ปัญหาโรครากเน่าในพืชนั้น คือ ปัญหาอันใหญ่หลวงของชาติ เกษตรกรอันเป็นสันหลังหรือกระดูกของชาติ เมื่อทำการปลูกพืชติดต่อกันหรืออย่างต่อเนื่อง หรือปลูกพืชยืนต้น ที่จะต้องมีอายุอยู่อีกยาวนาน มักจะประสพกับปัญหาที่ปลูกไปสักระยะหนึ่งแล้ว จะเกิดอาการรากเน่าตาย อันเป็นสาเหตุเกิดจากเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคแก่ระบบรากของพืช วิธีแก้ปัญหาของเกษตรกร มักจะคิดว่า เมื่อพืชเกิดอาการรากเน่า ก็ใช้ยาเคมี ตามที่ถูกยัดเยียดให้เกิดความเชื่อกันเช่นนั้น ซึ่งจริงๆแล้ว สารเคมี อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง เป็นการชั่วคราวเท่านั้น แถมยังเป็นพิษต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อมเสียอีก ที่สำคัญ เมื่อหมดฤทธิ์ยา หรือโรคมีการดื้อยา ปัญหาก็จะเกิดขึ้นมาอีก

นับว่า เป็นบุญของประเทศครับ ที่เรามีนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิชาการที่เก่ง ยังมีอยู่ในประเทศไทย ในเรื่องนี้ ต้องยกนิ้วให้แก่ท่านอาจารย์ รศ. ดร. จิระเดช แจ่มสว่าง แห่งภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ท่านได้ทำการศึกษาเชื้อราที่เป็นเชื้อปรปักษ์หรือศัตรูกับเชื้อราที่ทำให้เกิดโรครากเน่า โดยท่านศึกษาพบว่า เชื้อราเขียว ตระกูล Trichoderma บางสายพันธุ์ ซึ่งเป็นเชื้อราที่เป็นมิตรกับต้นพืชและสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษต่อคน แต่เป็นศัตรูอันร้ายกาจต่อเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ท่านได้ศึกษาเรื่องนี้ มาตั้งแต่ปี 2528 พบว่า นอกจากเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า สามารถเข้าไปจัดการกับปัญหาเชื้อที่ทำให้เกิดโรครากเน่าในพืชอย่างได้ผลในระยะยาวแล้ว มันยังช่วยย่อยสารอาหารจากอินทรีย์วัตถุให้เป็นประโยชน์ต่อโรคพืช พร้อมทั้งสามารถป้องกันและแก้ปัญหาโรครากเน่าในขบวนการปลูกพืชแบบไฮดดรโพนิกส์ได้เป็นอย่างดี แถมยังป้องกันไม่ให้เกิดตะกรันเกาะตามท่อหรือตามแผงแผ่นอีแว้ปอีกด้วย

ทางอานนท์ไบโอเทค ได้เริ่มทำการผลิตเชื้อไตรโคเดอร์ม่ามาตั้งแต่ปี 2538 โดยได้รับเชื้อบริสุทธิ์มาจากกรมส่งเสริมการเกษตร แต่มาทราบภายหลังว่า เชื้อดังกล่าวได้มาจากท่านอาจารย์จิระเดช แจ่มสว่างนั่นเอง เมื่อวันที่ 18-19 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา ผมและอาจารย์เยาวนุช เอื้อตระกูล ได้ไปเข้ารับการอบรมการปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์ จัดขึ้นที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับฟังการบรรยายอันทรงคุณค่ายิ่ง จากท่านอาจารย์จิระเดช โดยได้อัดคลิ๊ปการบรรยายทั้งหมดของท่าน ที่ผมเห็นว่า เป็นประโยชน์ยิ่ง และนี่เป็นการปลดแอก และกู้ชาติกู้แผ่นดินโดยแท้ ที่จะทำให้พี่น้องเกษตรกร หรือผู้ที่รักอาชีพการเกษตร จะได้ลืมตาอ้าปาก ที่ไม่ต้องตกไปเป็นเบื้องล่าง ด้วยการนำเอาสารพิษจากต่างประเทศมาใช้อีกเลย เอาเลยครับ มาฟังการบรรยายที่ทรงคุณค่ายิ่งของท่านอาจารย์จิระเดชกันเลยครับ

การบรรยายเรื่องการใช้ไตรโคเดอร์มากับไฮโดรโพนิกส์


[su_row] [su_column size=”1/2″] 00:00:00 – ทำไมต้องเป็นไตรโคเดอร์มา
00:02:50 – เชื้อไตรโคเดอร์มาพันธุ์ไทย Trichoderma asperallum
00:05:37 – กลไกในการต่อสู้กับเชื้อโรค
00:05:40 — แข่งขันกับเชื้อโรค
00:07:15 — เป็นปรสิตกับเชื้อโรคโดยการกอดรัดและสร้างเอ็นไซม์
00:09:35 — สร้างสารปฏิชีวนะ
00:10:25 — การชักนำให้พืชต้านทานโรค
00:14:25 – การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยลดปริมาณโรคพืช
00:15:25 – ปฏิสัมพันธ์ระหว่างไตโคเดอร์มากับต้นพืช เช่นเพิ่มความหนาแน่นของราก, เพิ่มการดูดซึมของแร่ธาตุ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
00:20:15 – การทดลองเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของผักสลัด
00:21:05 – ประโบชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
00:22:05 – ชนิดของเชื้อโรคที่ใช้กับไตรโคเดอร์มา
00:23:23 – การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์
00:24:30 – ปัญหาการติดเชื้อในระบบไฮโดรโพนิกส์[/su_column] [su_column size=”1/2″]00:26:00 – โรคกล้าเน่า
00:27:00 – โรครากเน่า
00:28:18 – โรครากเน่าโคนเน่า
00:29:11 – เชื้อราพิเธียมตัวเจ้าปัญหาที่ว่ายน้ำได้
00:33:45 – โรคใบจุด
00:36:09 – ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรค
00:37:45 – ไตรโคเดอร์มาในสารละลายธาตุอาหาร
00:47:00 – การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อลดต้นทุนสารละลายธาตุอาหาร
00:49:00 – ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาและฟอสฟอรัส เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักสลัด
00:55:00 – เปรียบเทียบต้นทุนการใช้งานคู่กับฟอสฟอรัสกับผลผลิตที่ได้
00:59:00 – การใช้ไตรโคเดอร์มาเพื่อลดปริมาณไนเตรต
01:00:19 – การทดลองกับโรคใบจุดของผักกาดหอม
01:01:55 – การเตรียมเชื้อแบบน้ำ
01:04:25 – การเลี้ยงขยายเชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดสด
01:21:07 – สาธิตการเลี้ยงเชื้อไตโคเดอร์มาสด
01:23:19 – คำถามจากผู้เข้ารับการอบรม[/su_column][/su_row]