คำถามที่พบเสมอเกี่ยวกับเอ็นไซม์

ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล
Dr. Dick Couey ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการและวิทยาศาสตร์สุขภาพจากมหาวิทยาลัยแพทย์ Baylor เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในงานวิจัยด้านโภชนาการและสุขภาพ และเขียนตำราทางวิชาการด้านนี้ไว้ถึง 13 เล่มได้กล่าวถึงเอ็นไซม์เอาไว้ว่า

“ตลอดชีวิตของผม ผมได้ค้นหาคำตอบว่า จะทำอย่าไรให้มีสุขภาพที่ดีปลอดจากสภาวะ Hypokinetic (การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลดลง) หรือปราศจากโรค เริ่มแรกได้ศึกษาผลของการออกกำลังกายต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของเซลล์มนุษย์ ที่จะทำให้ผล ได้พบว่า การออกกำลังกายที่เหมาะสม จะช่วยในการเริ่มสร้างศักยภาพด้านสรีระวิทยาของเซลล์ได้ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่ได้ป้องกันให้เซลล์ทำงานได้ปกติอย่างปกติเสมอไป ต่อมาได้มีการศึกษาถึงโภชนาการว่า จะมีผลอย่างไรต่อเซลล์ โดยเมื่อเซลล์ได้รับสารอาหารที่ 45 ชนิด ในปริมาณที่เหมาะสม จะสามารถส่งเสริมการทำงานภายในเซลล์ได้เป็นอย่างดี แต่การได้รับสารอาหารเพียงทางเดียวนั้น ไม่สามารถคงสภาพเซลล์ให้เป็นปกติได้อย่างสมบูรณ์แบบ จากจุดนี้ ทำให้เรารู้ว่า การออกกำลังกายร่วมกับการได้รับสารอาหารที่เหมาะสมเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยป้องกันความผิดปกติของเซลล์ ถึงอย่างนั้นเราก็ยังคิดว่า เรายังไม่ได้คำตอบทั้งหมด เมื่อเราได้พบว่า เพื่อนที่มีสุขภาพดีที่สุดของเรากลายเป็นคนที่มีสุขภาพย่ำแย่ จนเมื่อได้พูดคุยกับ Dr.DicQie Fuller และรับรู้ถึงเรื่องราวของเอ็นไซม์ ทำให้เราเข้าใจถึงคำตอบของการมีสุขภาพที่ดี เอ็นไซม์คือ คำตอบนี้ เพราะเอ็นไซม์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย อวัยวะเราทุกส่วน เนื้อเยื่อเราทุกชิ้น และเซลล์เราทุก ๆ เซลล์ สามารถทำหน้าที่ได้ด้วยการขับเคลื่อนของเมตาบอลิซึมของเอ็นไซม์เป็นแหล่งที่สร้างพลังงานให้กับร่างกาย ถ้าไม่มีเอ็นไซม์ร่างกายก็ไม่สามารถใช้สารอาหารทั้ง 45 ชนิดได้อย่างเต็มที่ เซลล์ของเราทุกเซลล์ทำงานภายใต้กิจกรรมของเอ็นไซม์ ถ้าไม่มีเอ็นไซม์ก็ไม่สามารถคาดคะเนได้เลยว่าท่านจะมีแรงงานเหลือเพียงแค่ไหน หรือท่านจะกินอาหารได้หรือไม่ จะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของท่าน อาหารสดจากธรรมชาติ นั้นเต็มไปด้วยเอ็นไซม์ที่ช่วยในการย่อยสลายอาหาร การทำอาหารให้สุกเป็นการทำลายเอ็นไซม์ที่เราสมควรจะได้รับจากอาหาร ส่งผลให้ร่างกายต้องสร้างเอ็นไซม์ออกมาเองเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อกระบวนการย่อยอาหาร จะเป็นการลดศักยภาพการทำงานของเอ็นไซม์ลงไปอีกทางหนึ่งด้วย เมื่อความสามารถในการสร้างเอ็นไซม์ของร่างกายลดต่ำลง สุขภาพของเราก็จะได้รับผลกระทบ ดังนั้นเราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ท่านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเอ็นไซม์ที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดี สามารถป้องกันโรคภัยและทำให้ร่างกายของท่านกลับไปมีสุขภาพที่ดี เป็นปกติได้ดังเดิม”
Dick Couey, Ph.D.
Baylor University, March 1996
คำถามและคำตอบต่อไปนี้เป็นการตอบโดย Dr.Dick Couey และเป็นคำถามที่พวกเราได้รับฟังมาเกี่ยวกับเอ็นไซม์ ซึ่งได้คัดออกมาจากหนังสือทางด้านโภชนาการและเอ็นไซม์ที่มีชื่อว่า การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน : คำถามที่คุณไม่เคยถามและคำตอบที่ชีวิตของคุณขาดไม่ได้
DicQie Fuller, Ph.D.
