หากท่านได้เห็นข้อมูลที่ผมได้ส่งตัวอย่างเห็ดนำเข้า ไปตรวจหาสารตกค้างในเห็ดแล้ว ท่านจะต้องช็อคกับตัวเลขนี้อย่างแน่นอน ยกเว้นคนที่บอกว่า ไม่อยากอ่าน ไม่อยากรู้ ไม่อยากดู ไม่อยากเห็นนั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ แต่สำหรับ เรา ท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านพิจารณาดูเอาก็แล้วกัน เดี๋ยวจะหาว่า ผมมองอะไรในแง่ร้ายเสียอีกครับ

เมื่อวันก่อน ผมได้เอาตัวเลขนำเข้าของเห้ด เข้ามาในประเทศไทยแล้ว ทำให้หลายคนถึงกับช๊อคไปเลยครับว่า ทำไมเราจึงนำเห็ดสดๆเข้ามาบริโภคกันมหาศาลขนาดนี้ และทำไมราคามันถึงถูกแสนถูก แล้วผมก็ได้เตือนว่า จะซื้ออะไรทานเข้าไปในร่างกายนั้น ขอให้ศึกษาหาข้อมูลให้ดี ใช่ว่า จะหาซื้อแต่ของถูกๆไปทาน ท่านดูผลของการนำตัวอย่างเห็ดส่งไปให้หน่วยงานที่เป็นกลางและมาตรฐาน ทำการตรวจสอบดูว่า เห็ดที่นำเข้านั้นปลอดภัยต่อการบริโภคหรือไม่ นี่ผมใช้เงินส่วนตัวนะลงทุนไปเก็บตัวอย่างแล้วนำส่งไปวิเคราะห์ เพื่อให้สาธารณชนดู ดังนั้น หากใครต้องการที่จะเอาข้อมูลนี้ไปแชร์ เชิญเลย แต่ขอร้องว่า อย่าเอาไปแชร์ให้กลุ่มหรือบุคคลที่เขาอยู่ของเขาสบายแล้ว เขาไม่ต้องการรับรู้อะไรอีกแล้วในโลกนี้ ก็อย่าเอาไปยัดไปเยียดให้เขาเน้อ

ดูเอาสิครับ มาตรฐานสากลและของ อย.และองค์กรอนามัยโลก ประกาศไว้แล้วว่า สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์นั้น สามารถใช้ได้กับอาหารในการเป็นสารฟอกขาวและสารกันบูดได้ แต่จะต้องไม่เกิน 70 ppm. แล้วเป็นไง เห้ดเยื่อไผ่ที่นำเข้า ที่ไทยเอาเข้ามาปีละหก เจ็ดพันตัน หรือเทียบกับเห็ดสดนับแสนตันนั้น มันมีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สูงเกือบ 5000 ppm. เกินมาตรฐานเกือบร้อยเท่าครับ นั่นยังไม่สำคัญเท่า สารที่เป็นโลหะหนัก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งปอด มะเร็งไต และมะเร็งต่อมลูกหมากครับ ที่มาตรฐานสากล กำหนดให้มีไม่เกิน 0.2 mg./kg นี่เห็ดเยื่อไผ่นำเข้ามีโลหะหนักแคดเมียมที่อันตรายยิ่ง สูงเกินมาตรฐานเกือบสามเท่า ในเห็ดหอมสูงเกินมาตรฐานสิบเท่า

ผลของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์นั้น มีดังนี้

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นสารชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เป็นสารฟอกขาว ซึ่งสารเคมีชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มซัลไฟต์ มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ใช้เป็นวัตถุกันเสียเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยีสต์ และรา และยังมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเปลี่ยนสีของหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาลเมื่ออาหารถูกความร้อยจากกระบวนการผลิต นอกจากนี้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ยังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ผสมในน้ำยาอัดรูป ฟอกสีผ้า กระดาษ สบู่ เป็นต้น

การใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอาหารเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ต้องไม่เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด โดย อย.กำหนดให้มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิทได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนองค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยไว้ คือปริมาณที่ได้รับไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/คน/วัน
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เมื่อใช้ในปริมาณที่พอเหมาะจะไม่เกิดอันตราย เพราะร่างกายสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่หากได้รับมากเกินไปจะไปลดประสิทธิภาพการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย และมีฤทธิ์ทำลายวิตามินบี 1 ด้วย หากร่างกายมีการสะสมสารนี้ในปริมาณมาก จะทำให้หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน ในรายที่มีอาการแพ้รุนแรงหรือผู้ป่วยหอบหืดอาจช็อค หมดสติ และถึงแก่ความตายได้

อาหารที่นิยมใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
-ผักผลไม้แห้ง ผักผลไม้ดอง ผักและผลไม้กระป๋อง ผักผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน แยม
-ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำเชื่อม
-ผลิตภัณฑ์แป้ง เช่น เส้นหมี่และก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น แป้ง
-อาหารแช่แข็ง
-เจลาตินและอื่นๆ

