เอกสารเห็ดเป็นยา โดยนักวิทยาศาตร์ (เพื่อนของ) ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล 

เชื้อรา รวมถึงเชื้อเห็ดเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายอินทรีย์ต่างๆ ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการเกิดสมดุลย์ และนอกจากนี้ก็ยังมีส่วนสำคัญในการทำงานและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชอีกด้วย สำหรับยุควิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน เราเริ่มนำเอาเชื้อรามาใช้ทางการแพทย์ครั้งแรกหลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Alexander Fleming ค้นพบยาเพนนิซิลินซึ่งเป็นยาต้านเชื้อ หรือยาแก้อักเสบเป็นครั้งแรก จากเชื้อราที่ชื่อว่า Penicilium

สำหรับเชื้อราชั้นสูงขึ้นมาที่เราเรียกว่าเส้นใยเห็ด (mycelium) มันมักซ่อนตัวและเติบโตอยู่ใต้ดิน ซึ่งเมื่อตัวเส้นใยรับเอาสารอาหารที่อยู่รอบตัวมาสร้างเป็นดอกและสปอร์อยู่เหนือดินให้เราได้เห็น แล้วเราก็เรียกมันว่า ”เห็ด” ซึ่งพบว่ามีมากกว่า 14,000 พันธุ์

– เห็ดเบริช (Birch Polypore) และ เห็ดฟืน (Tinder Fungus) ถูกค้นพบพร้อมกับมัมมี่อายุ 5,300 ปี ที่เรียกว่าอุธซี่ เพื่อใช้เป็นยาและฟืน

– เห็ดฟืน (Tinder Fungus) ใช้ในการรักษาแผลพุพอง ในประเทศกรีกโบราณ

– และเห็ดมากมายหลายชนิดก็ได้ถูกใช้ในการรักษาโรคอีกมากมายในเอเชียตะวันออก และมีการบันทึกวิธีการใช้ไว้หลายอย่างเช่นแบบผง, แบบน้ำ, แบบชา และแบบซุป

โดยนับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ผ่านมา (ปี 1950) ก็เริ่มมีการตื่นตัวของการพัฒนาการเพาะเห็ด, การวิจัยและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเห็ดมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงคุณสมบัติของการรักษาโรคต่างๆอีกด้วย

ในปัจจุบันเรามักเห็นเห็ดเป็นยาโดยทั่วไปในรูปของอาหารเสริม ไม่ว่าจะเป็นผง, เม็ด, แคปซูล หรือทิงเจอร์ (การสกัดแบบใช้แอลกอฮอล์) เพื่อใช้ป้องกัน และรักษาโรคหลายชนิด ตั้งแต่ผู้ป่วย, นักกีฬา, ผู้สูงอายุ ไปจนถึงการใช้ในปศุสัตว์

จากการวิจัยคุณสมบัติความเป็นยาของเห็ด พบว่าโพลีแซคคาไรด์ เช่นเบต้ากลูแคน มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะใช้ในการแพทย์ที่ประเทศญ่ปุ่นเพื่อรักษาโรคมะเร็ง เช่น เลนติเนน (lentinan) ในเห็ดหอมญี่ปุ่น หรือชิตาเกะ และ สาร PSK (Polysaccharides-K) ในเห็ดคาวาราตาเกะ หรือ ยุนชี เป็นต้น ซึ่งหลักการใช้เห็ดเป็นยานี้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่ง อันเป็นผลให้ลดการทำงานของเชื้อมะเร็ง โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้ควบคู่กับการฉายแสงและการทำเคมีบำบัด
นอกจากเห็ดเป็นยายังมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ, การแก้อาการอักเสบบวม (Anti-inflammtory), การแก้ภูมิแพ้ , คุณสมบัติในการปรับสมดุลย์ของเลือด, ระดับไขมันในเลือด, และความดัน อีกทั้งยังใช้เพื่อป้องกันเบาหวาน, ความดันสูง และโรคเกี่ยวกับหัวใจ
นอกเหนือจากนี้มันยังมีฤทธิ์ต้านไวรัส และการติดเชื้อ และสารเออโกสเตอรอลในเห็ดก็ทำให้เห็ดสามารถแปลงเอาพลังงานแสงแดด และแสงอัลตร้าไวโอเลต เป็นวิตามินดี ซึ่งมีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงยิ่งขึ้น สำหรับอาการข้างเคียงของการใช้ยา พบว่าไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ยกเว้นเห็ดในตระกูล Auricularia หรือเห็ดหูหนู ซึ่งไม่แนะนำให้ใช้ระหว่างตั้งครรภ์

https://en.wikipedia.org/wiki/Piptoporus_betulinus
https://en.wikipedia.org/wiki/Fomes_fomentarius

ใส่ความเห็น