Houston, Texas, March 1996
เอ็นไซม์เป็นโมเลกุลของโปรตีน ที่ใช้ในการสร้างพลังงานที่จำเป็นต่อทุกปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกายของเรา โดยจะมีเอ็นไซม์ประมาณ 2,700 ชนิดที่ถูกค้นพบในร่างกายมนุษย์ เอ็นไซม์จะทำงานร่วมกับโคเอ็นไซม์ เพื่อใช้ในการสร้างสารเคมีกว่า 10,000 ชนิด ที่ช่วยในการมองเห็น ได้ยินเสียง ช่วยให้ท่านรู้สึกได้ การเคลื่อนไหว การย่อยอาหาร และการนึกคิด ในทุกๆ อวัยวะ ทุก ๆ เนื้อเยื่อ และทุกๆล้านๆเซลล์ในร่างกาย จะขึ้นอยู่กับเมตาบอลิซึมของเอ็นไซม์และพลังงานที่เอ็นไซม์สร้างขึ้น ดังนั้นเราจะไม่สามารถอธิบายคำว่า โภชนาการได้เลย ถ้าไม่กล่าวถึงบทบาทที่สำคัญของเอ็นไซม์นี้

  • ท่านสามารถใช้คำนิยามคำว่า โภชนาการได้หรือไม่
    โภชนาการ คือ ความสามารถของร่างกายที่จะรับสารอาหาร 45 ชนิดให้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมได้ แล้วย่อยสลายสารอาหารเหล่านั้น อีกทั้งการดูดซึมและการพาสารอาหารที่ดูดซึมได้เข้าสู่เซลล์ รวมถึงเมตาบอลิซึมของสารอาหารเหล่านั้น และกิจกรรมในการกำจัดสารพิษได้
    สารอาหารทั้ง 45 ชนิด ได้แก่
    – คาร์โบไฮเดรต
    – ไขมัน
    – โปรตีน
    – น้ำ
    – กรดอะมิโน 9 ชนิด
    – วิตามิน 13 ชนิด
    – เกลือแร่ 19 ชนิด
    การทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้แน่ใจได้ว่า ท่านได้รับโภชนาการที่ดี เอ็นไซม์มีหน้าที่ในการย่อยสลายอาหาร ดูดซึม ขนส่งและกำจัดของเสียที่เกิดจากการใช้สารอาหารเหล่านั้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เซลล์ทุกๆ เซลล์นั้น ขึ้นอยู่กับการทำงานของเอ็นไซม์และพลังงานที่เอ็นไซม์สร้างขึ้น
  • ท่านรู้ไหมว่าพลังงานที่เอนไซม์สร้างขึ้นนั้นคืออะไร
    พลังงานที่เอ็นไซม์สร้างขึ้นนั้นคือ พลังงานที่ก่อให้เกิดของเป็นจุดกำเนิดของปฏิกิริยาเคมีระหว่างเอ็นไซม์กับสารต่างๆในร่างกาย พลังงานที่สร้างขึ้นนี้ จะถูกดึงออกมาจากสารเคมีโดยเอ็นไซม์ ตัวอย่างเช่น นำเมล็ดถั่วดิบใส่ลงในหม้อน้ำเดือด เมื่อนำมาปลูกถั่วที่ผ่านการต้มสุกแล้วก็ไม่สามารถงอกออกมาเป็นต้นได้ นั่นหมายถึง พลังงานดังกล่าวถูกดึงออก หรือถูกทำให้สูญเสียไป เมื่อท่านศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ท่านก็สามารถรู้ได้ว่า สิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ที่สามารถสร้างเอ็นไซม์ขึ้นมาได้โดยใช้พลังงานดังกล่าวนั้น เนื่องจากสารเคมีจะมีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของปฏิกิริยาเคมีเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากเอ็นไซม์ที่สามารถกระตุ้นการทำงานได้ ทั้งปฏิกิริยาเคมีและปฏิกิริยาชีวภาพทางเคมี(catalyst) จะไม่มีพลังงานเหล่านี้เหมือนกันเอ็นไซม์ และพลังงานเหล่านี้ก็ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ พูดง่ายๆก็คือ พลังงานนี้เปรียบเสมือนกับกระแสไฟฟ้าที่ช่วยให้หลอดไฟสว่างขึ้นได้
  • เอ็นไซม์มีกี่ชนิด
    เอ็นไซม์สามารถแบ่งออกมาได้เป็นกลุ่มหลัก 3 กลุ่มได้แก่
    1. เอ็นไซม์ที่มีหน้าที่ในการย่อยสลายอาหาร
    2. เอ็นไซม์มีหน้าที่เกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
    3. เอ็นไซม์ที่มีอยู่ในอาหาร (Food Enzyme)

เอ็นไซม์กลุ่มที่ 1 จะถูกหลั่งออกมาจากต่อมน้ำลาย กระเพาะอาหารตับอ่อน และลำไส้เล็ก เอ็นไซม์เหล่านี้ จะช่วยย่อยอาหารที่เรากินให้มีขนาดที่เล็กลง ดังนั้นสารอาหารทั้ง 45 ชนิด ก็สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้
เอ็นไซม์กลุ่มที่ 2 เป็นเอ็นไซม์ที่หน้าที่เหมือนกับตัวกระตุ้นปฏิกิริยาภายในเซลล์ ที่จะมีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างพลังงาน
เอ็นไซม์กลุ่มที่ 3 เป็นเอ็นไซม์ที่มีอยู่ในอาหาร แต่เมื่อนำอาหารไปปรุงสุกแล้ว จะทำให้สูญเสียสภาพธรรมชาติของเอ็นไซม์ไป

  • เอ็นไซม์มีอะไรบ้าง
    เอ็นไซม์มีอยู่หลากหลายชนิด แต่สามารถแบ่งกลุ่มหลักๆ ได้ดังต่อไปนี้

