เอกสารเห็ดเป็นยา โดยนักวิทยาศาตร์ (เพื่อนของ) ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ตอนที่ 2

เห็ดหูหนูดำ: ป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน

เห็ดหูหนูที่ใช้ในการทำอาหารและเป็นยา มีอยู่สองสายพันธุ์ ซึ่งลักษณะคล้ายกันมากจนแยกไม่ออกคือ

Auricularia auricula (Jew’s ear)
Auricularia polytricha (cloud ear, black fungus )

ปัจจุบันเห็ดหูหนูดำมีราคาค่อนข้างสูงและเป็นที่นิยมในร้านอาหารแถบ เอเชียตะวันออก เพราะความอร่อยกรุบกรอบ ส่วนการใช้เป็นยารักษาโรคนั้นได้มีการใช้อย่างกว้างขวางในประเทศจีนและแถบยุโรป โดยใช้เป็นตัวลดการอักเสบจากการเจ็บคอ ระคายเคืองตา

เนื่องจากคนเอเชียตะวันออกนิยมนำมาทำอาหารมากขึ้น จึงทำให้มีการเพาะปลูกได้สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบว่า สรรพคุณทางยาของเห็ดหูหนูนั้น นอกจากป้องกันหลอดเลือดตีบตันแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระคือ พอลีฟีนอล และโพลีแซคคาไลน์ แต่ผลข้างเคียงที่ค้นพบในสายพันธุ์ Auricularia auricula คือ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อสืบพันธุ์ จึงไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือวางแผนที่จะมีบุตร

ประโยชน์ของสารโพลีแซคคาไลน์ใน เห็ดหูหนูสายพันธุ์ Auricularia auricula

สรรพคุณ

-ลดระดับโคเลสโตรอลที่เลว, ไตรกลีเซอไลน์ LDL
และเพิ่มโคเลสเตอรอลที่ดีต่อร่างกาย HDL
-เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ
-ป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน
-ป้องกันเส้นเลือดตีบแข็ง
-ป้องกันลิ่มเลือดแข็ง

ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคความดัน หัวใจ ไต

การใช้สรรพคุณเป็นยาของเห็ดหูหนูได้มีการใช้มาแต่โบราณ โดยเฉพาะสารสำคัญที่ใช้ป้องกันการอักเสบคือโพลีแซคคาไลน์

ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ได้เคยแนะนำวิธีการทานเห็ดหูหนูเพื่อลดความดัน และโรคหัวใจไว้ ง่ายๆ โดย

นำเห็ดหูหนูตุ๋นไปพร้อมกับพุทราจีนและขิงสด ทำเป็นเครื่องดื่มทานเป็นประจำ ช่วยรักษาและทำให้โรคดังกล่าวดีขึ้น แต่ควรระวังเห็ดหูหนู และพุทราจีน ที่อาจมีสารเคมีอันตรายปนเปื้อนอยู่

รูปที่สองเป็นพันธุ์ Auricularia auricula
รูปที่สามเป็นพันธุ์ Auricularia+polytricha

ใส่ความเห็น