เอ็นไซม์ ตอนที่ 7

ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

Sun Nov 21, 2010 1:08 pm

เอ็นไซม์ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศที่ดีขึ้น

ระบบต่อมไร้ท่อก็คือ กลุ่มของต่อมต่างๆที่ทำหน้าที่ผลิตออร์โมนเพื่อช่วยรักษาสมดุลย์ของร่างกาย ต่อมไร้ท่อที่สำคัญได้แก่ ต่อมไธรอยด์ ต่อมพาราไธรอยด์ ต่อมพิทูอิทารี ต่อมอะดรีนอล เซลล์แอลฟ่าและเซลล์เบต้าในตับอ่อน และต่อมเพศ อันได้แก่ อัณฑะในเพศชาย และรังไข่ในเพศหญิง การควบคุมการทำงานของร่างกายเกิดขึ้นกับการทำงานของระบบที่สำคัญ 2 ระบบ คือ ระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ ทั้ง 2 ระบบนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน

ต่อมไร้ท่อทำหน้าที่สร้างสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน ฮอร์โมนจะถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือด เพื่อไปยังอวัยวะเป้าหมาย ฮอร์โมนแต่ละชนิดมีเป้าหมายภายในร่างกายที่แตกต่างกันไป ฮอร์โมนจะควบคุมการทำงานของเนื้อเยื่อหรือต่อมอื่นๆ โดยการควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ ฮอร์โมนมีผลอย่างมากต่อการทำหน้าที่ที่สำคัญต่างๆเช่น การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ และการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ภายในเซลล์จะต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อที่ต่อมหรือเนื้อเยื่อเป้าหมายจะได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้อง หากต่อมเริ่มแรก หรือต่อมเป้าหมายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับต่อมนั้นๆได้ โรคที่ทุกข์ทรมานบางชนิดเกิดการหลั่งออร์โมนที่น้อยหรือมากเกินไป ตัวอย่างของการเสียสมดุลย์ของฮอร์โมน ได้แก่ ช่วงหมดประจำเดือนในสตรีที่อยู่ในวัยทอง ผู้หญิงที่อยู่ในวัยนี้ รังไข่จะหยุดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน และจะต้องอาศัยต่อมอะดรีนอลในการสร้างฮอร์โมนมาทดแทน อีกตัวอย่างหนึ่งของการเสียสมดุลย์ของฮอร์โมน คือ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสียสมดุลย์ของแคลเซี่ยม เนื่องจากระดับของแคลเซี่ยมและอัตราของเมตาบอลิซึมในร่างกายถูกควบคุมโดยต่อมไธรอยด์ ดังนั้น ถ้าหากต่อมไธรอยด์ถูกทำลาย ก็จะเกิดผลเสียต่อการควบคุมน้ำหนักของร่างกายและการหลับนอน หากมีภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นกับเรา ก็แสดงว่า เรากำลังเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากการเสียสมดุลย์ของฮอร์โมน

การเสียสมดุลย์ของฮอร์โมน

ฮอร์โมนเป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นมาจากต่อมไร้ท่อ และถูกขนส่งไปกับกระแสเลือด เพื่อไปยังต่อมหรือเนื้อเยื่อที่มันจะทำหน้าที่จำเพาะ ถึงแม้จะยังไม่รู้ว่า จำนวนฮอร์โมนทั้งหมดที่ร่างกายสร้างขึ้นมีอยู่เท่าไหร่ แต่เรารู้ว่าฮอร์โมนแต่ละชนิดมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน และแต่ละต่อมยังสร้างฮอร์โมนที่แตกต่างกันได้หลายชนิด เฉพาะต่อมอะดรีนอลต่อมเดียว ก็สร้างฮอร์โมนที่แตกต่างกันได้มากกว่า 25 ชนิด การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ ลักษณะนิสัยในเรื่องเพศ และบุคลิกภาพ ล้วนขึ้นอยู่กับฮอร์โมนอินซูลินที่เป็นโปรตีนและเป็นฮอร์โมนที่รู้จักกันดีว่า มีหน้าที่ในการควบคุมเมตาบอลิชึมของคาร์โบไฮเดรต ฮอร์โมนอินซูลินถูกสร้างโดยเซลล์เบต้าของตับอ่อน ดร.วิลเลี่ยม รีเกลสัน และแครอล โคลแมน ได้อธิบายไว้อย่างดี ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีความสมดุลย์ของฮอร์โมนในร่างกาย ขอแนะนำให้อ่านหนังสือชื่อ “The Super Hormone Promise “ เขียนโดย Simon และ Schuster ในหนังสือเล่มนี้ ดร. วิลเลี่ยม รีเกลสัน ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดและสมบูรณ์ เกี่ยวกับซูปเปอร์ฮอร์โมน รวมถึงข้อมูลล่าสุดของงานวิจัยเกี่ยวกับเมลาโตนิน ดีเอชอีเอ (DHEA) และ Pregnenolone

หากเราต้องการให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะต้องมีฮอร์โมนที่สมดุลย์ การเสียสมดุลย์ของฮอร์โมน ก่อให้เกิดปัญหาได้ตั้งแต่ระดับที่มีอาการง่วงเซื่องซึม ไปจนถึงมีอาการตื่นเต้น ตกใจง่ายและไวต่อการถูกกระตุ้น หากเราต้องการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ชนิดและจำนวนของฮอร์โมนที่เสียสมดุลย์ไปนั้น จะต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

อาการก่อนมีประจำเดือน

วัฒนธรรมของชนบางกลุ่มถือว่า การมีรอบเดือนเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญของผู้หญิง การมีรอบเดือนถือเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจในการให้กำเนิดชีวิต อย่างไรก็ตาม หากท่านเป็นผู้หญิงที่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการก่อนประจำเดือน ท่านคงไม่รู้สึกถึงพลังอำนาจดังกล่าว อาการก่อนมีประจำเดือนของแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกัน โดยทั่วไป จะมีอาการปวดศรีษะ เจ็บเต้านม น้ำหนักขึ้น และอยากกินของหวาน และอาจมีผลกระทบต่อสภาพอารมณ์และจิตใจ เช่น เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ซึมเศร้า หงุดหงิด เมื่อยล้าและเครียด สาเหตุของอาการก่อนมีประจำเดือน อาจเกิดจากการเสียสมดุลย์ของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน การเสียสมดุลย์ของกลูโคสในร่างกาย การขาดซีโรโตนินในสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ และเชื้อรา ผู้หญิงที่มีอาการก่อนมีประจำเดือน จึงเป็นผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการเสียสมดุลย์ของน้ำตาล

ขอเสนอแนะวิธีการต่างๆ ในการป้องกันอาการก่อนมีประจำเดือนในสตรี เช่น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอร์ หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดและงดสูบบุหรี่ การงดเว้นการเสพสารพิษเหล่านี้ ควรถือปฏิบัติอยู่เสมอ ไม่ใช่เฉพาะก่อนหรือระหว่างที่มีประจำเดือนเท่านั้น การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไอเดรตเชิงซ้อน โปรตีน และการออกกำลังกายเช่นการเดินวันละ 30 นาที จะช่วยลดความเครียดและอาการก่อนมีประจำเดือน การรับประทานเอ็นไซม์ช่วยป้องกันอาการก่อนมีประจำเดือนได้ ขอแนะนำให้เพิ่มการรับประทานเอ็นไซม์โปรตีเอส (Proteolytic enzymes;เช่นมะละกอ และสับปะรด) และจำกัดอาหารบางชนิดในช่วงเวลา 10 วันก่อนมีประจำเดือน ควรรับประทานเอ็นไซม์โปรตีเอสในช่วงเช้า บ่าย และเย็น และเอ็นไซม์อะไมเลส  (Amylase enzymes;เช่นอาหารประเภทถั่วต่างๆ)  สูง (25,000 DU) จะช่วยลดความอยากน้ำตาลลง

มีคำถามหนึ่งที่อยู่ในแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ ถามว่าท่านมีอาการหรือทุกข์ทรมานกับอาการก่อนมีประจำเดือน ใช่หรือไม่?” ผู้หญิงส่วนใหญ่ตอบว่าใช่อาการก่อนมีประจำเดือนถูกมองว่า เป็นความผิดปกติ หรือเป็นโรคที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน จะมีวิธีป้องกันก่อนที่จะเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ใหม? คำตอบคือมีและวิธีการนั้นก็ คือ การรับประทานเอ็นไซม์ นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ที่ปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับเอ็นไซม์มากขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่านมา พบว่ามีพ่อแม่ที่ยังหนุ่มสาวหลายคู่ ให้ลูกของพวกเขาเข้าสู่โครงการเอ็นไซม์ตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กสาวหลายคนที่อยู่ในโครงการนี้ มีอาการก่อนประจำเดือนน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้เข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญ และถึงแม้เด็กที่เข้าโครงการจะมีอาการปรากฏให้เห็น ก็สามารถบรรเทาความไม่สบายของร่างกายจากอาการก่อนมีประจำเดือนได้

กรณีศึกษา

เด็กสาวอายุ 16 ปี เล่าว่า ช่วงสองสัปดาห์ของเดือน เธอจะรู้สึกเป็นปกติดี แต่อีกสองสัปดาห์ที่เหลือเธอจะมีอารมณ์เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ปวดเกร็ง และเธอคิดว่าตัวเองหน้าตาน่าเกลียดมาก แม่เธอเคยพาเธอไปหาหมอสูตินรีเวชมาแล้วหลายคน แต่หมอก็ไม่ได้ทำอะไร นอกเสียจากเขียนใบสั่งยาอย่างมโหฬาร แม่ของเธอไม่ต้องการให้ลูกสาวต้องทนใช้ชีวิตวัยรุ่นที่สดใสไปกับการกินแต่ยา (ถึงแม้ว่าพ่อของเธอจะคิดว่าเป็นความคิดที่ดีก็ตาม….!!) เมื่อเธอถูกแนะนำให้รับประทานเอ็นไซม์ โดยให้เธอเป็นคนตัดสินใจเองว่า จะปฏิบัติตามที่แนะนำหรือไม่ แล้วเธอก็เลือกที่จะลองดู

เธอรายงานว่าตั้งแต่การมีประจำเดือนครั้งแรก หลังจากที่เข้าโครงการบำบัดด้วยเอ็นไซม์ว่า เธอรู้สึกดีขึ้น แทนที่จะรู้สึกตัวบวมพองและซึมเศร้า ประจำเดือนของเธอมาก่อนที่เธอจะคิดถึงมันเสียอีก และเธอมั่นใจว่านี่แหละคือสิ่งที่เธอต้องการและเมื่อมีประจำเดือนอีกครั้งในเดือนถัดไป เธอก็ไม่มีอาการปวดเกร็ง ตัวบวมพอง และซึมเศร้าอีกเลย และเธอก็ไม่มีอาการเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายอีกต่อไป เมื่อเธอเลิกดื่มน้ำหวานและลูกอมและกินอาหารที่มีโปรตีนมากขึ้น พอประจำเดือนของเธอมาเป็นครั้งที่สาม อาการต่างๆก่อนมีประจำเดือนที่เธอเคยเป็นได้หายไปหมดแล้ว เธอเรียนรู้ว่าอาหารชนิดใดที่จะกระตุ้นอาการและความโกรธของเธอ เธอก็จะจำกัดมันออกไปเสีย และพร้อมไปกับการได้รับเอ็นไซม์โปรติเอสเพิ่มขึ้น ทำให้เธอรู้สึกดีอย่างวิเศษ

อาการก่อนมีประจำเดือนนั้นเป็นเรื่องจริง มีผู้หญิงจำนวนมากต้องทุกข์ทรมานกับอาการนี้ โดยทั่วไปวิธีการแก้ปัญหาคือ ท่านต้องศึกษาด้วยตัวเองและค้นหาดูว่าวิธีไหนที่ดีที่สุด เวลาที่ท่านอยากกินของหวานอย่างแรงนั่นเป็นสัญญาณของร่างกายที่กำลังบอกว่าร่างกายกำลังต้องการสารอาหาร นับว่าเป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างมาก ที่เราเข้าใจผิดคิดว่า ร่างกายเรากำลังต้องการน้ำตาล ยิ่งเราบริโภคน้ำตาลไปมากเท่าไหร่ สมองก็ยิ่งเรียกร้องหาสารอาหารมากขึ้น ทำให้ยิ่งคิดไปว่า ร่างกายต้องการน้ำตาลมากขึ้นอีก มันก็วนเวียนกลายเป็นวัฎจักรที่ไม่รู้จบ เมื่อท่านเสริมสารอาหารให้กับร่างกายตามที่มันต้องการ เมื่อนั้นความอยากกินน้ำตาลของท่านก็จะหมดไป การได้รับเอ็นไซม์อะไมเลส ที่เอ็นไซม์ย่อยน้ำตาลที่ท่านทานเข้าไปเพราะความอยาก จะช่วยทำให้ท่านหักห้ามใจไม่ให้กินน้ำตาลเข้าไปอีกได้ ถ้าท่านได้รับเอ็นไซม์อะไมเลสอย่างเพียงพอต่อเนื่อง ท่านจะพบว่าท่านสามารถเลิกกินน้ำตาลได้ ใช่ท่านนั่นแหละที่เลิกได้ เราขอแนะนำให้ท่านได้รับเอ็นไซม์โปรตีเอสในปริมาณสูง 375,000 ยูนิตในครั้งเดียว ส่วนคนที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนนั้น ท่านอาจต้องลองกินเอ็นไซม์อะไมเลสในปริมาณ 31,500 ยูนิต เพื่อที่จะขจัดความอยากน้ำตาลของท่าน

วัยหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง เกิดขึ้นเมื่อรอบเดือนของสตรีค่อยๆลดลงและหยุดไปในที่สุด และรังไข่ก็หยุดทำงานไปด้วย กระบวนการทางธรรมชาตินี้ เป็นผลมาจากการแก่ตัวของรังไข่ และจะเกิดขึ้นเมื่อรังไข่ไม่สามารถตกไข่ และไม่สามารถผลิตเอสโตรเจนได้อีก

ในขณะที่สัญญาณเริ่มแรกของการหมดประจำเดือนที่สังเกตเห็นได้คือ มีการไหลของเลือดประจำเดือนเปลี่ยนไป แต่การที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนค่อยๆหยุดการสร้างไปนั้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาเป็นอย่างมาก โดยท่อรังไข่มดลูก ปากมดลูก และช่องคลอด จะเริ่มมีขนาดเล็กลง ช่วงอายุเฉลี่ยของหญิงอเมริกันในวัยหมดประจำเดือนคือ 41-51 ปี ส่วนใหญ่ 75 % ของผู้หญิงจะเริ่มหมดประจำเดือนเมื่ออายุ 40 กว่า และในบางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่อายุ 35 ปีหรือล่าช้าไปถึงอายุ 55 ปี จึงหมดประจำเดือน

ช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มไปจนถึงหมดประจำเดือนอย่างถาวรนั้นแตกต่างกันในแต่ละคน แต่โดยทั่วไปมักกินเวลาตั้งแต่ 6 เดือน ไปจนถึง 3ปี ผู้หญิงส่วนใหญ่ ผ่านช่วงเวลาของการหมดประจำเดือนไปด้วยอาการไม่สบายตัวเพียงเล็กน้อย มีเพียง 15% ที่ต้องเจอกับความไม่สบายที่ทุกข์ระทมในวัยหมดประจำเดือน บางครั้งในช่วงวัยหมดประจำเดือน อาจเกิดการเจ็บป่วยบางอย่างมากผิดปกติ อาการร้อนวูบวาบ เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โดยจะมีรู้สึกร้อนวูบวาบบริเวณใบหน้าและลำตัวช่วงบน และมักจะมีอาการเหงื่อและหนาวสั่นตามมา ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการนี้เพียงไม่กี่ครั้ง ในขณะที่บางคนอาจมีอาการร้อนวูบวาบมากถึง 10-20 ครั้งต่อวัน ผู้หญิงที่ต้องทนทุกข์กับปฎิกิริยาของร่างกายเหล่านี้ อาจต้องเผชิญกับความอ่อนล้า ร้องไห้ นอนไม่หลับ ขาดสมาธิ หรือความจำลดลง ในระดับที่รุนแรงอาจถึงขั้นที่เป็นโรดจิตซึมเศร้า ในอดีตเคยคิดว่า การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกายทำให้เกิดปฎิกิริยาเหล่านี้ แต่ในปัจจุบันเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในวัยหมดประจำเดือน จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฎิกิริยา ทำให้เกิดอาการต่างๆพึงระลึกไว้ว่า เอ็นไซม์ในระบบการย่อยอาหารและเอ็นไซม์ที่ใช้ในการผลิตดีเอชอีเอ (DHEA ) จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับดีเอชอีเอ มาลาโตนินและฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์ แต่การทำงานของฮอร์โมนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เอนไซม์

กรณีศึกษา

ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ที่เคยได้รับการบำบัดด้วยเอ็นไซม์กล่าวว่า อาการร้อนวูบวาบ และเหงื่อออกในตอนกลางคืนของพวกเธอกลายเป็นอดีตไปแล้ว หญิงอายุ 49 ปีคนหนึ่งเคยประสบกับอาการอ่อนล้า ผมร่วง ร้อนวูบวาบ ซึมเศร้าและนอนไม่หลับ ถึงแม้ว่าเธอลองรักษาตามวิธีการต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ เมื่อเธอเริ่มการรักษาทุกส่วนของร่างกายด้วยเอ็นไซม์ โดยเฉพาะระบบต่อมไร้ท่อ และระบบประสาท สภาวะร่างกายของเธอก็ดีขึ้น เธอมีผมที่สุขภาพดีอีกครั้ง อาการซึมเศร้าและอ่อนล้าก็หายไป เธอเริ่มนอนหลับได้ดีอีกครั้ง อาการร้อนวูบวาบก็หายไป

ในบางวัฒนธรรมมีความเชื่อว่า ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ยังคงมีพลังและอำนาจอยู่ในตัว ผู้เฒ่าหญิงจะได้รับการยกย่องนับถือว่า เป็นผู้ทรงอำนาจและฉลาดที่สุด และได้รับความเคารพยำเกรงอย่างสูงสุดภายในเผ่า กลุ่มชน หรือในหมู่บ้านของตน ปัจจุบัน มีผู้หญิงมากมายที่มีอายุยืนมากกว่า 80 ปี นั่นคือ หนึ่งในสามของชีวิตของผู้หญิงเหล่านี้ อยู่ในช่วงหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว ฉะนั้นอย่ามองว่าวัยหมดประจำเดือนเป็นเหมือนคำสาป หรือโรคภัยไข้เจ็บ มันเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ศัตรูที่เราต้องไปต่อสู้ด้วย

การหมดประจำเดือนอันเนื่องมาจากการผ่าตัด

ผู้หญิงที่ได้รับการผ่าตัดเอารังไข่ทิ้ง จะต้องประสบกับการหมดประจำเดือนแบบฉับพลัน เนื่องจากการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ จะสิ้นสุดลง การหมดประจำเดือนในกรณีอย่างนี้ อาจทำให้มีการบาดเจ็บได้ มากกว่าปกติ เพราะร่างกายไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการขาดเอสโตรเจน การบำบัดด้วยเอ็นไซม์ จะช่วยค้ำจุนการทำงานของต่อมไร้ท่อและลดความรุนแรงลงได้ เอ็นไซม์จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับภาวการณ์ขาดเอสโตรเจน ในที่สุด ร่างกายก็จะกลับมาสร้างเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องในเมตาบอลิซึมได้ใหม่

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน คือ การให้เอสโตรเจนสังเคราะห์กับคนที่รังไข่หยุดสร้างเอสโตรเจนแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วทุกคนจะต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าจำเป็นจะต้องใช้หรือไม่ มีการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยและข้อแนะนำต่างๆ ออกมามากมายเกี่ยวกับข้อถกเถียงว่า ควรใช้ดีหรือไม่ มีการใช้ฮอร์โมนทดแทนในประเทศเยอรมนี ตั้งแต่ปี .. 1896 ในสมัยนั้นต้องใช้ฮอร์โมนสกัดจากรังไข่ แต่ในปัจจุบันเราสามารถสังเคราะห์เอสโตรเจนได้โดยกระบวนการทางเคมี ในวงการแพทย์ปัจจุบันมีการใช้เอสโตรเจนสังเคราะห์ เพื่อการรักษาอย่างกว้างขวาง ในช่วงปีค.. 1950-1960 มีการโฆษณาว่า การรักษาด้วยเอสโตรเจน จะทำให้เป็นสาวไปตลอดกาล ในช่วงปีค.. 1970 มีการศึกษาที่บ่งชี้ว่า การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสังเคราะห์ เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในเยื่อบุมดลูก ต่อมาในปี .. 1980-1990 ก็มีข้อแนะนำว่า การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีโปรเจสเตอโรนร่วมอยู่ด้วย จะช่วยควบคุมอันตรายจากผลข้างเคียงของเอสโตรเจนได้ หลังปี ..1990 เป็นต้นมาก็ยังมีข้อสงสัยว่า การบำบัดด้วยการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่เป็นสารเคมีในรูปแบบต่างๆเช่น ยาเม็ด ยาฉีด ครีมทา ฝังใต้ผิวหนัง หรือฝังไว้ใต้ลิ้นมีความปลอดภัยหรือไม่ มีหนังสือจำนวนนับไม่ถ้วนที่เขียนแสดงให้เห็นถึง ความสับสนเกี่ยวกับข้อมูลของเรื่องความปลอดภัยนี้ ในหนังสือส่วนใหญ่ มักจะอวดอ้างถึงการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนจะเป็นวิธีที่ได้ผลดี อย่างไรก็ตามหนังสือแต่ละเล่มที่อ่าน มักจะจบด้วยคำเตือนของแพทย์ว่า วิธีการใช้ฮอร์โมนทดแทนนี้ ไม่ได้เหมาะกับทุกคนเสมอไป ทำให้เกิดความสับสนเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้หญิงว่าจะใช้ดีหรือไม่ เพราะนี้เป็นเรื่องวิกฤติเกี่ยวกับสุขภาพของพวกเธอ

มีรายงานในปัจจุบันว่า มีหญิงวัยหมดประจำเดือนน้อยกว่า 20 เปอร์เซนต์ที่เลือกใช้วิธีบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน การตัดสินใจเลือกใช้วิธีนี้เป็นการตัดสินใจส่วนตัวของแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับประวัติของครอบครัว ลักษณะนิสัยส่วนบุคคล และปัจจัยเสี่ยงที่แต่ละคนจะยอมรับได้ โดยจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล มีคำถามเกิดขึ้นว่าผู้หญิงที่ใช้วิธีแบบธรรมชาติในการรักษามานาน จะยกเว้นการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนโดยไม่เกิดผลเสียกับสุขภาพได้หรือไม่?” ดร. รีเกลสัน อธิบายถึงเอสโตรเจนแบบใหม่ที่กำลังใช้กันในปัจจุบัน และกล่าวว่าความจำเป็นในการใช้เอสโตรเจนในผู้หญิงแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน

ร่างกายของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่น่าพิศวง ต่อมไร้ท่อจะหลั่งฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อไปควบคุมการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆของร่างกาย ทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการออกแบบมา เพื่อการทำงานที่สอดคล้องกัน เพื่อให้เป็นร่างกายที่แข็งแรง ถ้ามีการสร้างฮอร์โมนน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ นั่นเป็นเพราะระบบต่อมไร้ท่อเสียสมดุลย์และอ่อนแอลง สิ่งมหัศจรรย์สิ่งหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างให้ก็คือ ความสามารถในการสร้างสิ่งที่ชดเชยในสิ่งที่ขาดหายไป ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการผ่าตัดเอารังไข่ออกไป หรือในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่รังไข่มีการทำงานลดลง จะมีต่อมอื่นมาทำหน้าที่สร้างเอสโตรเจนแทน ต่อมเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อ จะหลั่งฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ของเอสโตรเจนทุกอย่าง ยกเว้นการมีรอบเดือน

คำถามอื่นที่ตามมาคือทำไมเราจึงต้องการเอสโตรเจนทดแทน หรือถ้าร่างกายเรามีต่อมอื่นๆ ที่สามารถสร้างฮอร์โมนขึ้นมาทดแทนเอสโตรเจนได้ ทำไมเราจึงต้องมีอาการก่อนมีประจำเดือนด้วย?” เมื่ออวัยวะและระบบร่างกายอยู่ในภาวะกดดันหรือถูกบังคับให้สร้าง เราไม่สามารถคาดหวังให้มันทำทุกอย่างที่ได้รับคำสั่งมา โดยปราศจากการเรียกร้องสิ่งสนับสนุน (เช่น ถ้าจะทำงานล่วงเวลา ก็ต้องมีค่าตอบแทนพิเศษให้) นี่จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมผู้หญิงจึงเลือกใช้วิธีการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน ความจริงแล้วเอ็นไซม์นั่นเอง ที่เป็นผู้ช่วยในการสร้างฮอร์โมนที่จะไปยับยั้งความชรา หากท่านขาดเอ็นไซม์ ขั้นตอนต่างๆ ในการควบคุมการสร้างฮอร์โมนก็ถูกสลายไป

