เอ็นไซม์ ตอนที่ 3

ดร .อานนท์ เอื้อตระกูล

โรค Hiatal Hernia

โรคนี้เกิดจากกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแอ ทำให้กระเพาะอาหารโป่งออกมา เนื่องจากประสาทวากัส (vagus nerve)ถูกบีบ จึงมีผลกระทบHiatus hernia.svgต่อการสร้างกรดไฮโดรคลอริค อาหารจึงไม่สามารถลงสู่กระเพาะได้ มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น อาหารบางส่วนที่ไม่ถูกย่อยจะไปเจอกับน้ำดี น้ำดีนี้มีคุณสมบัติเป็นด่างทำหน้าที่เป็นสบู่ จึงทำให้ขาดความสมดุลย์ของกรดและด่างในกระเพาะอาหาร โดยน้ำดีจะไปทำลายเมือกที่เคลือบกระเพาะ โดยส่วนที่เป็นเมือกนี้ ทำหน้าที่ป้องกันกระเพาะต่อสภาวะกรดและด่าง เมื่อเมือกหายไป จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ ระบบการย่อยอาหารในกระเพาะจะเสียไป ผลที่เกิดจากโรค Hiatal Hernia คือ มีการเรอ ท้องอืด มีลมในกระเพาะ กรดไหลย้อน รู้สึกอืดอัดบริเวณซี่โครง คลื่นไส้ ท้องเสีย หายใจลำบาก เหนื่อย เจ็บที่ปอดด้านซ้าย กังวล หัวใจเต้นเร็ว และปวดหัว หลายครั้งที่ผู้ป่วยเข้ามารักษาในโรงพยาบาล โดยคิดว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ แต่จริงๆแล้ว เป็นแค่โรคกระเพาะหรือ Hiatal Hernia อาการของโรคนี้คล้ายปัญหาถุงน้ำดี เพราะต้นเหตุมาจากการบกพร่องในการสลายไขมัน ทำให้ถุงน้ำดีต้องทำงานหนัก หลายครั้งที่ปัญหาของถุงน้ำดีมีจุดกำเนิดมาจาก Hiatal Hernia ขึ้นกับชนิดของอาหารที่บริโภคและผลที่เกิดขึ้นคือ กระเพาะจะมีสภาวะเป็นกรดหรือด่าง

เราจะรักษาอาการเหล่านี้ได้อย่างไร วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การบริโภคเอ็นไซม์ที่ได้จากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดนมเปรี้ยวและยีสต์ งานวิจัยได้แสดงว่า ถ้าใช้เอ็นไซม์ผสมผสานกันระหว่างชนิดของเอ็นไซม์ที่ถูกต้อง จะทำให้เรารักษาความสมดุลย์ระหว่างกรดและด่างในระบบการย่อยอาหาร ในกรณีของ Hiatal Hernia ถัารับประทานเอ็นไซม์เหล่านี้กับอาหาร จะช่วยได้แม้แต่จะมีการยื่นของกระเพาะอาหารเข้าไปในกระบังลมก็ตามที
ภาพประกอบ By Mysid – Self-made in Inkscape, based on File:Hiatus hernia.PNG., CC0, Link

ภูมิแพ้อาหาร (Food Allergies)

ภูมิแพ้หมายถึง ความผิดปกติหรือการเกิดปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ โดยปกติแล้วไม่มีพิษ มีหลายคนที่เกิดการแพ้อาหาร การใช้เอ็นไซม์ช่วยย่อยในการรักษา ก็สามารถให้ผลการรักษาที่ดี การใช้เอ็นไซม์ช่วยย่อยทำให้เกิดการกระตุ้นขบวนการย่อยเป็นปกติ ดังนั้น อาการแพ้อาหารจึงจะหายไป แต่เนื่องจากร่างกายคนเรามีหลายแบบ เพราะฉะนั้น เวลาที่ให้หรือปริมาณเอ็นไซม์ที่ให้หรือชนิดของเอ็นไซม์ที่ให้ จึงควรแตกต่างกันไป

ยกตัวอย่างเช่น การย่อยอาหารโดยตับอ่อนจะสร้างเอ็นไซม์ช่วยย่อย ถ้าตับอ่อนทำงานมากเกินไป เนื่องจากนิสัยการกินที่ไม่ดี เช่น กินมากเกินไป เราก็จะไม่สามารถใช้อวัยวะดังกล่าว ตอบสนองความต้องการที่มากเกินไปเช่นนี้ได้ เมื่อตับอ่อนหย่อนสมรรถนะในการสร้างเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน ผลก็คือ ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ช่วยย่อยมีไม่เพียงพอ ทำให้ขบวนการย่อยโปรตีนเป็นกรดอะมิโนไม่สมบูรณ์ มีปริมาณกรดอะมิโนน้อยลง โดยเอ็นไซม์ย่อยโปรตีนเหล่านี้ ก็ถูกสร้างมาจากกรดอะมิโน ดังนั้น เอ็นไซม์จึงมีปริมาณน้อยลงเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ นอกจากนั้น เอ็นไซม์ชนิดอื่นๆในร่างกาย ก็ถูกสร้างน้อยลงไปด้วย ทำให้มีผลกระทบต่อระบบฮอร์โมน ร่างกายมีความต้องการวิตามิน เกลือแร่มากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพน้อยลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายและรู้สึกป่วยกระเสาะกระแสะ สุดท้ายเราก็ไม่สามารถใช้โมเลกุลของโปรตีนได้ โปรตีนเหล่านี้จะถูกดูดซึมโดยมิวโคซาของลำไส้ เข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตในรูปแบบที่ย่อยสลายไม่สมบูรณ์

