มหัศจรรย์เห็ดเป็นยา

ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส(เห็ด)
องค์การสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2524-2548

เห็ดหิ้งไซบีเรีย (Inonotus obliquus) ตอนที่ 1/2

คำว่า อนุมูลอิสระหรือ Free radical คือ อะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ที่มีอีเล็กตรอนเดี่ยว หรืออีเล็กตรอนที่ไม่มีคู่ (unpaired electron-) ซึ่งไม่เสถียร (unstable) และมีพลังงานสูง (extra energy) มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาสูง (high reactivity) เพราะไม่ได้เกิดพันธะกับอะตอมตัวอื่นเพื่อ form โมเลกุล

ดังนั้น อนุมูลอิสระหรือ Free radical นี้ มักจะหาทางไปจับคู่กับอะตอมหรือโมเลกุลใกล้ๆ เพื่อขอแบ่งอีเล็กตรอนจากโมเลกุลเหล่านั้น (เพื่อดุลประจุ หรือ neuturalization) โมเลกุลนั้นๆ ก็จะสูญเสียอีเล็กตรอนของมันเอง ก่อให้เกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น กลายเป็น free radical ตัวใหม่ กลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) เหมือนกับโดมิโน เมื่อกระบวนการนี้เริ่มต้นขึ้น จะส่งผลเสียหายกับเซลล์ของเรา เพราะมันอาจไปเกิดปฏิกิริยากับส่วนที่สำคัญของร่างกาย เช่น DNA หรือ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) โดยจะส่งผลให้เซลล์ทำงานแย่ลงหรือตายได้ และเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคไต เบาหวาน ความจำเสื่อม ไขข้ออักเสบ มะเร็งเป็นต้น ดังนั้น การป้องกันไม่ให้ free radical ทำอันตรายร่างกาย จะต้องทำการกำจัดโดยใช้ antioxidant

อนุมูลอิสระหรือ Free radical มาจากอะไร

ปกติแล้ว อนุมูลอิสระหรือ Free radical จะเกิดขึ้นในร่างกายระหว่างกระบวนการเมตาบอลิซึ่ม (metabolism) หรือบางครั้งเซลล์ของเราก็สร้างมันขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับไวรัสหรือแบคทีเรีย

ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด free radical ขึ้นได้

อนุมูลอิสระหรือ Free radical ที่พบได้ในมากสิ่งแวดล้อมคือ oxygen radical ซึ่งเกิดจากออกซิเจนในอากาศ สิ่งแวดล้อมที่ว่านี้รวมไปถึงการปล่อย ionization radiation (จากอุตสาหกรรม, ดวงอาทิตย์, รังสีคอสมิก และรังสี X จากการฉายแสง) โอโซน และ nitrous oxide (จากท่อไอเสีย) โลหะหนัก (เช่น ปรอท Hg แคดเมียม Cd ตะกั่ว Pb) ควันบุหรี่ (ทั้งผู้ที่สูบเอง และผู้ที่ไม่ได้สูบแต่รับเอาควันเข้าไป) แอลกอฮอลล์ ไขมันไม่อิ่มตัว และสารเคมีและสารประกอบบางชนิดจากอาหาร น้ำ และอากาศ

โดยปกติ ร่างกายเราสามารถรับมือกับ อนุมูลอิสระหรือ Free radical ได้ เพราะภายในร่างกายมีระบบเอนไซม์มากมายที่จะกำจัด อนุมูลอิสระหรือ Free radical เรามีไมโครนิวเทรียนท์ แอนไทออกซิแดนต์ (micronutrient antioxidant) ได้แก่ วิตามินอี, เบต้า-แคโรทีน และ วิตามินซี และอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีซีลีเนียม (selenium) ซึ่งเป็นโลหะตัวหนึ่งในระบบเอนไซม์ที่สามารถทำหน้าที่เป็น antioxidant แต่ถ้า antioxidant เหล่านี้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ หรือว่าอาจมี อนุมูลอิสระหรือ Free radical เกิดขึ้นมากเกินไป จนสร้างความเสียหายขึ้น นอกจากนั้น ร่างกายเราก็ไม่สามารถผลิตวิตามินเหล่านี้ขึ้นได้เอง ดังนั้นทางที่ง่ายที่สุดคือ เราต้องเสริมวิตามินหรือสารเหล่านี้จากอาหาร หากเป็นไปได้ในแต่ละวัน เราควรบริโภคอาหารที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระเข้าไปอย่างน้อยวันละ 4-5 หน่วย ORAC

สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxidant คืออะไร

Antioxidant คือสารที่ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น หรือทำให้ปฏิกิริยาเกิดช้าลง
ทำหน้าที่ได้หลายแบบ : ลดพลังงานของ free radical, หยุดการเกิด free radical หรือขัดขวางการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ เพื่อทำให้ free radical ไปทำลายเซลล์ได้น้อยที่สุด

โมเลกุลของ antioxidant จะเข้าทำปฏิกิริยากับ free radical และทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่สิ้นสุดลงก่อนที่โมเลกุลในร่างกายเราจะถูกทำลาย โดยการให้อีเล็กตรอนของมันแก่ free radical โดยที่ antioxidant จะไม่เกิดเป็น free radical ตัวใหม่เพราะตัวมันเสถียรทั้งแบบที่มีอีเล็กตรอนคู่หรือเดี่ยว (เป็น stable free radical) antioxidant จึงช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อถูกทำลายได้

ในป่าที่มีต้นเบริทอยู่มาก มักจะพบมีเห็ดหิ้งไซบีเรียอยู่มากไปด้วย แต่เนื่องจากเห็ดชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างโต มีเนื้อคล้ายไม้แห้ง ในอดีตจึงนิยมเอามันมาเป็นเชื้อเพลิงแทนฟืน แต่ปัจจุบัน หลังจากได้มีการค้นพบว่า เห็ดชนิดนี้ เป็นเห็ดที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในบรรดาพืชผักและผลไม้ และยังมีสารอื่นๆที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับเห็ดหลินจือ กล่าวคือ มีสาร Polysaccharides of pentose ประเภท B-glucans, triterpenoids ที่ล้วนแล้วแต่มีผลเกี่ยวข้องในการสร้างภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ช่วยในการสร้างสาร Interferons ที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิต้านทานต่อต้านสิ่งแปลกปลอมต่างๆเข้าสู่ร่างกาย เช่น ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ รวมถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่สร้างความโกลาหลไปทั่วโลกด้วย ไวรัสที่ก่อให้เกิดภูมิต้านทานบกพร่องหรือที่เรียกว่า เอดส์ และยังมีสาร Eritadenine ที่ช่วยในการนำพาออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้การหมุนเวียนของเส้นเลือดดีขึ้น ไม่มีการสะสมของไขมันที่ก่อให้เกิดโรคความดัน โรคหัวใจ หรือโรคความจำเสื่อม ด้วยคุณสมบัตสุดยอดดังกล่าวของ เห็ดหิ้งไซเบียเรีย ทำให้ปัจจุบันได้มีการนำเอาเห็ดดังกล่าวมาทำเป็นยาด้วยการนำเอาทุกส่วนของเห็ด มาบดให้เป็นผงชงรับประทานกับน้ำร้อนแทนชา หรือทำการสกัดด้วยน้ำร้อนเดือดอ่อนๆ นาน 8-12 ชม.จนกระทั่งได้สารที่เป็นยาออกมา แล้วจึงนำไปเข้าขบวนการทำแห้ง เพื่อนำไปบริโภคเดี่ยวๆเป็นยาอายุวัฒนะ หรือนำเอาไปเป็นส่วนผสมของยาต่างๆ นอกจากการนำเอาดอกเห็ดมาบริโภคเป็นยาแล้ว ยังมีการเพาะเลี้ยงเอาเฉพาะเส้นใยเห็ด ที่มีสรรพคุณทางยาไม่แพ้ดอกเห็ด หรืออาจจะมีสารบางอย่างที่มีคุณสมบัติทางยามากกว่า มาสกัดทำเป็นยาได้อีกด้วย ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ทางศูนย์ไทยไบโอเทคทีบีซีทำการผลิตเพื่อส่งออก และใช้เป็นส่วนผสมของอาหารเสริมในการสร้างภูมิต้านทานแก่ร่างกายอยู่ทุกวันนี้

การบริโภคเห็ดหิ้งไซบีเรียในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นการบริโภคสารที่ได้จากการสกัดทั้งดอกเห็ดและเส้นใยเห็ด สำหรับผู้ป่วย จะนิยมรับประทานในปริมาณ 7-10 กรัม โดยแบ่งเป็นครั้งละ 2-3 กรัมผสมกับน้ำอุ่นดื่มก่อนรับประทานอาหาร 3 มื้อ แต่สำหรับบำรุงร่างกายทั่วไปจะรับประทานเพียงวันละ 2-3 กรัมเท่านั้น ปัจจุบันทางศูนย์ไทยไบโอเทค ทีบีซี สามรถเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดนี้เป็นการค้าได้แล้ว และก็ใช้เป็นส่วนผสมของยาที่สำคัญหลายชนิด

เห็ดหิ้งไซบีเรียที่พบในประเทศแอฟริกาใต้ ตัวอย่างถูกเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัยพรีทอเรีย