เห็ดเศรษฐกิจและเห็ดเป็นยา
ปัจจุบัน เราสามารถกล่าวได้เลยว่า ประเทศไทย เราสามารถเพาะเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดเป็นยาได้แทบทุกชนิด ที่ทั่วโลกเขาเพาะได้กัน แต่คำถาม มักจะถามว่า แล้วทำไม ประเทศไทย ยังนำเอาเห็ดหลายต่อหลายชนิดเข้ามาบริโภคอยู่อีกจำนวนมาก คำตอบก็คือ มันเป็นนโยบายระหว่างประเทศของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีน ที่ให้การสนับสนุนการเพาะเห็ดกันอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลจีนได้เห็นความสำคัญในเรื่องเห็ด ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมืองของเขา เนื่องจาก เห็ดเป็นอาหารที่สามารถทำการผลิตได้ตลอดทั้งปี ใช้วัสดุเพาะที่ส่วนใหญ่มีราคาถูก เป็นวัสดุเหลือใช้จากการทำการเกษตร หรืออุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญ เห็ดเป็นอาหารที่มีสรรพคุณทางด้านโภชนาการและทางยาสูง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจีนจึงทำการส่งเสริมเรื่องการผลิตเห็ดอย่างจริงจังและให้มีบริโภคอย่างเพียงพอ เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อมากว่า ปี 2000 ประเทศจีนผลิตเห็ดได้ไม่กี่ล้านตัน โดยรวมผลผลิตเห็ดทั่วโลก มีเพียง 8.5 ล้านตันเท่านั้น แล้วใครจะเชื่อล่ะครับ ปี 2015 ประเทศจีนประเทศเดียว ผลิตเห็ดได้มากกว่า 28.5 ล้านตัน มากกว่าโลกทั้งโลกรวมกันกว่าสามเท่า ในจำนวนที่ผลิตได้ทั้งหมด คนจีนผืนแผ่นดินใหญ่ บริโภคเห็ดมากที่สุดก็ไม่เกิน 25 ล้านตัน แต่เห็ดที่เขาส่วเสริมให้เพาะมากกว่าความต้องการภายในประมาณประมาณ 10% นั้น เป็นการเผื่อเหลือ เผื่อขาด ในกรณีเกิดภัยพิบัติที่คาดการณ์ไม่ได้ ในยามปกติ ปริมาณเห็ดส่วนเกิน รัฐบาลจีนสนับสนุนให้ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ จะจำหน่ายราคาที่ถูกกว่าต้นทุนก็ไม่เป็นไร เพราะหากผู้เพาะเห็ดรายใดสามารถส่งออกเห็ดได้ ทางรัฐบาลจีน ก็จะมีเงินช่วยเหลือและอุดหนุนให้ พร้อมทั้งจะได้รับสิทธิ์พิเศษในด้านการเงินและการขยายกิจการ รวมทั้งขบวนการตอบแทนด้านการลดภาษีรายได้ให้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็ดว่า เห็ดนไเข้า จึงมีราคาค่อนข้างถูกมาก เป็นเห็ดให้ มีฟาร์มเห็ดที่เพาะในห้องควบคุมหลายแห่ง ที่ทำการเพาะเห็ดชนิดเดียวกันกับเห็ดนำเข้า ไม่สามารถที่จะต้องสู้เรื่องราคาขายแข่งกับเห็ดนำเข้าไป แต่เชื่อแน่ว่า ในอนาคต ประเทศไทย ก็คงจะสามารถที่จะเพาะเห็ดที่นำเข้าอยู่ทุกวันนี้ได้
ปัญหาของการเพาะเห็ดในประเทศไทย ที่ยังมีต้นทุนในการผลิตสูง เนื่องจาก แทบจะไม่มีการพัฒนาองค์ความรู้และเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบ วิธีการผลิต ตลอดจนแนวความคิดของบุคคลในวงการเห็ดที่เด่นชัด ส่วนใหญ่ก็ยังใช้วิธีการเดิมๆ ขณะที่วัสดุและอุปกรณ์การผลิต มีราคาปรับตัวสูงขึ้นตลอดเวลา สถาบันอานนท์ไบโอเทค โดยการนำของ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ผู้เชี่ยวชาญเห็ด(อาวุโส) องค์การสหประชาชาติ ระหว่างปี 2524-2548 ในฐานะที่เคยเป็นผู้บุกเบิกวงการเห็ดของไทยที่สำคัญท่านหนึ่งในยุคต้นๆ ท่านจึงมีความปรารถนา ที่จะแนะนำและผลักดัน แนวทางวิชาชีพการเพาะเห็ดของไทย ให้ทัดเทียมกับต่างประเทศอยู่อย่างต่อเนื่อง การเปิดเวปไซด์ ที่เป็นของตัวเองคราวนี้ ก็จะเป็นการช่วยผลักดันเรื่องใหม่ๆในวงการเห็ดของไทย และเป็นศูนย์กลาง รับฟังข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายอีกด้วย