โมเลกุลของโปรตีนที่ย่อยสลายไม่สมบูรณ์เรียกว่า ไคนิน (kinin) โดยไคนินนี้ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น เกิดอาการเจ็บปวด เมื่อมันไปสัมผัสกับปลายประสาทหรือเนื้อเยื่อต่างๆ โดยธรรมชาติ ตับอ่อนมีหน้าที่สร้างเอ็นไซม์ในการควบคุมการอักเสบซึ่งเกิดจากการมีแผล บอบช้ำ หรือสารเคมีจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป การรักษาแบบปัจจุบันนั้น ใช้ยาที่เป็นสารเคมีที่มุ่งต่อต้านการอักเสบหรือ anti-inflammatory หรือลดการอักเสบ แต่ไม่ใช่การรักษา

ดังนั้น สุขภาพของคนเรา ขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทานเข้าไป อาหารจะกำหนดภาวะโภชนาการของเรา ถ้าเราไม่สามารถย่อยสลายอาหารได้ดีพอ จะทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบของอวัยวะรวมทั้งไขข้อต่างๆ เกิดการบวมน้ำของเซลล์ แพ้สาร เป็นไซนัส สูญเสียสุขภาพที่ดีไป การรักษาคือ การยับยั้งการหลั่ง ฮิสตามิน โดยใช้ยาพ่นหรือรับประทานยาต่างๆ
ถ้าคนเรามีโภชนาการที่ไม่ดี มีการติดเชื้อ ร่างกายมีภาวะต่างๆเช่นนี้อาจทำให้ป่วยเรื้อรัง ถ้ายังไม่มีขบวนการอะไรมาหยุดยั้ง การป่วยเรื้อรังเกิดจากมีระบบการย่อยที่ไม่ดี ทางที่ดีเราควรป้องกันเสียก่อนที่สิ่งนั้นจะเกิดขึ้น

Gastritis Relief

เอ็นไซม์สำคัญที่ช่วยรักษาทางเดินอาหารที่ผิดปกติในร่างกาย คือ เอ็นไซม์อไมเลส พร้อมไลเปสในปริมาณสูง เซลลูเลสจำนวนเล็กน้อย เพื่อช่วยคลายเครียดที่เกิดจากจิตใจ หรือเกิดจากทางกายวิภาค ร่างกายจำเป็นต้องได้รับเอ็นไซม์ที่เหมาะสมพร้อมกับอาหารทุกมื้อ

ทำอย่างไรจึงจะรักษาแผลในกระเพาะ
แผลในกระเพาะอาหาร (Ulcer) เกิดจากการสลายของเยื่อบุของหลอดอาหารส่วนล่างของกระเพาะและลำไส้เล็ก อีกสาเหตุที่รุนแรงรองลงมาจากแผลในกระเพาะคือ แผลกล้ามเนื้อของกระเพาะ (Lesion) ซึ่งไม่เจ็บปวดเท่าแผลในกระเพาะ เป็นที่ยอมรับกันว่า แผลในกระเพาะอาหาร (Ulcer) เกิดจากกรดแกสติก (gastric acid) หรือเอ็นไซม์เปปซิน แต่ยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุของการสลายของเมือกในกระเพาะ การติดเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม อาจเป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วย แต่แน่นอนว่าการทานอาหารรสจัด จะทำให้มีอาการรุนแรงเกิดขึ้นได้
สภาพของจิตใจที่เครียดก็เป็นสาเหตุหนึ่ง แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากความเครียด มักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน แต่ไม่ปวดเท่าแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังที่เรียกว่า peptic ulcer แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากความเครียด อาจจะถูกกระตุ้นโดยอุบัติเหตุร้ายแรงหรือจากการผ่าตัด แผลในกระเพาะอาหาร อาจมีสาเหตุจากการรับประทานยาเกินขนาดเช่น ยาแอสไพริน หรือเกิดจากการดื่มเหล้า มีอาการแสบ ปวดในกระเพาะ หรือเกิดเป็นตะคริว การเจ็บปวดเป็นระยะแต่ละครั้งจะปวดอยู่นานหลายนาที

การรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ก็คล้ายกับการรักษาโรคกระเพาะทั่วๆไป เอ็นไซม์โปรตีเอส ที่มีความสามารถย่อยสลายโปรตีนในเชื้อแบคทีเรีย จะเป็นประโยชน์ในกรณีที่ เป็นแผลในกระเพาะอาหารแล้วเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เอ็นไซม์โปรตีเอสมีประสิทธิภาพดีในการรักษา และช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเมือกเคลือบกระเพาะ อย่างไรก็ตาม การป้องกันไม่ให้เป็นโรคกระเพาะ ดีกว่าการรักษาอาการโรคกระเพาะที่มักจะเริ้อรัง โดยควรเริ่มป้องกันตั้งแต่วัยเด็ก