ผู้บริโภคที่สงสัยว่าอาหารที่นำมารับประทานนั้นมีการใช้สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินขนาดหรือไม่ อย.มีวิธีแนะนำง่าย ๆ โดยก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารแห้ง เช่น เห็ดหูหนูขาว ดอกไม้จีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบว่ามีการใส่สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ผู้บริโภคควรล้างให้สะอาดโดยให้น้ำสะอาดไหลผ่าน หรือลวกในน้ำเดือดประมาณ 2 นาทีก่อนนำไปปรุงอาหารทุกครั้งจะช่วยลดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ถึงกว่าร้อยละ 90

ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทผลไม้อบแห้งที่สามารถรับประทานได้เลย เช่น พุทราจีนแห้ง ผลแอปปริคอทแห้ง ไม่ควรเลือกซื้อที่มีสีสันจัด เนื่องจากในกระบวนการผลิตผลไม้อบแห้งต้องผ่านความร้อยสูง ส่งผลให้สีสันและเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์เสียไปด้วย หากสีสันสวยงามมากผิดปกติ ให้สันนิษฐานว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆอาจมีการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์จำนวนมาก

ส่วนผลของโลหะหนักแคดเมี่ยมนั้นร้ายยิ่งกว่าดังนี้
การเกิดพิษจากแคดเมียมจะเกิดเมื่อแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายทั้งการกินเข้า สู่ระบบทางเดินอาหาร และการหายใจเข้าสู่ระบบหายใจ ซึ่งการเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการหายใจจะทำให้เกิดพิษอย่างน้อย 60 เท่าของการกิน เพราะไอระเหย และฝุ่นอาจจะก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบ (Delayed chemical pneumonitis) และทำให้ปอดบวมน้ำ เลือดออกในปอด ส่วนการกินเข้าเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารจะทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร และเมื่อถูกดูดซึมแคดเมียมจะรวมตัวกับ metallothionein เกิดการกรองผ่านไต ซึ่งจะเกิดการทำงานของไตผิดปกติ
นอกจากนี้ การสะสมแคดเมียมในร่างกายยังเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งตามมาหลายชนิดด้วยกัน อาทิ มะเร็งปอดจากการหายใจ มะเร็งที่ไต มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน กำหนดไว้ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในบรรยากาศ ค่ามาตรฐานในร่างกาย ไม่เกิน 5 ไมโครกรัม/ลิตร ในเลือด
อาการจากพิษแคดเมียม
1. การสัมผัสกับแคดเมียมโดยตรง ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และตา
2. การหายใจเอาแคดเมียมในปริมาณที่เกินกว่ามาตรฐานจะมีผลเกิดพิษอย่างเฉียบพลัน เกิดอาการไอ หายใจมีเสียงติดขัดปวดศีรษะ มีไข้ ปอดอักเสบ และปอดบวมน้ำภายใน 12 – 24 ชั่วโมง
3. การหายใจเอาแคดเมียมด้วยระยะเวลายาวนานจะเกิดการสะสม และเกิดโรคมะเร็งปอดตามมา
4. การกลืนกินจะทำให้เกิดพิษแบบเฉียบพลัน เกิดอาการเวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อรุนแรง มีอาการถ่ายเหลว และอาจมีภาวะเลือดปนออกมา เนื่องจากการระคายเคือง และอักเสบของอวัยวะระบบทางเดินอาหาร อาการรุนแรงอาจเกิดการช็อกเนื่องจากขาดน้ำ และไตวายเฉียบพลันเสียชีวิตได้ง่าย
5. การสะสมในร่างกายทีละเล็กทีละน้อยในระยะยาว ซึ่งจะมีการสะสมแคดเมียมในกระดูก ทำให้เกิดโรคอิไตอิไต(Itai-itai) ทำให้กระดูกเปราะ หักง่าย มีอาการเจ็บปวดกระดูกทั่วทั้งร่างกาย และเกิดโรคไตเสื่อม

[envira-gallery id=”5898″]

แล้วดูผลิตภัณฑ์ของประเทศญี่ปุ่นสิ เขาดูแลสุขภาพของเขา โดยเขาจะไม่ให้มีสารพวกนี้ตกค้างอยู่เลย นอกจากนี้ ดูอย่างเห็ดไม๊ตาเกะ ที่ผลิตมากที่สุดในญี่ปุ่นสิ เขาทำการตรวจหาสารพิษตกค้างทุกปี และตรวจอย่างละเอียดทุกสารพิษที่สงสัย และนี่ไง ทำไม ทางสถาบันอานนท์ไบโอเทค ยินดีลงทุน เสียเงินมากขึ้น ที่นำเอาเห็ดไม๊ตาเกะสดๆ จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามา ทำเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารเสริมเพื่อสุขภาพในประเทศไทย

[envira-gallery id=”5900″]

ใส่ความเห็น