เอ็นไซม์ย่อยโปรตีน
Protease/aminopeptidase/enterokinase/carboxypeptidase/trysin/pepsin

เอ็นไซม์ย่อยไขมัน
Lipase/cholesterol esterase

เอ็นไซม์ย่อยคาร์โบไฮเดรต
Amylase/sucrase/maltase/lactase/ptyalin/cellulose protease, lipase, amylase และ cellulose เป็นเอ็นไซม์หลักที่พบในอาหารโดยเอ็นไซม์ protease ย่อยโปรตีนเอ็นไซม์ amylase ย่อยแป้ง เอ็นไซม์ lipase ย่อยไขมัน และเอ็นไซม์ cellulose ย่อยเซลลูโลส (ไฟเบอร์) เอ็นไซม์ที่มีอยู่ในอาหารสดจะทำหน้าที่ช่วยในการย่อยสลายอาหาร ทดแทนการใช้เอ็นไซม์ที่ต้องสร้างขึ้นจากร่างกายเพียงอย่างเดียวในอาหารสดจะมีเอ็นไซม์ 4 ชนิดนี้อยู่เช่นกัน โดยจะช่วยในการย่อยสลายโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และไฟเบอร์ที่มีอยู่ในอาหารได้

  • เอ็นไซม์ทำงานอย่างไรในร่างกาย
    เมื่อเราทานอาหารสด เอ็นไซม์ในอาหารจะถูกกระตุ้นให้ทำงานได้โดยความร้อนและความชื้นภายในช่องปาก เมื่อได้รับการกระตุ้นเอ็นไซม์เหล่านี้ก็จะทำการย่อยสลายอาหารให้มีขนาดเล็กลง พอที่ถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ Villi และผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ ต่อจากนั้นจะมีเมตบอลิซึมของเอ็นไซม์ในการใช้สารอาหารเหล่านั้น เพื่อนำมาสร้างเป็นกล้ามเนื้อ เส้นประสาทต่อมต่างๆ กระดูก เม็ดเลือด ปอดและอวัยวะอื่นๆ โดยที่เซลล์ในร่างกายจะมีความจำเพาะต่อกลุ่มของเอ็นไซม์ต่างกัน และเอ็นไซม์แต่ละชนิด ก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น เอ็นไซม์ย่อยโปรตีนก็จะไม่ย่อยสลายไขมัน เอ็นไซม์ย่อยไขมันก็จะไม่ย่อยสลายแป้ง เอ็นไซม์จะทำปฏิกิริยาในการเปลี่ยนแปลงสารชนิดหนึ่งไปเป็นสารใหม่อีกชนิดหนึ่ง แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองหลังจากเกิดปฏิกิริยาแล้ว จากเหตุผลที่ว่า สารเคมีในร่างกายของเราจะเปลี่ยนไปเป็นสารอีกชนิดหนึ่งโดยการรวมตัวจากเอ็นไซม์ ดังนั้น ถ้าไม่มีเอ็นไซม์ร่างกายก็ไม่สามารถทำงานได้
  • เคยได้ยินมาว่าเอ็นไซม์จะถูกทำลาย ในสภาวะที่เป็นกรดของกระเพาะอาหารจริงหรือไม่
    จากข้อมูลที่ว่า โครงสร้างของเอ็นไซม์จะถูกทำลายในสภาวะความเป็นกรดของกระเพาะอาหารนั้น ยังเป็นทฤษฎีที่ยึดถือกันในหมู่นักวิจัยอย่างไรก็ตาม มีการค้นพบใหม่เมื่อเร็วๆนี้ว่า เมื่อเอ็นไซม์เคลื่อนที่เข้าสู่กระเพาะอาหารจะถูกทำให้เสียสภาพการทำงานไปเท่านั้น เนื่องจากความเป็นกรดในกระเพาะอาหารสูง เมื่อเอ็นไซม์เคลื่อนที่มาถึงสำไส้เล็ก ที่มีสภาวะที่เป็นด่าง เอ็นไซม์จะสามารถกลับสู่สภาวะที่ทำงานได้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำให้เกิดการย่อยสลายที่สมบูรณ์ แต่การทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว ร่างกายจะไม่ได้รับเอ็นไซม์เพิ่มจากอาหารนั้น เนื่องจากเอ็นไซม์ถูกทำลายโดยความร้อนไปแล้ว ดังนั้นการย่อยสลายอาหารจึงขึ้นอยู่เพียงว่า ร่างกายสามารถสร้างเอ็นไซม์ขึ้นมาใช้ในการย่อยสลายอาหารได้เพียงพอหรือไม่
  • การปรุงอาหารให้สุก จะทำให้เอ็นไซม์เสียสภาพธรรมชาติหรือไม่
    ความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 48 องศาเซลเซียส จะมีผลให้เอ็นไซม์สูญเสียคุณสมบัติตามธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ เอ็นไซม์ไม่สามารถทนต่อความร้อนนานๆได้ ต่างจากวิตามินและเกลือแร่ เพียงความร้อนที่จะทำให้มือเรารู้สึกร้อนนั้นก็สามารถทำลายเอ็นไซม์ที่มีอยู่ในอาหารได้ อาหารที่ขายอยู่ในตามท้องตลาดส่วนมากจะผ่านความร้อนมาแล้ว เพื่อสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานาน ทำให้เอ็นไซม์ในอาหารจะถูกทำลายไป
  • ถ้าเอ็นไซม์ถูกทำลายโดยการปรุงอาหารแล้ว เราจะได้รับเอ็นไซม์เพิ่มจากทางใดได้บ้าง