โรคท้องร่วง (Diarrhea)

เมื่อคนไข้มาปรึกษาเรื่องการรักษาโรคท้องร่วง ต้องถามถึงอาการถ่ายรุนแรงหรือเปล่า ไม่สบายตัวหรือเปล่า ใช้เวลาในห้องน้ำนานเท่าไร ลักษณะของอุจจาระเป็นอย่างไร ถ่ายบ่อยแค่ไหน ต้องจำแนกระหว่างท้องเสียรุนแรงกับถ่ายเหลว ซึ่งมีความแตกต่างกัน

โรคท้องร่วงนั้นอันตรายมาก เพราะทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น ขาดโปตัสเซียม ทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นกรด ถ่ายบ่อย เป็นตะคริวที่ท้องและมีอาการอ่อนเพลีย อาจมีเลือดหรือเมือกออกมาด้วย แต่ถ้าเรารับประทานอาหารที่เป็นผลไม้หรือผักมาก อาจทำให้มีอุจจาระเหลวแต่ไม่ใช่โรคท้องร่วง

คนไข้หลายคนชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันและรสจัด พวกนี้จะมีการผลิตน้ำดีมากขึ้น ทำให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ถ่ายบ่อยขึ้น อาจทำให้ถ่ายเหลวได้ถ้าอาหารที่เรารับประทานถูกย่อยแบบปกติ จะไม่เป็นโรคท้องเสีย ถ้ารับประทานอาหารวันละ 2-3 มื้อ ควรถ่ายวันละ 1 ครั้ง เพื่อที่จะมีสุขภาพที่ดี บางคนคิดว่า การถ่ายมากกว่า 2ครั้ง ใน 1 วันเป็นโรคท้องร่วง

แต่ก็มีบางคนที่มีอาการท้องผูกตามด้วยท้องเสีย มักจะเป็นอาการเรื้อรัง เพราะมีพฤติกรรมในการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าท้องเสียเป็นครั้งเป็นคราว สาเหตุไม่ใช่จากอาหาร แต่เกิดจากปัญหาในกระเพาะของเรา การรับประทานเอ็นไซม์ไลเปส จะช่วยสลายไขมัน ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง นอกจากนี้ มันยังช่วยบรรเทาอาการอักเสบด้วย

โรคท้องผูก

ในร่างกายของเราต้องมีระบบลำไส้ที่ดี แต่มีคนจำนวนไม่มากนัก ที่จะมีระบบทางเดินอาหารที่ดี มีการย่อย การดูดซึม การใช้สารอาหาร และการกำจัดกากอาหารที่ดี การกำจัดกากอาหารหรือการถ่ายนั้น มีความสำคัญเท่ากับการย่อยหรือการดูดซึม ความเป็นพิษ เกิดจากมีการสะสมของเสียไว้ในร่างกาย จะเป็นอันตรายและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดอาการท้องผูก การมีลำไส้ใหญ่ที่สะอาด จะทำให้คนเรามีสุขภาพที่ดี การกำจัดของเสียออกไม่หมดนั้น จะทำให้เกิดการหมักและเน่าเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ จะมีผลทำให้เกิดโรคต่างๆแทรกซ้อนขึ้นได้โดยง่าย

ถ้ารับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุก อาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และอาหารที่มีเกลือมากเกินไป จะทำให้ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถกำจัดของเสียออกหมดได้ แม้ว่าจะถ่ายวันละ 3 ครั้ง ก็ยังจะมีกากอาหารพวกนี้อยู่ในลำไส้ ซึ่งจะกลายเป็นพิษต่อเยื่อหุ้มลำไส้ใหญ่ เป็นผลทำให้ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ เมื่อเกลือแร่ที่อยู่ในอาหารที่เรารับประทานถูกจับด้วยน้ำมัน ระบบย่อยอาหารไม่สามารถดูดซึมสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้น เกลือแร่ที่ถูกจับด้วยน้ำมันเหล่านี้ จะผ่านไปยังลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ กลายเป็นอุจจาระ โดยไม่ถูกดูดซึม นอกจากนี้ ร่างกายจะกำจัดเซลล์และเนื้อเยื่อที่ใช้แล้วในลำไส้ใหญ่ และสิ่งที่ไม่ถูกย่อยสลายจะสะสมอยู่บนผนังลำไส้ใหญ่ สุดท้ายก็ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ใหญ่ ยิ่งทำให้ไม่สามารถถ่ายเอาอาหารที่ไม่ย่อยสลายออกจากร่างกายได้

การเจ็บป่วยของคนทุกช่วงอายุ เป็นผลโดยตรงมาจากการกินอาหารที่มากเกินไป และอาหารเหล่านั้นไม่ถูกย่อย ทำให้ลำไส้เต็มไปด้วยของเสีย จะเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย

ลำไส้ใหญ่ : แหล่งกำจัดของเสียของร่างกาย

ลำไส้ใหญ่เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย ที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเช่น จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดแบคทีเรียนมเปรี้ยว (Lactic Acid Bacteria) และ ชนิดที่ทำให้เกิดพยาธิหรือเกิดโรค แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์จะป้องกันไม่ให้เกิดสารพิษในลำไส้ แต่ถ้าในลำไส้มีกากอาหารที่ไม่ย่อย หมักและบูดเน่าอยู่มากเกินไป จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค

ฉะนั้น ลำไส้ใหญ่จึงเป็นสถานที่ขจัดของเสียออกนอกร่างกาย ถ้าไม่รักษาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และปราศจากโรคแล้ว จะทำให้อวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกายเสียไปด้วย การทำงานของลำไส้ใหญ่ จะมีผลต่อการทำงานของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เพราะสารพิษที่เกิดขึ้นในร่างกายทั้งหมด จะถูกนำมาขจัดที่ลำไส้ใหญ่ โดยอาศัยการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ทำให้กากอาหารทั้งเหลวและแข็งถูกบีบออกนอกร่างกาย

แม้เรารับประทานอาหารที่ดีที่สุด แต่ถ้าระบบขับถ่ายเสียไป ร่างกายก็เต็มไปด้วยสารพิษ เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าเรารับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ ก็จะมีการสะสมอาหารที่ไม่ถูกย่อย รวมกับกากอาหารที่ได้หลังจากการย่อย เซลล์นับล้านและเนื้อเยื่อที่หมดหน้าที่ ก็ถูกนำมากำจัดที่ลำไส้ใหญ่เช่นกัน

หน้าที่อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของลำไส้ใหญ่คือ การนำสารละลายที่เป็นประโยชน์ส่งผ่านผนังลำไส้ใหญ่เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปที่ตับ แต่ถ้าอุจจาระมีความเป็นพิษมาก สารพิษเหล่านี้ก็จะถูกนำเข้าสู่กระแสเลือดเช่นกัน และถ้ามีการสะสมของอุจจาระโดยไม่มีการถ่ายออก ก็จะมีผลต่อการดูดซึมของสารละลาย

ผู้ที่รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ แต่ถ่ายน้อยกว่าวันละ 1 ครั้ง ถือว่าอยู่ในสภาวะท้องผูก สภาวะนี้เป็นสภาวะที่สร้างสารพิษขึ้นในร่างกายเรา จุดเริ่มคือ การที่ร่างกายไม่สามารถย่อยอาหาร จะทำให้เกิดสารพิษในลำไส้ใหญ่
มี 4 ทางที่ร่างกายเรากำจัดสารพิษออกจากร่างกาย คือ ลำไส้ใหญ่ ไต ปอด และ ผิวหนัง ในลำไส้ใหญ่มีสารพิษอย่างน้อย 36 ชนิดเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่สามารถถูกขับถ่ายออกไปได้ จะกลายเป็นพิษต่อร่างกายเราได้ การที่เราจะช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายที่ได้ผลดีที่สุด คือ การใช้เอ็นไซม์เสริมเข้าไปสำหรับผู้ที่ท้องผูก ควรรับประทานเอ็นไซม์หลังอาหารและก่อนนอน เอ็นไซม์เสริมที่ได้จากการหมักของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ใช้ในการทำนมเปรี้ยวและยีสต์ จะทำหน้าที่เสมือนยาปฏิชีวนะธรรมชาติ คนที่น้ำหนักเกินมักจะมีอาการท้องผูก

สำหรับคนธรรมดา หรือผู้ป่วย ควรรับประทานเอ็นไซม์ก่อนทานอาหารเพื่อให้มันไปถึงกระเพาะพร้อมอาหาร

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยเอ็นไซม์

ท่านควรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่งอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจาก ตลอดเวลาและสถานที่ เราจะมีเจ้าวายร้ายมากมายเข้าจู่โจมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้น งานหลักของระบบภูมิคุ้มกัน คือ ทำลายพิษและผู้บุกรุกที่เข้ามาสู่ร่างกาย
สิ่งแรกที่พวกเราต้องทำ คือ ลดการบริโภคเจ้าวายร้าย ตั้งแต่หลีกเลี่ยงอาหารและน้ำ ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีทางการเกษตร พอๆกับการจำกัดน้ำตาลที่กดดันตับอ่อน ไตและตับของพวกเรา นอกเหนือจากนั้น ควรจะลดอาหารคาร์โบไฮเดรต(อาหารจำพวกแป้ง) เนื่องจากทั้งน้ำตาลและแป้ง จะเริ่มไปกดดันภูมิคุ้มกันหลังจากที่รับประทานไม่ถึงชั่วโมง นอกจากนี้ ควรเลี่ยงการบริโภคอาหารพวกเนื้อที่มีสารพิษ และควรลดความเครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คิดแต่ในแง่ดีตลอดเวลา
ถ้าเราเอาจริงกับการป้องกันอย่างแข็งขัน โดยรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโภชนาการ ร่างกายของเราจะสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันหลายล้านเซลล์ทุกวัน และมีสุขภาพดี โชคไม่ดีที่พวกเราส่วนใหญ่มีข้ออ้างที่ไม่ปฏิบัติการป้องกัน ผลคือ ระบบภูมิคุ้มกันต้องได้รับการช่วยเหลือด่วน

