การเพิ่มอาหารสดในมื้ออาหารจะช่วยให้เราได้รับเอ็นไซม์เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่

ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

Sun Nov 21, 2010 9:41 pm

อาหารสดนั้นจะมีเฉพาะเอ็นไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลายตัวเอง จะไม่มีเอ็นไซม์พิเศษอื่นใด สำหรับใช้ย่อยอาหารปรุงสุกหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการใดๆมาแล้ว และเนื่องจากอันตรายจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์อาหารหลายชนิด จึงไม่เหมาะแก่การทานสด ทั้งนี้รวมถึงเนื้อ ไก่ ไข่ และถั่ว อีกทั้งไฟเบอร์ที่พบในอาหารสดนั้น ก็ยากต่อการย่อยสลาย

เอ็นไซม์มีผลต่อลำไส้ใหญ่อย่างไร

จากการวิจัยพบว่า อาหารปรุงสุกจะเคลื่อนที่ผ่านระบบทางเดินอาหารได้ช้ากว่าอาหารสด อีกทั้งอาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ จะเกิดการหมักเน่าเสีย เกิดสารอันตรายขึ้น สารเหล่านี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคความเสื่อมต่างๆ เช่น arthritis ภาวะหลอดเลือดหัวใจบกพร่อง โรคมะเร็งและเบาหวาน
นักวิจัยหลายคนพบว่า การที่น้ำหนักตัวร่างกายเพิ่มขึ้นนั้น เกิดจากการสะสมของของเสียในร่างกาย การที่มนุษย์เรามีเส้นเลือดฝอยที่มีความยาวร่วม 100,000 ไมล์ ทั้งในระบบลำเลียงเลือด ระบบน้ำเหลือง บริเวณข้อต่อกระดูก รวมถึงบริเวณภายในและภายนอกเซลล์ด้วย จุดที่มีการสะสมของของเสียมากที่สุดนั้นก็คือ ลำไส้ใหญ่ โดยการสะสมของของเสียที่ลำไส้ใหญ่ สามารถเพิ่มน้ำหนักร่างกายขึ้นถึง 50 ปอนด์ หากเราทานแต่อาหารสุกและไขมันสูง และที่ร้ายคือ ของเสียที่อยู่ทั้งในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ สามารถถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ ถ้าของเสียเหล่านั้นยังมีปริมาณสารต่างๆมากเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ถ้ามีแคลอรีอยู่มาก ก็สามารถทำให้อ้วน มีเกลือแร่มาก จะทำให้เกิดโรค arthritis มีโปรตีนมาก จะทำให้เกิดมะเร็ง มีไขมันมากจะทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลสูงขึ้น และถ้าปริมาณน้ำตาลสูงเกินไป จะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เอ็นไซม์ที่มีอยู่ในอาหาร จะช่วยย่อยอาหารให้มีขนาดเล็กลงจะง่ายต่อการนำไปใช้ และไม่มีสารตกค้างในลำไส้ใหญ่

เอ็นไซม์ช่วยรักษาอาการปวดหัวของไมเกรนได้หรือไม่

อาการปวดหัวจากไมเกรนบางครั้งมีสาเหตุจาก ความไม่สมดุลย์ของฮอร์โมนหรือการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เนื่องจากต่อม pituitary ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อทั้งหมด และการกินอาหารที่ไม่มีเอ็นไซม์เลยนั้น จะกระตุ้นต่อมพิทูอิทารีให้ทำงานหนัก การหลั่งฮอร์โมนในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ของของฮอร์โมน สาเหตุของอาการปวดหัวจากไมเกรนอีกทางหนึ่ง ที่อาจจะเป็นไปได้ จากการที่ร่างกายได้รับสารพิษที่พบในลำไส้ใหญ่ ที่ถูกสร้างขึ้นจากกระบวนการย่อยอาหารที่บกพร่องดังนั้น การกินอาหารสดหรือเอ็นไซม์เสริม จะสามารถลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้

เอ็นไซม์ช่วยรักษาการนอนไม่หลับได้หรือไม่

อาการนอนไม่หลับ เกิดจากหลายสาเหตุ จะพบว่า เอ็นไซม์บำบัดให้ผลที่น่าพอใจ หากอาการนอนไม่หลับเกิดจากความไม่สมดุลย์ของฮอร์โมนในระบบต่อมไร้ท่อ นอกจากนี้ การพร่องเอ็นไซม์กลุ่มเมตาบอลิซึม จะส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนของต่อม pituitary จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับด้วย ดังนั้นการกินอาหารสดและเอ็นไซม์เสริม จะช่วยในการรักษาสมดุลย์ของระบบต่อมไร้ท่อได้