    มีอยู่ 2 ทางคือ การทานอาหารสด และการเสริมเอ็นไซม์เพิ่มเติม แม้ร่างกายเราสามารถสร้างเอ็นไซม์ได้ แต่เอ็นไซม์ส่วนมากที่สร้างขึ้น จะถูกใช้ไปในการย่อยอาหาร มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ถูกใช้ในการรักษาสมดุลย์ของสุขภาพร่างกาย และสิ่งที่สำคัญมากที่สุดนั้นคือ เราต้องรักษาความสามารถในการสร้างเอ็นไซม์ของร่างกายให้เป็นปกติ ไม่เช่นนั้นพลังงานชีวิตของร่างกายจะลดต่ำลง เป็นผลให้สุขภาพร่างกายไม่ดีตามไปด้วย
  • ท่านจะรักษาระดับของเอ็นไซม์ในร่างกายได้อย่างไร
    ร่างกายของเราจะมีเอ็นไซม์อยู่มาตั้งแต่เกิดแล้ว อย่างไรก็ตาม แหล่งที่มาของเอ็นไซม์ในร่างกายนั้น ไม่ได้มาจากการสร้างขึ้นภายในร่างกายเพียงอย่างเดียว ควรกินอาหารสดมากเท่าที่จะทำได้ หรือรับเอ็นไซม์เสริมที่ได้จากพืช เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพของเอ็นไซม์ของท่าน ถ้าท่านไม่สามารถทำตามข้อแนะนำนี้ได้ ก็อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ป่วยอย่างหนักหรือถึงขึ้นเสียชีวิตได้
  • จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเอ็นไซม์ที่มีอยู่ในร่างกายหมดไป
    มีรายงานการวิจัยในหนูและไก่ ที่กินอาหารที่ผ่านการปรุงสุกแล้วพบว่าตับอ่อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากสภาวะการขาดเอ็นไซม์ในการย่อยอาหาร ยิ่งกว่านั้น สัตว์เหล่านั้น เกิดอาการป่วยและมีการเจริญเติบโตช้าลง ตับอ่อนนั้นมีหน้าที่ในการสร้างและหลั่งเอ็นไซม์ ที่ใช้ในการย่อยอาหาร ดังนั้น ตับอ่อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะใช้ในการสร้างเอ็นไซม์หรือย่อยอาหารให้ได้มากขึ้น สัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว แพะ กวาง และแกะ อย่างไรก็ตาม เมื่อให้สัตว์พวกนี้กินอาหารที่ผ่านความร้อน ที่เอนไซม์ในอาหารถูกทำลายไป ตับอ่อนของสัตว์พวกนี้ จะมีขนาดใหญ่ขึ้นถึง 3 เท่า
    สุขภาพที่ทรุดโทรม จะมีผลเสียอย่างมากเมื่อเรายังกินอาหารที่ปรุงสุกเพิ่มขึ้นไปอีก มีการแสดงให้เห็นโดยการวิจัยของมหาวิทยาลัย Washington โดยนำสุนัขมาสกัดเอ็นไซม์จากตับอ่อนออกให้หมด พบว่า ถึงแม้จะให้อาหารและน้ำตาลตามที่สุนัขต้องการ สุนัขทุกตัวที่ใช้ในการทดลองจะเสียชีวิตในระยะเวลาเพียงอาทิตย์เดียวเท่านั้น แสดงว่า การขาดเอ็นไซม์จากตับอ่อนสามารถส่งผลให้เสียชีวิตได้
  • มีสิ่งอื่นอีกไหมที่แสดงว่าเราใช้เอ็นไซม์อย่างไม่รู้คุณค่า
    มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่มีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานาน แม้ว่ากินอาหารที่ไม่มีเอ็นไซม์ สัตว์ป่าทุกชนิดต้องการเอ็นไซม์จากอาหารสดทั้งนั้น สัตว์ป่าที่กินอาหารสดนั้น ไม่ต้องการกิจกรรมของเอ็นไซม์สูงในน้ำย่อย ซึ่งต่างจากมนุษย์ ตัวอย่างเช่น กวาง ช้าง และสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นๆจะไม่มีเอ็นไซม์ในน้ำลาย เมื่อเราทำการตรวจสอบน้ำลายมนุษย์ พบว่า มีความเข้มข้นของเอ็นไซม์ที่ใช้ย่อยแป้ง(ptyalin)สูงมาก เมื่อสุนัขหรือแมวกินอาหารสด ที่เป็นเนื้อสดตามธรรมชาติเข้าไป ทำให้ในน้ำลายของสุนัขไม่จำเป็นต้องมีเอ็นไซม์ อย่างไรก็ตาม เมื่อสุนัขกินคาร์โบไฮเดรต ที่ผ่านความร้อนเข้าไปเป็นจำนวนมากในระยะเวลา 1 สัปดาห์ สามารถพบเอ็นไซม์ในน้ำลายของมันได้ นั่นแสดงให้เห็นได้ว่า พวกเรากำจัดเอ็นไซม์ทิ้งไปจากการทำอาหารให้สุก ทำให้ร่ายการของเราต้องปรับตัวโดยการผลิตเอ็นไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารเพิ่มมากขึ้น
    สิ่งอื่นที่แสดงว่า เราได้ใช้เอ็นไซม์ไปอย่างไม่รู้คุณค่านั้นคือ สัตว์ป่าจะมีขนาดของตับอ่อนเล็กกว่าเรา นั่นแสดงว่า สัตว์ป่านั้นใช้เอ็นไซม์จากตับอ่อนน้อยกว่าที่เราใช้
  • ทำไมสัตว์ป่าถึงหลั่งเอ็นไซม์ภายในกระเพาะอาหารเท่านั้น