การรักษาสมดุลย์ของทุกสิ่งในธรรมชาติ มีความสำคัญเช่นเดียวกับการรักษาสุขภาพที่ดี

ในกลุ่มคนไข้ที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันถูกกด มักมีอาการร่วมคือ ไม่สามารถย่อยอาหารได้อย่างเหมาะสม ความผิดปกติที่พบได้บ่อยคือ Epstein-Barr Virus กลุ่มอาการเมื่อยล้าเรื้อรัง ติดโรคเชื้อราทั่วร่างกาย การติดเชื้อ HIV เมื่อการย่อยไม่ดี อาหารที่เรากินเข้าไปจะไม่ถูกย่อยไปเป็นสารอาหาร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ที่นำไปใช้ซ่อมแซมเซลล์และสร้างพลังงานเพื่อการสันดาป ทำให้เกิดผลลบสองประการคือ เซลล์ขาดอาหาร และการปลดปล่อยอนุภาคของอาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์ จะเป็นพิษถูกนำส่งเข้าสู่ระบบไหลเวียนของโลหิต เซลล์ที่ขาดอาหาร จะทำให้เนื้อเยื่อขาดการบำรุง ยับยั้งขบวนการเคมีที่สำคัญ เป็นผลให้การขับสารพิษออกจากเซลล์ได้น้อยลง ถ้าเป็นกรณีนี้ สารอาหารที่ส่งไปสู่เซลล์จะน้อยลง ทำให้การผลิตพลังงานน้อยลงในทุกเซลล์รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสมรรถภาพ จำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยลง เป็นจุดวิกฤตในการสู้กับการติดเชื้อ กล่าวโดยสรุปคือ การอ่อนล้าของเซลล์ ทำให้ร่างกายขาดแคลนเชื้อเพลิงและออกซิเจน ปัจจุบัน มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์ และจะต้องเผชิญกับระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติที่ค่อยๆก่อตัวขึ้น
เมื่อร่างกายดูดซึมอาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์เข้าสู่ระบบ จะก่อให้เกิดปัญหาอย่างน้อย 3 ข้อ คือ

1. ทำให้ระคายเคือง เกิดการอักเสบของผนังลำไส้ อันจะนำไปสู่การปลดปล่อยสารเคมีอันตราย ทำให้ผนังลำไส้เป็นแผล โปรตีนที่ย่อยไม่สมบูรณ์ จะผ่านไปสู่ท่อน้ำเหลืองของผนังลำไส้และระบบไหลเวียนทั่วร่างกาย โดยร่างกายจะถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นระบบป้องกันจะเข้าจู่โจมโดยเซลล์นักต่อสู้ ในที่สุดเซลล์นักต่อสู้เริ่มจะหมดเชื้อเพลิง และประสบความล้มเหลวที่จะผลิตเม็ดเลือดขาวให้เพียงพอ

2. อาหารตกค้างทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนอย่างมาก เช่น เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคน และปรสิตชนิดอื่นๆ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักยิ่งขึ้น

3. การอักเสบทั่วๆไปจากอนุภาคอาหารที่เหลือจากการย่อย ทำให้เกิดปฏิกิริยาเผาผลาญ ที่จะใช้ออกซิเจนจำนวนมาก ทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่ไปทำลายผนังเซลล์อื่นๆ ทำให้เกิดความเสียหายด้วยเช่นกัน แต่ศัพท์ทางการแพทย์และการอธิบายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสับสน อาจจะกล่าวว่า การย่อยที่ไม่ดีและสารอาหารตกค้างนำมาสู่การทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
เชื้อราแคนดิดา เป็นหนึ่งในเชื้อราที่รู้จักกันดีในมนุษย์ พบได้ในร่างกายตามปกติ แต่จะกลายเป็นโรคติดเชื้อราแคนดิดา เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ความเหนื่อยล้าและความเครียดเป็นสองอาการหลัก การบริโภคอาหารดีอย่างเดียว ไม่สามารถควบคุมอาการเหล่านี้ได้ เราจึงประเมินว่า ความไม่สามารถในการย่อยอาหารของแต่ละบุคคล ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในอันตราย

บางคนเจาะจงว่าทำไม หลายคนสามารถรับประทานเห็ด แต่พวกเขารับประทานไม่ได้ ไม่ใช่เพราะเห็ดเป็นพวกเชื้อรา แต่เป็นเพราะความสามารถย่อยเห็ดได้เป็นปัจจัยสำคัญ คำตอบถูกพบในพันธุกรรมของแต่ละบุคคลหรือความสามารถของเอ็นไซม์
มีอาหารที่คนชอบกันมาก แต่การบริโภคมากเกินไปจะก่อให้เกิดความหายนะแก่ทุกคนได้คือ การกินน้ำตาลมากเกินไป ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังการบริโภค จะพบเห็นการเจริญเติบโตที่มากเกินไปของเชื้อราแคนดิดา ที่จะก่อให้เกิดโรคร้ายต่อร่างกายได้

