เห็ดเป็นยา  เห็ดกระดุมบราซิล

บทความโดย ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

เห็ดกระดุมบราซิล เป็นเห็ดที่พบทั่วไปในเขตอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น จากหลักฐานพบว่า ได้มีการค้นพบเห็ดชนิดนี้ แล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์วิจัยโดยนักชีววิทยาชาวอเมริกา ชื่อ Dr. W.A. Murrill (A Mycologist and Assistant Director of the New York Botanical Garden) ในปี พ.ศ. 2489 และได้จำแนกเห็ดชนิดนี้ว่าอยู่ในวงค์(Family) : Agaricaceae วงค์เดียวกับเห็ดกระดุมหรือเห็ดฝรั่งและเห็ดฟาง ตระกูล(Genus) : Agaricus สายพันธุ์ (Varieties) : blazei Murill เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบคนแรก

 
โดยเห็ดกระดุมบราซิลมีลักษณะทางพันธุกรรมและ DNA เช่นเดียวกับเห็ดกระดุมสีน้ำตาลที่พบกันทางแถบอากาศอบอุ่นในยุโรปและอเมริกา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Agaricus subrufescens Peck โดยธรรมชาติ เห็ดกระดุมบราซิลเกิดขึ้นตามพื้นที่ที่มีอินทรียวัตถุสูง พบมากอยู่ตามป่าที่มีการสะสมของอินทรีย์วัตถุมากในป่าใกล้เมืองเซาเปาโล เมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศบราซิล หลังจากการพ่ายแพ้สงครามโลกอย่างยับเยินของญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นแม้ว่าจะยอมรับความพ่ายแพ้สงคราม แต่การปฏิบัติการเคลื่อนไหวได้เปลี่ยนรูปแบบและกลยุทธ์ใหม่ คือ การใช้กลยุทธ์พระอาทิตย์ไม่ตกดิน ด้วยการส่งนักวิชาการ นักธุรกิจ ไปทำการศึกษาวิจัยในทุกประเทศของทั่วโลก เพื่อจะนำเอาของที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศส่งกลับไปที่ประเทศญี่ปุ่น การศึกษาเกี่ยวกับยารักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาสมุนไพรที่ดี ถือว่าเป็นภารกิจหลักที่สำคัญที่คนญี่ปุ่นที่ส่งไปประจำประเทศต่างๆที่อาศัยโครงการช่วยเหลือต่างๆบังหน้า เช่นเดียวกับสมุนไพรอันล้ำค่าของไทยที่ใช้เป็นยากันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือ เปล้าน้อย ก็ถูกญี่ปุ่นเอาไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์ไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับที่ประเทศบราซิลนั้น ญี่ปุ่นได้ส่งอาสาสมัครไปประจำที่นั่นเมื่อปี พ.ศ. 2503 ชื่อ นาย Takatoshi Furumoto ได้ไปสำรวจหายาที่ดีที่สุดของประเทศนี้ ก็พบว่า ที่หมู่บ้านเล็กๆบนเขา ชื่อว่า Piedade เป็นภาษาโปรตุเกสอ่านว่า พี-อะ-ดอท อยูที่เมือง Tauape ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจากกรุงเซาเปาโลประมาณ 280 กม. มีสภาพอากาศร้อนชื้นเช่นเดียวกับภาคใต้ของเรา ในช่วงฤดูฝน จะมีเห็ดธรรมชาติเกิดขึ้นตามสนามหญ้าหรือชายป่าที่มีการสะสมของเศษกิ่งไม้ใบไม้นานๆ โดยเห็ดที่เกิดขึ้นนี้ ชาวบ้านนิยมนำเอาไปใช้เป็นอาหารและเป็นยาชั้นเลิศ ที่ทำให้คนในหมู่บ้านนี้อายุยืน โดยแทบจะไม่พบผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง เบาหวานและโรคภูมิแพ้เลย นาย Furumoto จึงพยายามเก็บรวบรวมสายพันธุ์ของเห็ดชนิดนี้ตามสถานที่ต่างๆ แล้วส่งกลับไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำการศึกษาวิจัยในปี พ.ศ. 2508 แล้วส่งไปจำแนกที่ Belgian Botanish Heinemann ในปี พ.ศ.2510

ต่อมาสถาบันเชื้อราอิไวดา(Iwaide Fungology Institue) ได้ทำการเพาะเห็ดนี้เป็นผลสำเร็จครั้งแรกของโลก รวมทั้งได้พัฒนาสายพันธุ์ให้มีส่วนประกอบที่สำคัญทางยาสูง และกรรมวิธีเพาะที่แน่นอน แล้วทำการจดลิขสิทธิ์ที่มีผลบังคับไปทั่วโลก ส่วนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติทางยานั้น ได้มีการศึกษาร่วมกันกับหลายสถาบันอันได้แก่ Mie University Medical School, Kobe University, Faculty of Agriculture และ Iwaide Fungology Institute

โดยผลการศึกษาวิจัย ได้รับผลอันน่าทึ่งและมหัศจรรย์ยิ่งของเห็ดกระดุมบราซิล ที่มีคุณสมบัติป้องกันรักษาโรคร้ายหลายชนิด ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาแผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียวได้ โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าเห็ดอื่นใดไม่ว่าจะเป็น เห็ดหอม(Lentinus edodes) เห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) เห็ดฮุนชิ(Coriolus versicolor) ที่นิยมเพาะเป็นยาในญี่ปุ่น จนในที่สุดที่ถือว่าเป็นจุดพลิกผัน และดันเรื่องเห็ดกระดุมบราซิลดังอย่างพลุแตก เมื่อมีการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 13 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติของญี่ปุ่น(The 13th General Meeting of Japan Cancer Academy, in 1980 ) ที่ได้เปิดเผยให้ทั่วโลกได้รับรู้ถึงผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ของผลการวิจัยเกี่ยวกับเห็ดกระดุมบราซิล ที่มีสรรพคุณอันล้ำค่าต่อมวลมนุษยชาติที่เผชิญหรือกำลังจะเผชิญกับสภาพความเป็นพิษของโลก

อันเป็นผลก่อให้เกิดโรคร้ายหลายชนิด ที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยกรรมวิธีวิทยาศาสตร์แผนปัจจุบันแต่เพียงอย่างเดียวได้ เห็ดกระดุมบราซิลจึงเป็นความหวังของคนทั้งโลก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กำลังจะหมดอาลัยตายอยาก สิ้นหวังและทนทุกข์ทรมานจากผลข้างเคียงของการใช้ยาหรือการฉายรังสี ก่อนที่จะนำเอาผลสรุปของการวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติทางยาของเห็ดกระดุมบราซิล ที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Himematsutake ภาษาจีนเรียกว่า Ji Song Rong ภาษาอังกฤษเรียกว่า King Agaricus ภาษาไทยเรียกว่า เห็ดกระดุมบราซิล หรือเห็ดโคนบราซิล