    ส่วนมากไม่ใช่อย่างนั้น ตัวอย่างเช่น พวก cetaceans ปลาวาฬและโลมามีกระเพาะอยู่ 3 กระเพาะ ไม่มีกระเพาะใดเลยที่มีการปลดปล่อยเอ็นไซม์หรือกรดในกระเพาะอาหาร นี้จึงนำเข้าสู่คำถามที่ว่า สัตว์จำพวกนี้ย่อยสลายอาหารพวกปลาและแมวน้ำได้อย่างไร คำตอบหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือ พวกปลาและแมวน้ำนี้ มีเอ็นไซม์และน้ำย่อยจากตับอ่อนที่อยู่ในทางเดินอาหารของมันอยู่แล้ว เมื่อปลาวาฬกินแมวน้ำเข้าไป เอ็นไซม์ที่ใช้ในการย่อยของแมวน้ำก็ถูกนำมาใช้นี้เป็นแหล่งที่มาของเอ็นไซม์ของปลาวาฬ และจะถูกนำมาใช้ในการย่อยอยู่หลายวันพอที่จะย่อยอาหารให้หมด จนกระเพาะอาหารของปลาวาฬว่างเปล่า นอกจากนั้น สัตว์ทุกชนิดยังมีเอ็นไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนที่รู้จักกันในชื่อ Cathepsin ที่พบในกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ หลังจากเสียชีวิตแล้วเนื้อเยื่อของสัตว์จะมีสภาพเป็นกรด มันจะกระตุ้นการทำงานของ cathepsin ที่เป็นผลให้เกิดการย่อยสลายเซลล์และเนื้อเยื่อของสัตว์ บางทีนี้อาจเป็นคำอธิบายว่าทำไมสัตว์ป่าจึงไม่มีเอ็นไซม์หรือกรดในกระเพาะอาหาร
  • เอ็นไซม์ทำงานในการย่อยอย่างไร
    เมื่อเราทานอาหารสดเข้าไป กิจกรรมของเอ็นไซม์จะเริ่มขึ้นทันที เมื่อผนังเซลล์ถูกทำให้แตกโดยการเคี้ยว หลังจากกลืนอาหารลงไปการย่อยจะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงบริเวณกระเพาะส่วนบน (fundus) ใช้เวลานานครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง จนถึงจุดที่ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารหยุดการทำงานของเอ็นไซม์ต่อจาก คือ เอ็นไซม์ในกระเพาะอาหาร (pepsin) จะทำหน้าที่ต่อไป
    มีจุดที่น่าสังเกตว่า ในเวลาครึ่งชั่วโมงแรกหรือขณะที่อาหารอยู่ที่กระเพาะอาหารส่วนบน เอ็นไซม์จากอาหารสด จะย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตไขมัน และโปรตีน อย่างไรก็ตาม ถ้าท่านทานอาหารที่ปรุงสุก ซึ่งหมายถึงไม่มีเอ็นไซม์ในอาหาร ในเวลา 1 ชั่วโมง อาหารก็จะยังอยู่ในสภาพเดิมในเวลานี้ เกลือแร่เท่านั้นที่จะถูกสลายออกมา เอ็นไซม์ในน้ำลายจะทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรต แต่จะไม่มีการย่อยโปรตีนและไขมัน จะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่ใช้เอ็นไซม์ย่อยอาหารเหล่านั้น ถ้าเพิ่มเอ็นไซม์ลงในเนื้อสัตว์ เอ็นไซม์จะทำหน้าที่ย่อยสลายทันที เอ็นไซม์จะทำหน้าที่ย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันในเวลา 1 ชั่วโมง หรือขณะที่อาหารยังคงอยู่ที่กระเพาะอาหารส่วนบน เอ็นไซม์จะทำหน้าที่ย่อยสลายอาหาร จะช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ต้องปลดปล่อยเอ็นไซม์จำนวนมากเกินไป จะมีผลในการช่วยรักษาศักยภาพของเอ็นไซม์และพลังงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีเมตาบอลิซึมของเอ็นไซม์มากขึ้น ส่งผลให้อวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ สามารถทำงานได้ดีขึ้น

เมื่อบอกกับหมอว่าจะกินเอ็นไซม์เสริมแต่หมอกลับอกว่ามันไม่ได้มีประโยชน์ต่อร่างกายเลย ทำไมเขาถึงบอกเช่นนั้น
เนื่องจากเอ็นไซม์ทำงานให้ร่างกายเราตลอดชีวิต ดังนั้นจึงมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายคนเชื่อว่า ไม่จำเป็นต้องรับเอ็นไซม์เสริมให้แก่ร่างกาย และยังมีแพทย์อีกหลายท่านเชื่อว่า การเสริมเอ็นไซม์เข้าไปในร่างกายนั้นไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรต่อร่างกายเลย เนื่องจากเอ็นไซม์จะถูกทำลายไปในกระเพาะอาหารขณะเกิดการย่อยอาหาร
อย่างไรก็ตาม มีรายงานการวิจัยที่ยอมรับถึงการใช้เอ็นไซม์ ในการย่อยสลายอาหาร รวมถึงยอมรับศักยภาพในการทำงานของเอ็นไซม์มาเป็นเวลานานมากกว่า 65 ปี ข้อมูลล่าสุดที่ทำการศึกษานั้น ได้มาจากการศึกษากับมนุษย์เองไม่ใช่ศึกษากับสัตว์ทดลอง ในปี ค.ศ. 1992-1993 Dr. Prochaska และ Piekutowski จากมหาวิทยาลัย Wright ทำการศึกษาโดยใช้ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดแบบ ileostomy (การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก ทำให้ระบบทางเดินอาหารสั้นลง) หลังจากได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยจะมีระบบทางเดินอาหารที่สั้นลงแค่ลำไส้เล็กส่วนปลายเท่านั้น การศึกษาในผู้ป่วยลักษณะนี้สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของกระบวนการย่อยอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทใด ผลจากการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่า เอ็นไซม์ในอาหารนั้นไม่เสียสภาพธรรมชาติไปในระหว่างที่เกิดการย่อยอาหาร และยังเพิ่มปริมาณสารอาหารที่ได้จากการย่อยสลายอีกด้วย ดังนั้นการเสริมเอ็นไซม์สามารถเพิ่มอัตราการย่อยสลายอาหารแก่อาหารทุกชนิดได้