การเยียวยาหูติดเชื้อ

การติดเชื้อในรูหู ดูจะเป็นเรื่องปกติในหมู่วัยรุ่นและเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยที่มีแนวโน้มจะกินน้ำตาลและอาหารขยะมาก สำหรับหมู่วัยรุ่น อาหารขยะทำให้สภาพของพวกเขาเลวลง จำนวนเยื่อบุเมือกในระบบเพิ่มขึ้นเกิดจากการเลือกกินอาหารที่ไม่ดี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันด้อยลง เมื่อทำการวิเคราะห์เซลล์ พวกเขาทั้งหมดล้วนมีปัญหาเชื้อรา การเสริมเอ็นไซม์โปรตีเอสปริมาณสูงในระหว่างมื้อ นับว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และควรเน้นถึงปริมาณน้ำตาลและอาหารขยะที่กินเข้าไป จำเป็นจะต้องบริโภคเอ็นไซม์อมิเลสเข้าไปด้วย เด็กๆชอบกินของขบเคี้ยวขณะดูทีวี หลังโรงเรียนเลิก พ่อแม่ต้องรับผิดชอบในการจัดเอ็นไซม์ให้หยิบทานง่าย ถ้าต้องการป้องกันภาวะถดถอยของระบบภูมิคุ้มกันในเด็ก แพทย์ที่รักษาด้วยเอ็นไซม์เริ่มการรักษา แม้ในเด็กแบเบาะ ตั้งแต่กลับจากโรงพยาบาล ควรใช้เอ็นไซม์จากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดนมเปรี้ยวและยีสต์ ที่ใช้ในเชิงเภสัชเท่านั้น

ฟกช้ำดำเขียว : เครื่องหมายของความไม่สมบูรณ์

รอยฟกช้ำธรรมดาไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถ้ามันเกิดขึ้นจากการกระแทกกับสิ่งของหรือหกล้ม รอยเหล่านี้จะค่อยๆลบเลือนไปตามกาลเวลา หลายคนที่มีรอยฟกช้ำดำเขียวค่อนข้างง่ายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ รอยเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะหายช้าเมื่ออายุมากขึ้น ขณะที่ความสามารถที่จะผลิตเอ็นไซม์มีน้อยลง นำไปสู่ความบกพร่องของสุขภาพ ในการป้องกันทางการแพทย์ รอยฟกช้ำมักจะเป็นสัญญานบ่งบอกถึงทุพโภชนาการ หรืออย่างน้อยมีการถดถอยของภูมิคุ้มกัน ถ้าท่านอยู่ในเงื่อนไขนี้ ท่านควรให้ใช้เอ็นไซม์ที่ช่วยย่อยจากธรรมชาติ เพื่อช่วยลำเลียงสารอาหาร

การรับประทานวิตามินและแร่ธาตุ ไม่ได้หมายความว่า การขาดสาร อาหารจะหายไปทันที หากไม่สมดุลย์กับร่างกาย (ความต้องการทางพันธุกรรม) ท่านก็จะไม่ได้รับผลตามที่คาด จงค้นหาว่า อะไรทำให้เกิดปัญหา ส่วนมากจะพบว่า มีสารพิษในระบบ ซึ่งเกิดจากได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสม ร่างกายที่เป็นพิษคือ ร่างกายที่ขาดสารอาหาร เป็นการดีที่สุดที่จะรักษาความเป็นพิษและภาวะการขาดในเวลาเดียวกัน

คุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ของเอ็นไซม์ ที่ได้จากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ใช้ทำนมเปรี้ยวและยีสต์ สามารถช่วยการย่อยด้วยการตัดต้นตอของสาเหตุการเกิดพิษ เราสามารถทำความสะอาดและสามารถทำให้ตับและเลือดแข็งแกร่ง ด้วยการบำรุงเลี้ยงและเสริมสร้างการทำงานของต่อมต่างๆ และระบบประสาท ภายในเวลาไม่นาน รอยฟกช้ำจะจางลงและไม่กลับมาอีก คนไข้สามารถเห็นและรู้สึกแตกต่างในสุขภาพของเขา

ระบบภูมิคุ้มกัน

คนที่มีน้ำหนักเกิน คงต้องต่อสู้ระหว่างไขมันส่วนเกิน และระบบภูมิคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง พวกเขายิ่งเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ ติดเชื้อไวรัส โรคหัวใจ เบาหวานและโรคความเสื่อมต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันถูกกด ร่างกายมีแนวโน้มจะเพิ่มน้ำหนัก ทำให้จิตใจเจ็บปวดและเป็นวัฏจักรถาวร

โรคหวัดธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

โรคหวัดเป็นการติดเชื้อเฉียบพลันและแพร่กระจายได้ง่าย โดยเชื้อไวรัสที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน อย่างน้อย 20 ชนิดของไวรัส ถูกค้นพบว่าทำให้เกิดโรคหวัด และจะจู่โจมทุกคนที่มีความต้านทานโรคต่ำ คนไข้ส่วนใหญ่ที่ได้รับเอ็นไซม์สม่ำเสมอจะไม่เป็นหวัด หวัดทำให้พวกเขารำคาญหลายครั้งตลอดปี เชื่อว่ามันเป็นเพราะพวกเขาย่อยอาหารได้ไม่สมบูรณ์ การกำจัดสารอาหารที่ไม่ถูกย่อยจากระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีพอ ทำให้อนุภาคอาหารเป็นพิษเหล่านั้น กลับเป็นสร้างภัยพิบัติและเป็นแหล่งที่อยู่ของของแบคทีเรีย ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถดถอย

บอกลาเชื้อราแคนดิดา

เชื้อราแคนดิดาเป็นเชื้อราคล้ายยีสต์ เป็นหนึ่งในหลายชนิดของเชื้อราที่สามารถสร้างปัญหาในร่างกาย (รู้จักกันในนามโรคแคนดิเดียซิส) มี 13 ชนิดที่ต่างกัน โดยสามารถแยกได้จากการวิเคราะห์เม็ดเลือดที่มีชีวิต พวกเชื้อราทำให้เกิดการเหนื่อยล้าและสภาวะที่ทำให้ทรุดโทรม เชื้อราคือ โปรตีน เมื่อเรากินโปรตีเอส ระหว่างมื้อเพื่อเผาผลาญโปรตีนอนุมูลอิสระส่วนเกิน เราสามารถกำจัดเชื้อแคนดิดาได้โดยมีสูตรที่แนะนำ คือ ควรบริโภคโปรตีเอสอย่างน้อย 600,000 ยูนิต 3 ถึง 5 ครั้งต่อ 1 วัน ในทางปฏิบัติ ผู้เชี่ยวชาญทางโภชนาการมักนิยมให้เอ็นไซม์โปรตีเอสมากกว่า 3 ล้านยูนิตต่อวัน นอกจากนั้น ต้องการเอ็นไซม์ที่เหมาะสมเพื่อช่วยสนับสนุนระบบต่อมไร้ท่อ ให้ทำงานไปพร้อมกับโปรตีเอส เพื่อย่อยสปอร์ของเชื้อรา

เชื้อจุลชีพที่อาศัยในลำไส้ของเรา เป็นความเป็นความตายของสุขภาพที่ดีของเรา ในลำไส้ของเรามีเชื้อแบคทีเรียกว่า 400 ชนิด สุขภาพของเราถูกควบคุมให้สมดุลย์ เพื่อที่ว่าไม่มีเชื้อตัวใดตัวหนึ่งมีมากกว่าเชื้อไม่ก่อโรค โดยปกติความสมดุลย์ถูกควบคุมด้วยเชื้อแบคทีเรีย ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ความเครียดจากภายในและภายนอก สามารถรบกวนความสมดุลย์ ถ้าสมดุลย์เอียงและมีการเจริญเติบโตของยีสต์มากเกินไป ยีสต์จะครอบงำเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ที่พบบ่อยคือ เชื้อแคนดิดา อัลบิแคนเจริญเติบโตมากเกินไป มีเพียงเชื้อแคนดิดาเท่านั้นที่เป็นปัญหา

ถ้ามีการเจริญเติบโตของเชื้อแคนดิดามากเกินไป อาการจะแตกต่างกันไป บางครั้งเกิดฝ้าขาวในปาก ผู้หญิงมักจะติดเชื้อที่ช่องคลอด สามระบบที่มักจะติดเชื้อแคนดิดา ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร ท่อปัสสาวะและระบบหายใจ ความสมดุลย์ของระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดการบวม ถ้าดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุไม่ดี จะทำให้แพ้อาหาร ภูมิไวเกิน (ภูมิแพ้) คลื่นไส้และท้องเสีย ความไม่สมดุลย์ในระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดปัสสาวะบ่อย เจ็บปวด ปวดแสบปวดร้อน บวมและมีกลิ่นเหม็น ระบบทางเดินหายใจจะไวต่อหลอดลมอักเสบ ไซนัสและโพรงจมูกอักเสบ

อาการที่พบบ่อยของเชื้อแคนดิดาคือ การบวม มีอุบัติการณ์สูงที่แคนดิดา ทำให้เกิดผลโดยตรงต่อการแพ้อาหาร ผู้หญิงหลายคนมีแคนดิดาเพราะยาคุม คนที่กินยาบ่อยหรือใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีผลรุนแรง เช่น เตตร้าไซคลิน มีแนวโน้มจะติดเชื้อแคนดิดาสูงเช่นกัน เนื่องจากฤทธิ์ของยาจะไปทำลายความสมดุลย์ทางธรรมชาติของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ถ้าท่านบริโภคน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ท่านก็จะมีความไวเพิ่มขึ้น ผู้หญิงที่ใช้น้ำฉีดล้างช่องคลอดบ่อยๆ จะไปทำลายความสมดุลย์ของเชื้อราในช่องคลอด อาจจะทำให้เกิดอาการตกขาวได้ง่าย โปรตีเอสเป็นเอ็นไซม์ที่ดีสุดสำหรับรักษาเชื้อแคนดิดา ทั้งนี้เพราะ เอ็นไซม์โปรตีเอส จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในการกำจัดเชื้อรา โดยปราศจากผลข้างเคียง