ระบบต่อมไร้ท่อของเรามักจะถูกเรียกว่าจิตใจของร่างกายนี่จะทำให้ท่านรู้สึกดีว่า มันมีความสำคัญต่อชีวิตขนาดไหน ต่อมไร้ท่อคือ ตัวขับเคลื่อนระบบต่างๆของร่างกายอย่างแท้จริง สมองส่วนไฮโปธาลามัสจะส่งสัญญาณไปที่ต่อมพิทูอิทารี (ต่อมใต้สมอง) เป็นต่อมหลักที่ควบคุมต่อมอื่นๆทั้งหมด ต่อมพิทูอิทารี จะส่งข่าวสารไปยังต่อมอื่นๆ โดยการหลั่งฮอร์โมนให้ออกไปกับกระแสเลือด การทำงานของต่อมไร้ท่อ เปรียบเสมือนเครื่องมืออิเล็คทรอนิคที่มีประสิทธิภาพสูงและทันสมัย สามารถปรับความละเอียดได้สูง และไม่มีการลัดวงจร หากระบบต่อมไร้ท่อไม่ได้ทำงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุดของมัน แสดงว่า มันทำงานบกพร่อง เพราะมันไม่สามารถสนองความต้องการของร่างกายได้ การทำงานของระบบนี้ ขึ้นอยู่กับการทำงานของเอ็นไซม์และระบบประสาท เมื่อต่อมขาดสารอาหาร มันก็อาศัยเอ็นไซม์เป็นตัวช่วยสกัดเอาสารอาหารบำรุง วิตามิน และเกลือแร่จากอาหารที่เรากินเข้าไป ถ้าปราศจากเอ็นไซม์ สารอาหารที่จะไปช่วยบำรุงเหล่านี้ ก็จะไม่สามารถถูกย่อยและถูกดูดซึมได้

การแนะนำกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมาแล้วจำนวนมาก ผู้หญิงเหล่านั้น มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คล้ายกัน ความเจ็บป่วยที่เราสามารถขจัดออกไปได้ทั้งหมดก็คือ อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืน อาการเหล่านี้ ไม่ได้หายไปในทันทีทันใด แต่การรักษาด้วยเอ็นไซม์ประกอบกับการได้รับอาหารที่เหมาะกับร่างกายของแต่ละคน จะทำให้อาการเหล่านั้นค่อยๆหายไปในไม่กี่สัปดาห์ โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 21 วัน และยังเคยพบผู้หญิงบางคนที่อาการดีขึ้นภายในเวลาเพียง 3 วัน

ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยทีเดียว ที่มีชีวิตอยู่กับความทุกข์ทรมานในวัยหมดประจำเดือน ด้วยเหตุผลเดียวกันกับคนไข้รายนี้ที่เชื่อว่า ทุกคนจะต้องประสพกับอาการเหล่านี้เหมือนกัน เมื่อร่างกายกลับเข้าสู่สมดุลย์ มันก็จะเริ่มซ่อมแซมตัวเอง เมื่อต่อมต่างๆได้รับสารอาหารเพียงพอ ร่างกายก็จะไม่ต้องทรมานกับความบกพร่องต่อหน้าที่หรือการขาดสารอาหารอีก

ผู้หญิงอายุ 49 ปี ใบหน้าของเธอเต็มไปด้วยผื่น ผมร่วง เธอจะตื่นขึ้นมาตอนตีสอง แล้วก็นอนต่ออีกไม่ได้ ทำให้เธอเหนื่อยมาก ผลิตภัณท์จากร้านอาหารเสริมสุขภาพต่างๆ ที่เธอซื้อมากินก็ไม่สามารถช่วยเธอได้ เธอทำอะไรไม่ได้เลย ไม่ว่าจะลองวิธีใดก็ไม่ช่วยให้เธอดีขึ้น แต่เมื่อเธอได้รับการแนะนำว่า เธอต้องให้อาหารเสริมกับร่างกายและต้องรักษามันด้วยความเอาใจใส่อย่างสูง เธอใช้ครีมโปรเจสเตอโรนที่มีส่วนผสมมาจากสมุนไพรด้วย ก็จะช่วยปรับสมดุลย์ของร่างกายให้ดีขึ้น เรารู้ว่า ระบบต่อมไร้ท่อของเธอถูกทำลายไปอย่างมาก เมื่อผู้หญิงย่างเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เธอจะไม่สามารถพึ่งรังไข่ในการสร้างฮอร์โมนอีกต่อไป ร่างกายต้องหันไปพึ่งต่อมอะดรีนอล ต่อมไธรอยด์ และต่อมอื่นๆในการสร้างฮอร์โมนมาทดแทน ในที่สุดคนไข้ก็เข้าใจว่า เธอไม่สามารถจะไปหาซื้อยามารักษาให้หายอย่างรวดเร็วได้ เธอต้องการได้รับการรักษาทุกส่วนของร่างกาย เพราะอวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานแบบพึ่งพากันเป็นระบบ เมื่อเธอเริ่มการรักษาด้วยเอ็นไซม์ อาการของเธอก็ดีขึ้นอย่างมากในเวลาเพียง 21 วัน