  • อาหารสดสามารถกระตุ้นให้เอ็นไซม์หลั่งออกมามากกว่าอาหารปรุงสุกหรือไม่
    การกินอาหารสด ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการหลั่งของเอ็นไซม์ออกมามากกว่าการกินปรุงสุก แต่เมื่อกินอาหารสด กรดภายในกระเพาะจะถูกหลั่งออกมาน้อยมาก เนื่องจากสภาวะเช่นนี้ จะช่วยให้เอ็นไซม์ในอาหารสามารถทำงานได้ระยะเวลานานกว่า
  • เคยได้ยินมาว่าเอนไซม์จะไม่เสียสภาพการทำงานเมื่อถูกใช้งานไปแล้ว จริงหรือไม่
    เอ็นไซม์จะไม่ถูกทำลายหรือถูกใช้จนหมดไป ขณะที่เอ็นไซม์นั้นยังทำงานอยู่ แต่มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Wright โต้แย้งกับทฤษฎีนี้ โดยพบว่า เอ็นไซม์จะทำงานได้ดีที่อุณหภูมิสูงมากกว่าอุณหภูมิต่ำ อุณหภูมิที่สูงกว่าทำให้เกิดกิจกรรมของเอ็นไซม์ได้เร็วกว่า นับว่าเป็นการขัดแย้งกับทฤษฎีที่กล่าวว่า เอ็นไซม์ไม่ได้ถูกใช้แล้วหมดไป เพราะเมื่อเราเป็นไข้ เอ็นไซม์ในร่างกายจะทำงานได้เร็วกว่าอุณหภูมิร่างกายปกติ และพบว่า เมื่อไข้ลด เอ็นไซม์จำนวนมากถูกตรวจพบในปัสสาวะ
    ยังมีรายงานว่า มนุษย์มีระดับของเอ็นไซม์ในการย่อยแป้งในเลือดที่ต่ำที่สุด และมีเอ็นไซม์ในปัสสาวะในระดับที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น นั้นหมายถึง เอ็นไซม์ในร่างกายเราถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว
  • ร่างกายเราสามารถสร้างเอ็นไซม์ทดแทนที่เราใช้หรือขับออกไปได้หรือไม่
    ร่างกายเราสามารถสร้างเอ็นไซม์ขึ้นมาทดแทนได้ แต่มีการวิจัยที่ยืนยันว่า เอ็นไซม์สามารถทำลายตัวเอง เพื่อบังคับให้ร่างกายสร้างเอ็นไซม์ออกมาเป็นจำนวนมากๆ ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่ออวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆ ความเครียดและการทำงานหนักในสถานที่ร้อนอบอ้าว เป็นผลให้เกิดการใช้เอ็นไซม์ไปอย่างมากมาย ส่งผลให้ช่วงชีวิตของท่านสั้นลง เมื่อท่านต้องสูญเสียเอ็นไซม์ไป ท่านมีวิธีแก้ไขเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือ ท่านต้องรับเอ็นไซม์เสริมจากภายนอก จะเป็นเส้นทางลัด ที่ช่วยให้เกิดการมีเอ็นไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลาย และเพิ่มเมตาบอลิซึมของเอ็นไซม์ให้มากยิ่งขึ้น
  • เมื่ออายุมากขึ้นความสามารถในการผลิตเอ็นไซม์จะลดลงหรือไม่
    จากการวิจัยพบว่า ในเด็กวัยรุ่นจะมีเอ็นไซม์ในน้ำลายมากกว่าคนอายุ 60-90 ปี ถึง 30 เท่า และยังพบอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบระดับของเอ็นไซม์ amylase ในปัสสาวะของวัยรุ่นจะมีปริมาณสูงกว่าคนในวัยชรา และยังมีข้อมูลแสดงให้เห็นอีกว่า หมูและสัตว์ทดลองชนิดอื่นจะมีอายุยืนยาวขึ้นเมื่อกินอาหารในปริมาณที่น้อยลง คำอธิบายในเรื่องนี้คือ เมื่อเราลดปริมาณอาหารที่ได้รับลง การย่อยสลายอาหารก็น้อยลง ความต้องการเอ็นไซม์ในการย่อยสลายก็ลดลงตามไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้เอ็นไซม์ที่สร้างขึ้นมีศักยภาพในการย่อยที่ดีขึ้นและช่วยยืดอายุและทำให้ร่างกายต้านทานต่อโรคได้
  • ทำไมร่างกายจึงสร้างเอ็นไซม์ได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น