สำหรับผู้ป่วยไข้หรือมีปัญหาสุขภาพ การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับแคนดิดาคือ สร้างสิ่งแวดล้อมภายในให้ดี มีหลายหลากผลิตภัณท์ในท้องตลาดให้เลือกตามความต้องการ เอ็นไซม์ที่ได้จากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ รวมทั้งแลคโตบาซิลัสและไบฟิโดแบคทีเรี่ยมที่ทำให้เกิดนมเปรี้ยวและยีสต์ จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตามรากของต้นโกงกางชื่อ เพดดิโอค็อกคัส แอซิดิเลคติซี่ และ เพดดิโอค็อกคัส เพ็นโตซาเชียส มีคุณภาพในการสร้างเอ็นไซม์เพื่อสร้างสมดุลย์ได้ดีกว่า มีอัตราการเจริญเติบโตเป็นสองเท่าในเวลาน้อยกว่าสิบห้านาที นี่เป็นความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่เหนือ แลคโตบาซิลัส อะซิโดฟิลัส ที่ใช้กันในอดีต แบคทีเรียดังกล่าว เมื่อถูกบริโภคเข้าไปในร่างกาย จะกลายเป็นตัวชี้วัดการป้องกันและเฝ้าระวังสำหรับความสมดุลย์ในระบบ เพราะด้วยส่วนผสมที่ลงตัวทำให้กรดด่างสมดุลย์ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ จำไว้ว่าลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เป็นที่ย่อยที่ดีเป็นที่สุด ดังนั้นต้องคงความสมดุลย์ไว้อย่างเหมาะสม ถ้าไม่เช่นนั้นเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคจะครอบครอง
เชื้อแคนดิดา อัลบิแคนเป็นเชื้อที่มีมาไม่นาน

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า มันมาในช่วงเวลาเดียวกันกับที่เราเริ่มกินน้ำตาลมากเกินไป เหตุการณ์อื่นๆที่นำไปสู่การเจริญเติบโตของเชื้อนี้คือ การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างกว้างขวาง ซึ่งเริ่มในยุคคริสต์ศักราชที่ 40 และ 50 ในคนที่อาการเครียดหรือแย่มากๆคือ คนที่มีเชื้อแคนดิดาและน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลาเดียวกัน

โดยสรุป การป้องกันที่ดีที่สุดคือ เสริมเอ็นไซม์และลดน้ำตาล จงตระหนักถึงการบริโภคน้ำตาล ถ้าท่านไม่ต้องการลดน้ำตาล อย่างน้อยก็ควรเพิ่มเอ็นไซม์ อาหารบางชนิด จะถูกย่อยและสารอาหารบางอย่างจะถูกนำเอาไปใช้ในการกำจัดผู้บุกรุก การบริโภคโปรตีเอสระหว่างมื้ออาหาร จะช่วยให้ขบวน การแก้ไขให้ถูกต้อง กระบวนการป้องกันดูมีเหตุผลมาก

หากท่านรักและห่วงใยสุขภาพของท่าน ท่านควรหลีกเลี่ยงที่จะทำการบริโภคน้ำตาลทรายเข้าไปในร่างกาย ตรงนี้ไม่ได้หมายรวมถึงแหล่งน้ำตาลอื่นๆที่มีประโยชน์ เช่น น้ำตาลจากผลไม้สด จะมีคุณสมบัติที่ดีต่อร่างกาย แต่ควรหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมมากเกินไป ควรอ่านฉลากอาหารเมื่อจับจ่ายซื้อของ เลือกที่มีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตไม่สูง ข้อดีคือ ท่านจะรู้สึกว่าเป็นความพยายามที่มีค่า มันเป็นการยากเหลือเกินที่จะเอาชนะอาหารหวาน จริงๆแล้วการที่จะเลิกของหวานและสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเรา น่าจะง่ายกว่า การที่จะต้องทนทรมานจากความเจ็บปวด ความเจ็บปวดและบวมที่มากับนิสัยชอบกินน้ำตาล การบริโภคเอ็นไซม์อะไมเลสปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้การบวมและการอักเสบในร่างกายบรรเทาและหายเป็นปกติไปได้

กรณีศึกษา

คนไข้เป็นพยาบาลหญิงที่ประสบความสำเร็จจากอาชีพ แต่ทุกข์ทรมานจากโรคแคนดิเดียซิส หลังจากรักษาด้วยยามาตรฐานสำหรับโรคนี้ เธอยังคงเฉื่อยชา เธอรู้สึกสูญเสียความสนุกสนานในการดำรงชีวิต เธออ่อนล้า ต้องหยุดงาน ผิวหนังแตกและน้ำหนักขึ้น ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่ผู้บุกรุกไม่สามารถจะอาศัยอยู่ได้ หลังจากการบริโภคเอ็นไซม์จากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดนมเปรี้ยวและยีสต์ เพื่อช่วยให้การย่อยมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ภายใน 1 เดือนเธอกลับไปทำงาน และภายใน 6 สัปดาห์เธอหายดี ทุกวันนี้เธอยังทำงานได้ดี

สภาพไม่แข็งแรงของลำไส้ คือ ฝันของปรสิต ลำไส้ที่สกปรกและไม่แข็งแรง คือ สิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับปรสิต ในร่างกายของเรามีปรสิตอย่างน้อย 134 ชนิดที่อาศัยอยู่ เราถูกปรสิตรบกวน เนื่องจากระบบมลภาวะทางน้ำ อาหารขยะ อาหารที่ปรุงสุกเกินไป ขาดแคลนการบริโภคผลไม้และผักสดในอาหาร นักวิจัยคาดการณ์ว่า 200 ล้านคนในอเมริกา ถูกรังควาญด้วยปรสิตในลำไส้ เมื่อปรสิตผ่านลำไส้ พวกมันจะไปได้ทุกที่ของร่างกาย