อย่างไรก็ตาม เราขอเรียกร้องให้คนที่มารับคำปรึกษา ควรเข้าโปรแกรมการรักษาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ แต่ถ้ารับการรักษาได้นานถึง 9 สัปดาห์จะดีกว่า เพราะเวลาในการรักษาที่ดีที่สุดคือ 9 สัปดาห์ ยกเว้นผู้หญิงที่เพิ่งกล่าวถึงนั้น (คนที่อายุ 49 ปี) เป็นกรณีที่ขาดเอ็นไซม์อย่างมาก แล้วยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอมากด้วย เราได้ให้การรักษาเธอด้วยเอ็นไซม์ในขนาดที่ค่อนข้างสูงอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลา 4-5 เดือน แต่ไม่ได้หมายความว่า การรักษาที่ได้ผลดีกับคนหนึ่งจะได้ผลดีกับทุกคน การบำบัดด้วยเอ็นไซม์ได้ผลดีเสมอ แต่กรอบของระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาอาจแตกต่างกันมาก ขึ้นกับความต้องการเอ็นไซม์ของแต่ละคน ขั้นตอนแรกคือ ต้องตรวจดูก่อนเสมอว่า ร่างกายคุณซ่อมแซมตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน หรือขาดระบบประสาทไปเลี้ยง จึงจะทำให้ตัดสินใจได้ว่า ท่านต้องใช้เวลาในการรักษานานแค่ไหน การคาดหวังว่าสุขภาพของท่านจะกลับมาดีได้ภายใน 3 วันนั้นดูไม่น่าเชื่อถือซักเท่าไหร่ เราขอเอาใจช่วยผู้หญิงทุกคนที่กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ได้ให้เวลากับตัวเองในการรักษาจำไว้ว่าการศึกษาหาความรู้ให้กับตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก จากนั้นจึงตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง

การมีร่างกายที่แตกต่างกัน จะตอบสนองต่อการรักษาด้วยเอสโตรเจนได้ต่างกัน ผู้หญิงที่มีร่างกายไม่พัฒนา (Neuro Body) และดูเหมือนเด็กผู้ชาย (Boyish) จะตอบสนองต่อเอสโตรเจนได้ดี เพราะเธอมีระดับเอสโตรเจนต่ำตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เมื่อได้รับเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น จึงเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน แต่ผู้หญิงที่ร่างกายมีพัฒนาการด้านเพศมากขึ้น (Supra Body) จะตอบสนองต่อเอสโตรเจนได้ไม่ดี ลักษณะของผู้หญิงที่มีร่างกายพัฒนามากเกินนี้ จะมีเต้านมใหญ่และประสบกับปัญหาน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ ยังมีระดับเอสโตรเจนในร่างกายสูงเช่นเดียวกับพวก Estro Body ทั้งสองกลุ่ม Supras และ Estros นี้ ดูเหมือนจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวโกรธง่าย เมื่อได้รับการรักษาโดยใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน สำหรับคนใช้ในสองกลุ่มนี้ เรามั่นใจว่า ต่อมไร้ท่อทั้งหมดของพวกเธอ ต้องการการบำรุงด้วยสารอาหาร และไม่เคยขอให้พวกเธอหยุดการใช้เอสโตรเจน ถ้าหากมันเป็นคำสั่งของหมอที่ดูแลพวกเธออยู่

ผู้หญิงที่ผ่านการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนแล้วไม่ได้ผล นั้นอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและอาหารที่กิน อาการบางอย่างที่เกิดขึ้นในขณะที่รักษาด้วยเอสโตรเจนคือ อ่อนล้า เศร้าซึม อารมณ์ไม่แน่นอน โกรธง่าย ตัวบวมพอง ปวดศีรษะ และสำไส้ไวต่อการกระตุ้น ขอแนะนำวิธีการต่าง ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ และให้คนไข้เป็นคนตัดสินใจเองว่า จะเลือกการรักษาโดยใช้เอสโตรเจนต่อไป หรือจะทดลองการบำบัดด้วยวิธีอื่น วิธีหนึ่งนั้นคือ การใช้ครีมโปรเจสเตอโรนที่สกัดมาจากมันแกวป่า (wild yam) ที่หาซื้อได้ตามร้านอาหารเพื่อสุขภาพ คลินิกนักโภชนาการ หรือนักดูแลสุขภาพอื่นๆ สำหรับคนที่ต้องการวิธีแบบธรรมชาติ เราก็มีวิธีที่จะแนะนำดังนี้คือ การบำบัดด้วยเอ็นไซม์ การใช้ซูเปอร์ฮอร์โมนเพร็กเนนโนโลน ดีเอชอีเอ และไลเปส การใช้วิตามินและเกลือแร่ที่สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ หรือสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ต่อต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะ การจัดอาหารการกินให้เหมาะกับตัวเองเช่น อาหารที่มีโปรตีนสูงสำหรับการควบคุมฮอร์โมนอินซูลิน การจัดการกับความเครียด ทัศนคติ การคิดในเชิงบวก การพักผ่อน การแสดงออกถึงความรู้สึก และความต้องการในทางที่เหมาะสม การหัวเราะ การจินตนาการถึงสิ่งที่คุณอยากจะเป็น และการออกกำลังกาย