    Bartos และ Croh ทดลองนำวัยรุ่นชาย 10 คนและผู้สูงอายุชาย 10 คนมาฉีดยากระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยจากตับอ่อน โดยน้ำย่อยจะถูกดูดออกมาเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ พบว่าในน้ำย่อยของชายสูงอายุจะมีเอนไซม์ amylase อยู่น้อยมาก การขาดเอ็นไซม์นี้ในกลุ่มชายสูงอายุ เป็นผลจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ตับอ่อนนั้นเอง และยังมีการวิจัยอื่นที่พบว่า เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น เอ็นไซม์ที่ลดลงไม่ได้มีแต่เฉพาะในตับอ่อนเท่านั้น แต่รวมถึงเซลล์อื่น ๆ จำนวนนับล้านล้านเซลล์ในร่างการของเราด้วย เหตุผลหนึ่งนั้นคือ ตับอ่อนไม่สามารถสร้างเอ็นไซม์ออกมาเพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งยังมีความต้องการโปรตีนอีกจำนวนมาก เพื่อสร้างให้เป็นเอ็นไซม์ที่สมบูรณ์ (enzyme complex) ดังนั้นตับอ่อนจึงต้องดึงสารเหล่านี้จากแหล่งต่างๆของเซลล์ร่างกายเพื่อนำมาสร้างเอ็นไซม์ที่สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ร่างกายดูแก่ลง อายุที่เพิ่มขึ้น จะมีผลต่อเมตาบอลิซึมของเอ็นไซม์ที่ลดลง ถ้าเราสามารถยับยั้งการลดลงของเมตาบอลิซึมของเอ็นไซม์ได้ เราก็สามารถชะลอความแก่ลงได้
  • การเสริมเอ็นไซม์สามารถชะลอความแก่ได้หรือไม่
    อาจเป็นไปได้ มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าหนูที่ได้รับการเสริมเอ็นไซม์จะมีปริมาณเอนไซม์มากกว่าหนูที่ไม่ได้รับการเสริมเอนไซม์ แสดงให้เห็นว่าเอนไซม์นั้น จะมีศักยภาพที่จะคงอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตศักยภาพดังกล่าวจะลดน้อยลงตามระยะเวลา อีกทั้งยังขึ้นกับสภาพแวดล้อมและความเครียด ถ้าเรากินอาหารที่ไม่มีเอ็นไซม์อยู่เลย บางทีเราอาจต้องใช้เอ็นไซม์จำนวนมากในการย่อยสลาย และมันจะหมดไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้ตับอ่อนและอวัยวะอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในการย่อยสลายอาหารต้องทำงานหนักเกินไป ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้ช่วงชีวิตสั้นลง ป่วย และความต้านทานต่อความเครียดลดลง การกินอาหารที่มีเอ็นไซม์อยู่ หรือการเสริมเอ็นไซม์สามารถช่วยยับยั้งความผิดปกติและช่วยชะลอความแก่ได้ โดยจะเห็นได้จากหนูที่ได้รับเอ็นไซม์เสริมจะมีอายุอยู่นานถึง 3 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่กินอาหารที่ขาดเอ็นไซม์ จะมีอายุอยู่เพียง 2 ปี เท่านั้น
  • เคยได้ยินว่าชาว Eskimo เจ็บป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บน้อยมากเป็นเพราะอะไร
    คำว่า Eskimo หมายถึง “พวกเขากินของดิบ” เนื่องจากสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของชาว Eskimo นั้นทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมชาว Eskimo ถึงมีสุขภาพที่ดีมาก สิ่งหนึ่งคือ ชาว Eskimo สามารถรักษาสมดุลย์ของเอ็นไซม์ในร่างกาย โดยการนำเอาเอ็นไซม์จากภายนอกมาช่วยในการย่อยสลายอาหาร เนื่องจากแถบอาร์กติกไม่เหมาะสมกับการเติบโตของพืชพรรณไม้ ชาว Eskimo จึงปรับตัวโดยการกินอาหารสด (เนื้อสัตว์) อาหารสดนั้นไม่ได้ให้แต่พลังงานเท่านั้น หากยังรักษาสมดุลย์ของสุขภาพและสามารถป้องกันโรคให้กับชาว Eskimo ได้ ซึ่งผลดังกล่าว ได้มาจากเอ็นไซม์ในอาหารสดที่มีชื่อว่า cathepsin โดยจะพบมากในเนื้อและปลา มีหน้าที่หลักในการย่อยสลายสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ชาว Eskimo จึงใช้เอ็นไซม์นี้ย่อยสลายอาหารก่อนกินเข้าไป เมื่อจับสัตว์ต่างๆได้ ชาว Eskimo จะปล่อยให้สัตว์พวกนั้นเกิดการย่อยสลายตัวเองก่อนที่จะกิน อาหารที่ผ่านกระบวนการดังกล่าว จะมีเอ็นไซม์ lipase, protease และ amylase เป็นจำนวนมาก จะเป็นการลดการใช้เอ็นไซม์ของชาว Eskimo ดังนั้นความลับของการมีสุขภาพดีของชาว Eskimo นั้นไม่ได้อยู่ที่การกินเนื้อสัตว์หลากหลายชนิดหากแต่อยู่ที่พวกเขาสามารถลดการสูญเสียเอ็นไซม์ในร่างกายสำหรับการย่อยอาหารโดยใช้เอ็นไซม์จากแหล่งธรรมชาตินั้นเอง
  • เอ็นไซม์ทำงานในกระเพาะอาหารอย่างไร
