ผู้ที่ผ่านการอบรมเห็ดตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา คงจะได้รับรู้จากการอบรมและนำไปปฏิบัติว่า การเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตสูงนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้อาหารแก่เห็ดครบและปริมาณที่เพียงพอเหมาะสม โดยเห็ดทุกชนิดต้องการธาตุอาหารอย่างน้อยที่สุด 16 ชนิด ในปริมาณที่มากบ้าง น้อยบ้าง แตกต่างกันไป โดยแหล่งอาหารที่เสริมเข้าไปให้แก่เห็ดนั้น จะต้องเป็นธาตุอาหารที่อยู่ในรูปของอินทรีย์สาร เช่น ธาตุไนโตรเจน จะต้องอยู่ในรูปของโปรตีนจากพืช อันได้แก่ ในรำละเอียด รำข้าวสาลี กากถั่วป่น ใบกระถิน หรือส่าเหล้า เป็นต้น ไม่สามารถเติมธาตุไนโตรเจนในรูปของสารเคมีได้

ส่วนแร่ธาตุก็เช่นกัน แม้ว่าธาตุบางชนิดอาจใช้ในรูปของสารเคมีได้ เช่น ดีเกลือ แต่ถ้าจะให้ดีแร่ธาตุต่างๆที่เห็ดต้องการควรอยู่ในรูปของอินทรีย์สารเช่นกัน โดยอยู่ในรูปสารประกอบร่วมกับโปรตีน ที่เรียกว่า สารชีเลท(Chelate) ผู้เพาะเห็ดที่มีความรู้ดังกล่าว ที่ทำการเพาะเห็ด และใส่อาหารเสริมอย่างครบถ้วนและเพียงพอ จะเป็นผู้ที่มีโอกาสเพาะเห็ดให้ได้ผลผลผิตสูง คุณภาพของดอกเห็ดดี ต้นทุนในการผลิตต่ำ ปัญหาเรื่องโรคและแมลงมีน้อย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการเสริมหรือเติมธาตุอาหารอย่างเพียงพอในขณะที่ทำการเพาะ แต่เมื่อทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตไประยะหนึ่งแล้ว ดอกเห็ดก็จะดูดซึมธาตุอาหารเอาไปด้วย ทำให้ธาตุอาหารร่อยหรอลงไป ผลผลิตก็จะค่อยต่ำ หรือคุณภาพของดอกเห็ดจะด้อยลง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป

แต่จากการศึกษาพบว่า แม้ว่าเส้นใยและดอกเห็ดจะกินอาหารในวัสดุเพาะ ด้วยการย่อยสลายเอาธาตุอาหารต่างๆให้สูญสลายหรือนำติดไปกับดอกเห็ด จะทำให้ธาตุอาหารในวัสดุเพาะลดลงก็ตาม แต่การลดลงของธาตุอาหารบางชนิดเท่านั้นที่อาจจะลดลงจนเป็นผลทำให้ผลผลิตลดลง หรือคุณภาพของดอกเห็ดด้อยลง แต่ธาตุอาหารอีกหลายชนิดอาจจะยังมีอยู่ในปริมาณที่มากพออยู่ ดังนั้น ทางศูนย์ไทยไบโอเทคทีบีซี โดยการนำของ อ.อานนท์ เอื้อตระกูลและคณะ ได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อจะหาทางเสริมอาหารที่ขาดเหลือเข้าไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะเพิ่มทั้งผลผลิตและคุณภาพของดอกเห็ด พบว่า การเพิ่มอาหารเสริมทั่วไปที่ใช้ผสมกับวัสดุเพาะ ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่เห็ดได้ ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้เกิดโรคและแมลงเพิ่มขึ้น รวมทั้งเร่งให้วัสดุเพาะเห็ดเน่าสลายตัวเร็วยิ่งขึ้น แต่ผลของการทดลองพบว่า หากนำเอาอาหารเสริมเห็ดชนิดเข้มข้น นำมาหมักด้วยเชื้อจุลิทรีย์ยูเอ็ม92 ในขบวนการใช้อากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จนกระทั่งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ดังกล่าว ทำการย่อยอาหารเสริมให้มีโมเลกุลขนาดเล็กลง จนอยู่ในรูปของสารนิวคลีโอไทด์ ที่เส้นใยของเห็ด หรือดอกเห็ดนำเอาไปใช้ได้เลย หรือเปรียบเสทือนเป็นอาหารจานด่วน เมื่อนำเอาไปฉีดหรือพ่นให้แก่เส้นใยหรือดอกเห็ดที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ จะเป็นการเพิ่มธาตุอาหาร ทำให้ผลผลิตที่ได้สูงขึ้น ดอกเห็ดจะมีคุณภาพดียิ่งขึ้น วัสดุเพาะเห็ดจะไม่เน่าสลายตัวเร็ว เก็บผลผลิตได้นานยิ่งขึ้น

ดังนั้น จึงขอแจ้งข่าวดีให้แก่สมาชิกผู้เพาะเห็ดทั้งหลาย หากท่านต้องการที่จะให้การเพาะเห็ดของท่าน ไม่ว่าจะเป็นเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าภูฎาน เห็ดขอนขาว เห็ดลม เห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดหอม เห็ดหัวลิง เห็ดฟาง หากท่านใช้อาหารเสริมนิวคลีโอไทด์ เสริมเข้าไปไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนไหน เช่น สามารถนำเอาไปผสมกับวัสดุเพาะได้โดยตรง หรือฉีดพ่นขณะทำการเปิดดอก หรือหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตไประยะหนึ่งแล้ว ผลผลิตเริ่มลดลง ระยะห่างของการออกดอกนานมากขึ้น คุณภาพของดอกเห็ดด้อยลงก็ได้ แต่ยิ่งใช้ในช่วงต้นๆได้ยิ่งดี เพราะวัสดุเพาะจะเน่าสลายช้า ให้ผลผลิตได้นานยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เพาะเห็ดหอม ที่จำเป็นจะต้องพักก้อนเชื้อไว้นาน 4-6 เดือน เพื่อให้เส้นใยเห็ดรัดตัว เกิดเป็นดอกเห็ดเล็กๆเกิดขึ้นในถุงเสียก่อนที่จะนำเอาไปเปิดดอก แต่เมื่อทำการเปิดดอกเข้าจริงๆ ดอกเห็ดเหล่านี้จะฝ่อตาย เป็นการสูญเสียธาตุอาหารของเห็ดไปไม่น้อย หากมีการฉีดหรือพ่นสารนิวคลีโอไทด์เข้าไป ดอกเห็ดเหล่านั้นจะสามารถเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์ได้

ดังนั้น ท่านผู้เพาะเห็ดท่านใด ที่ประสพกับปัญหาผลผลิตต่ำ ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์ เก็บผลผลิตได้ไม่นาน ผลผลิตเห็ดแต่ละครั้งเว้นช่วงออกดอกนานผิดปกติ หรือดอกเห็ดที่เก็บมาแล้วช้ำหรือเน่าง่าย ท่านสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการเพิ่มอาหารเสริมเข้าไปในรูปของสารนิวคลีโอไทด์ ปัจจุบันทางศูนย์ฯได้ทำการผลิตอาหารเสริมสำเร็จรูปในรูปของสารนิวคลีโอไทด์หลายชนิดอันได้แก่ อาหารเสริมนิวคลีโอไทด์ ทีบีซี108 อาหารเสริมบิ๊กบูม อาหารเสริมโววาติก้า อาหารเสริมพลิวโรติก้า อาหารเสริมไฮเบลน อาหารเสริมซูเปอร์เบลน และโฮร์โมนเขียว เป็นต้น