เอ็นไซม์สามารถช่วยรักษาโรคสะเก็ดดาวเงินได้หรือไม่

แพทย์ผิวหนังหลายท่านรายงานว่า สามารถใช้เอ็นไซม์ในการบำบัดรักษาโรคนี้ได้ โดยในปี ค.ศ. 1930 นักวิจัยรักษาโดยให้ผู้ป่วยกินเนยดิบจำนวนมากที่มีเอ็นไซม์ lipase อยู่ และเมื่อเร็วๆนี้ มีงานวิจัยพบว่า การให้เอ็นไซม์ไลเปสในปริมาณที่สูงมาก สามารถช่วยรักษาอาการของโรคนี้ให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การทานเอ็นไซม์ในปริมาณสูง ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเสมอ

เอ็นไซม์จากพืชทำงานได้ดีกว่าเอนไซม์จากสัตว์ในสภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหารจริงหรือไม่

มีรายงานจากการวิจัยที่สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า เอ็นไซม์จากพืช มีความสามารถในการทำงาน ในสภาวะเป็นกรดของกระเพาะอาหารได้ดีกว่าเอนไซม์จากสัตว์ Dr. Selle นักสรีระวิทยาจากมหาวิทยาลัย Texas ทดลองให้อาหารธัญพืชที่เสริมเอ็นไซม์ amylase  ที่สกัดจากบาร์เลย์แก่สุนัข โดยมัดท่อส่งน้ำย่อยจากตับอ่อนไว้ เพื่อกันไม่ให้น้ำย่อยจากตับอ่อนมารบกวนการทดลอง และกระเพาะอาหารถูกทำให้ว่าง โดยการงดอาหารชั่วเวลาหนึ่ง เวลาผ่านไปไม่นานพบว่า แป้งในกระเพาะอาหารของสุนัขบางตัวถูกย่อยไปแล้วถึง 65 เปอร์เซ็นต์ เอ็นไซม์ amylase  จากบาร์เลย์ถูกพิสูจน์แล้วว่า สามารถทำงานได้ดีในกระเพาะอาหารที่มี pH เป็นกรดต่ำกว่า 2.5 ยิ่งกว่านั้น Dr.Selle ยังพบอีกว่า เมื่อเวลาผ่านไปชั่วโมงครึ่งหลังจากได้รับเอ็นไซม์ amylase แล้ว เอนไซม์ 71 เปอร์เซ็นต์ จะถูกตรวจพบอยู่ในลำไส้เล็กและยังคงสามารถทำงานได้ และเมื่อนำอุจจาระมาวิเคราะห์พบว่า ปริมาณเอ็นไซม์จากพืชในอุจจาระนั้น มีมากกว่าเอ็นไซม์ที่หลั่งออกมาจากตับอ่อน
แต่เอ็นไซม์ที่หลั่งจากตับอ่อน จะทำงานได้เฉพาะสภาพที่มีความเป็นด่างในลำไส้เล็กส่วนต้นเท่านั้น และโดยปกติแล้ว เอ็นไซม์จากสัตว์จะถูกสกัดจากตับอ่อนแล้ว จึงนำมาทำให้บริสุทธิ์ขึ้น ซึ่งการเสริมเอ็นไซม์เหล่านี้ จึงไม่สามารถทำงานได้ดีบริเวณกระเพาะอาหาร ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า

การกินเอ็นไซม์เสริมที่สกัดจากพืช จะช่วยย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้ดีเช่นเดียวกับในลำไส้เล็ก โดยจะเป็นการช่วยลดการทำงานของตับอ่อน ในการหลั่งน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร

นักวิ่งและคนที่ออกกำลังอยู่เสมอจะต้องการเอ็นไซม์แตกต่างจากคนทั่วไปหรือไม่

จะแตกต่างกัน เนื่องจากคนเหล่านี้ ต้องการเอ็นไซม์ที่มากขึ้นของนักวิ่งหรือคนออกกำลังกายนั้น มาจากการที่ต้องสูญเสียเอ็นไซม์จำนวนมากไปกับเหงื่อ นอกจากนั้น ร่างกายจะใช้เอ็นไซม์ไปอย่างรวดเร็วขณะออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังที่ฝืนกำลัง หรือหักโหมกว่าที่เคยทำให้เกิดตะคริวและเกิดการสูญเสียน้ำอย่างรุนแรง

เอ็นไซม์สามารถช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้หรือไม่

มีความเป็นไปได้สูง เพราะหากว่า ไม่มีเอ็นไซม์ทำงานอยู่ในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ ก็จะไม่มีการสร้างกล้ามเนื้อใดๆขึ้น รวมไปถึงกล้ามเนื้อที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอีกด้วย ดังนั้น เอ็นไซม์จึงเป็นสารกระตุ้นที่มีหน้าที่เปลี่ยนอาหารไปเป็นพลังงาน ทำให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้และขนาดก็จะเพิ่มขึ้น

ใส่ความเห็น