องนี้ ท่านสุภาพสตรีทั้งหลาย ที่เกรงว่า จะมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมชนิดร้ายแรง หรือเป็นแล้ว ไม่ต้องการให้เซลมะเร็งเต้านมแพร่กระจายมากไปกว่านั้น เห็ดโคนน้อย ถือว่า เป็นทั้งอาหารและยา ที่ควรนำมาทานเป็นอาหารเพื่อสุขภาพไปด้วย ส่วนโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก(Prostate cancer) การรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนไปบล๊อคฮอร์โมนเพศชาย(Androgen) หรือไปต่อต้านการสร้างฮอร์โมนเพศชาย(Androgen antagonist treatment) นั้น พบว่า จะมีผลในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะเริ่มต้นเท่านั้น แต่หากเป็นมะเร็งต่อมลูกหมายระยะที่สาม หรือระยะแพร่กระจายแล้ว การใช้ยายับยั้งหรือต่อต้านฮอร์โมนเพศชายจะไม่ได้ผล แต่ก็พบว่า สารสำคัญ ที่ส่วนใหญ่เป็นพวกเบต้ากลูแคนในเห็ดโคนน้อยนั้น มีคุณสมบัติในการไปยับยั้งขบวนการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจนได้ดีกว่า ซึ่งจะช่วยทำให้การแพร่กระจายของเซลมะเร็งต่อมลูกหมากได้

ดังนั้น เห็ดโคนน้อย จึงไม่ใช่เพียงอาหารที่เอร็ดอร่อยเท่านั้น มันยังมีสารโพลี่แซคคาไรด์ ที่ส่วนใหญ่เป็นเบต้ากลูแคน ที่ช่วยยับยั้งเซลมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมากได้ จึงเหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย แม้ไม่เป็นมะเร็ง ก็จะช่วยป้องกันโอกาสที่จะเป็นมะเร็งได้[/su_box]

ใส่ความเห็น