    เมื่ออาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารเราจะเรียกว่า bolus กระเพาะอาหารจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ fundus (ส่วนบน) และ pylorus (ส่วนล่าง) bolus จะอยู่ในกระเพาะอาหารส่วนบนประมาณ 1 ชั่วโมง และจะมีการย่อยขั้นต้นเกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากเอ็นไซม์จากอาหาร ที่จะย่อยสลาย bolus จนได้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เนื่องจากในอาหารสดมีเอ็นไซม์อยู่ในอาหารอยู่แล้ว ดังนั้นจึงช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ต้องหลั่งเอ็นไซม์ออกมาทำหน้าที่เองทั้งหมด ส่วนในอาหารที่ปรุงสุก จะไม่มีเอ็นไซม์เหลืออยู่เลย ดังนั้นอาหารดังกล่าวจึงต้องรออยู่ในกระเพาะอาหารส่วนบนก่อน เพื่อรอให้กระเพาะอาหารส่วนล่างหลั่งเอ็นไซม์ออกมา ในการย่อยสลายขั้นต้นนั้น จะเกิดขึ้นกับสัตว์ทุกชนิดบนโลกนี้ ยกเว้นมนุษย์เท่านั้นที่กินอาหารที่ปรุงสุกแล้ว เนื่องจากในส่วนต้นของกระเพาะอาหารไม่มีการหลั่งเอ็นไซม์ pepsin และเมื่อไม่มีเอ็นไซม์นี้จากแหล่งภายนอก อาหารที่อยู่ในกระเพาะส่วนบนจึงถูกย่อยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นในส่วนล่างของกระเพาะอาหาร จะมีการย่อยอาหารขั้นที่สองเกิดขึ้น แต่จะมีการย่อยเฉพาะโปรตีนเท่านั้น โดยเป็นผลจากกิจกรรมของเอ็นไซม์ pepsin และกรดไฮโดรคลอริก อาหารที่ถูกย่อยมาก่อนแล้ว จะถูกส่งเข้าสู่ลำไส้เล็ก ที่เรียกว่า chime จากนั้นตับอ่อนและลำไส้เล็กจะหลั่งเอ็นไซม์ ที่จะย่อยสลาย chime ไปเป็นกลูโคส กรดไขมัน และกรดอะมิโนสำหรับให้เซลล์ villi ดูดซึมได้ กระเพาะอาหารของมนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตามลักษณะหน้าที่ในการทำงาน หนึ่งในนั้นเป็นส่วนที่จะได้รับเอ็นไซม์จากภายนอกเข้ามาช่วยในการย่อยสลายอาหาร ดังนั้น ร่างกายจึงไม่ต้องสร้างเอ็นไซม์ออกมาย่อยอาหารเองทั้งหมด จะส่งผลให้ร่างกายของเรามีเมตาบอลิซึมของเอ็นไซม์มากขึ้นตามที่เราต้องการ และทำให้สุขภาพของเราดีขึ้นด้วย
  • เอ็นไซม์ในอาหารสามารถทำให้เราต้านทานต่อโรคได้หรือไม่
    ในเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันและระดับของเอ็นไซม์ในร่างกาย ถ้าเรามีระดับเอ็นไซม์ในร่างกายสูง ระบบภูมิคุ้มกันของเราก็จะดีตามไปด้วย ผลที่ได้ก็คือ สุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในเม็ดเลือดขาว จะมีเอ็นไซม์ amylase ที่แตกต่างกันอยู่ 8 ชนิด ที่เป็นกลไกในการช่วยให้เม็ดเลือดขาวต่อต้านต่อสิ่งแปลกปลอม และเปลี่ยนสิ่งแปลกปลอมนั้น ให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถกำจัดทิ้งออกไปได้ มีผลจากการวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเราทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุก ปริมาณของเม็ดเลือดขาวจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากร่างกายจะสร้างขึ้นมาเพื่อรักษาสมดุลย์ของเอ็นไซม์ที่ถูกดึงไปจากส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการย่อยอาหาร แต่เมื่อเปลี่ยนมาทานอาหารสดกลับพบว่า ปริมาณของเม็ดเลือดขาวไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย และยังมีการศึกษาพบว่า เอ็นไซม์นั้นยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคทุกโรคที่เกิดขึ้นผ่านทางระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อระบบการสร้างเอ็นไซม์ชนิดใดชนิดหนึ่งเสียไป ร่างกายทุกส่วนก็จะได้รับผลกระทบ เราจึงควรได้รับเอ็นไซม์เสริมจากภายนอกเช่น การกินอาหารสดหรือการกินเอ็นไซม์เสริม เพื่อนำมาใช้ในการต่อต้านกับโรคต่าง ๆ
  • เอ็นไซม์มีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อของร่างกายอย่างไร
    ในการทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว จะทำให้ระบบต่อมไร้ท่อทำงานหนัก จะมีผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนในระบบต่อมไร้ท่อโดยเฉพาะต่อมไทรอยด์และสมองส่วน hypothalamus จะทำงานควบคู่กัน

ใส่ความเห็น