ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล
อาจารย์วีรพล นิยมไทย ปรมาจารย์เรื่องปุ๋ยและธาตุอาหาร ที่เห็ดและพืชต้องการนั้น ช่วงระยะของความเป็นกรด-ด่าง ที่มีผลต่อการดูดเอาธาตุอาหารไปใช้ได้แตกต่างกัน อยู่ที่ระดับของความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกัน โดยระดับความเป็นกรด-ด่าง อยู่ที่ 6.5-7.5 ถือว่าอยู่ระดับของความเป็นกลางนั้น เห็ดและพืช จะดูดธาตุอาหารเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ขณะที่ หากค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำกว่า 6.5 ถือว่าเป็นกรด ยิ่งต่ำยิ่งมาก ความเป็นกรดยิ่งสูง ธาตุอาหารที่มีอยู่ในวัสดุเพาะ หรือวัสดุปลูก แม้มีธาตุอาหารอยู่มาก แต่เห็ดหรือพืชก็ไม่สามารถนำเอาไปใช้ได้ นั่นคือ คำตอบว่า ทำไม การปลูกพืชในที่ลุ่มภาคกลาง ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมานานหลายทศวรรษ แม้นำดินไปวิเคาาะห์พบว่า ดินนั้น มีธาตุอาหารอยู่สูง แต่ก็เป็นกรด ซึ่งมีค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า พีเอซ (pH) ต่ำมาก เนื่องจากเกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยเคมีผิดๆมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต เมื่อพืชที่เคยปลูกได้นำเอาธาตุไนโตรเจนไปใช้แล้ว ก็จะเหลือแต่อนุมูลของกรดแบตตอรี่หรือกรดซัลฟูริก จึงทำให้ดินในภาคกลางที่ใช้ปุ๋ยนี้ติดต่อกันมานานมีความเป็นกรดสูง ถึงแม้จะใส่ปุ๋ยให้สูงปานใด ปุ๋ยส่วนใหญ่ก็จะถูกตรึงไว้ พืชจะไม่สามารถนำเอาไปใช้ได้ เช่น ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม ซัลเฟอร์ แมกนีเซียม แมงกานีส โบรอน ทองแดง สังกะสีและโมลิดินั่ม ในทางตรงกันข้าม ธาตุเหล็กจะละลายออกมามากจนกลายเป็นพิษต่อ เห็ดและพืชได้ หากน้ำหรือดินที่ใช้ปลูกหรือรดแก่เห็ดหรือพืช ที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างสูงกว่า 7.5 ขึ้นไป ถือว่า มีสภาพเป็นด่าง ยิ่งค่ายิ่งสูง ก็แสดงว่า มีค่าความเป็นด่างสูง ก็เช่นกันธาตุอาหารอันได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แมงกานีส โบรอน ทองแดง สังกะสีและโมลิตินั่ม ในทางตรงกันข้าม ธาตุโปตัสเซียม ซัลเฟอร์หรือกำมะถัน โมลิดินั่ม จะละลายออกมามากจนกลายเป็นพิษต่อ เห็ดและพืชได้ ด้วยเหตุนี้ ท่านอาจารย์วีรพล จึงเน้นเป็นประจำว่า ก่อนที่จะทำการใช้น้ำหรือวัสดุปลูกหรือเพาะ ควรต้องทำการวัดค่าของความเป็นกรด-ด่างตลอดเวลา หากพบว่า มีค่าเป็นกรดมาก ก็ให้ใช้น้ำด่าง เช่น น้ำปูนใสใส่เข้าไปปรับจนให้อยู่ในระดับเป็นกลาง เช่นเดียวกัน หากมีสภาพเป็นด่าง ก็ให้ใช้กรด เช่น กรดเกลือ กรดไนตริก เติมใส่เข้าไปจนอยู่ในระดับของความเป็นกลางเสมอครับ
[envira-gallery id=”3668″]