ขอให้สังเกตว่า การมีฮอร์โมนที่สมดุลย์นั้น เป็นผลที่สืบเนื่องต่อกันมาเป็นลำดับคือ การมีอินซูลินที่สมดุลย์ มีผลทำให้มีดีเอชอีเอที่สมดุลย์ จะมีผลกระทบต่อสมดุลย์ของฮอร์โมนทุกชนิดในร่างกาย การสืบเนื่องอย่างเป็นลำดับ เป็นผลโดยตรงมาจากเอ็นไซม์ สารตั้งต้นในการสร้างดีเอชอีเอคือ ฮอร์โมนเพร็กเนนโนโลน โดยฮอร์โมนเพร็กเนนโนโลนนี้ จะลดปริมาณลงถ้ามีการหยุดสร้างเอ็นไซม์ จึงมีคำถามว่าเราแก่ลงเพราะเอ็นไซม์ของเราหยุดการสร้างหรือการหยุดสร้างเอ็นไซม์ทำให้เราแก่ลงมันก็คล้ายกับคำถามเก่าแก่ที่ว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน

ปัญหาของต่อมลูกหมาก

The America Cancer Society ได้ประมาณไว้ว่าในปี .. 1999 จะมีผู้ชายมากกว่า 344,000 คน เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และประมาณ 44,000 คนในจำนวนนี้ จะตายด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ถึงแม้ว่าโรคนี้มักจะเกิดกับชายชรา ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง ผู้ชายสเปน และผู้ชายที่มีสายเลือดผสมแอฟริกันอเมริกันก็ตาม แต่นักวิจัยก็ยังไม่รู้ถึงสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก หากตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่ในระยะแรก ก็สามารถรักษาได้ด้วยการฉายรังสี การใช้ยาหรือการผ่าตัด ผู้ชายส่วนใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก มักจะชอบอาหารไขมันสูง หรืออาหารเค็มจัด และอาจชอบอาหารหวานด้วย

ต่อมลูกหมากที่บวม ไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็งเสมอไป อย่างไรก็ตามหากมีอาการบวมเกิดขึ้น หมอมักจะตรวจร่างกายอย่างละเอียด และติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อเฝ้าระวังระยะเริ่มแรกของมะเร็ง ผู้ชายที่เป็นมังสวิรัติมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าคนที่ไม่ใช่มังสวิรัติ ถ้าหากต่อมลูกหมากบวม มักจะมีอาการปวดและถ่ายปัสสาวะบ่อย หลังจากเริ่มการรักษาด้วยเอ็นไซม์ อาการไม่สบายเหล่านี้จะหายไป แพทย์หลายท่านพบว่า ผู้ชายที่รักษาด้วยวิธีนี้ จะมีอาการบวมของต่อมลูกหมากลดลง เมื่อคนป่วยได้รับประทานเอ็นไซม์โปรติเอสและอะไมเลสที่มีความเข้มข้นสูง เอ็นไซม์โปรติเอสในปริมาณสูงนี้จะทำให้คนไข้ปัสสาวะบ่อย แต่มันจะช่วยลดอาการปวดที่เกิดขึ้นจากการบวมได้ หลังจากการบำบัดด้วยเอ็นไซม์ คนไข้หลายคนชอบกล่าวถึงความรู้สึกที่ดีขึ้นเกี่ยวต่อมลูกหมาก เช่นเดียวกับคนไข้หญิงที่ชอบกล่าวถึง ความรู้สึกที่ดีขึ้นเกี่ยวกับอาการร้อนวูบวาบอย่างไม่รู้จักเบื่อ

กรณีศึกษา

ผู้ชายอายุ 55 ปีคนหนึ่งมีอาการต่อมลูกหมากโต เขาเริ่มรักษาด้วยวิธีเอ็นไซม์บำบัดตามคำแนะนำ มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องอาหารการกินบางอย่างที่จำเป็นเพิ่มเข้าไปในโปรแกรมการรักษาด้วย โดยแทนที่เขาจะกลับไปกินอาหารที่หนักไปด้วยเครื่องเทศและรสจัด เขาก็เริ่มหันมากินอาหารที่ไม่ได้ผ่านความร้อน เช่น สลัด ผลไม้ และผักแทน เขากำจัดเนื้อแดงออกไปจากอาหาร แต่เขายังคงกินเนื้อสัตว์ปีกอยู่ เขาได้รับโปรติเอสปริมาณสูงในตอนเช้า สาย บ่าย และเย็น อาการบวมของต่อมลูกหมากเริ่มลดลงพร้อม กับอาการปัสสาวะขัดเริ่มมีอาการปกติดีขึ้น แพทย์ประจำตัวที่ให้การรักษาเขาอยู่ จึงตัดสินใจที่จะไม่ผ่าตัดตามที่เคยวางแผนการรักษาไว้ เขาประสบความสำเร็จดีมาก

สมดุลย์และความคงที่ของฮอร์โมนในร่างกายของคุณ

ฮอร์โมนเป็นสารที่ทรงพลัง และสามารถทำหน้าที่ตามที่รับมอบหมายได้แม้จะมีปริมาณที่น้อยมาก สารเคมีที่ทำหน้าที่เป็นตัวสื่อสารเหล่านี้ จะถูกหลั่งออกจากต่อมไร้ท่อเข้าสู่กระแสเลือด ภารกิจของพวกมันคือ การเดินทางไปในกระแสเลือด