นวตกรรมการเพาะเห็ดทรัฟเฟิล เห็ดการบูร เห็ดนมเสือ และเห็ดไม๊ตาเกะ

อ.ธวัช ทะพิงค์แก หนึ่งในกูรูนักประดิษฐ์คิดค้น ในการเพาะเห็ดทั้งเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดเป็นยา เริ่มตั้งแต่การทำเชื้อและเพาะเห็ดฟางตั้งแต่ปี 2510 ทำการเพาะเห็ดโคนน้อยสำเร็จเป็นคนแรก เมื่อเร็วๆนี้ ได้ร่วมกับลูกสาวที่จบปริญญาเอกจากออสเตรเลีย มาพัฒนาการเพาะเห็ดถั่งเช่าสีทองแล้วเปิดอมรมส่งเสริมกันมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อปลายปี 2560 ได้รับดอกเห็ดทรัฟเฟิล ซึ่งเป็นเห็ดที่เพาะกันในเขตอากาศหนาวจัดใต้ต้นโอ๊ค และต้องใช้สุนัชหรือหมูดมกลิ่นค้นหา มีราคาแพงมากในตลาดยุโรป เพราะมันเป็นของหายากและกลิ่นหอมมาก อาจารย์ธวัชได้นำดอกเห็ดเห็ดจากคนไทยที่นำมาจากประเทศอิตาลี เอามาเพาะเลี้ยงเส้นใย พบว่า เจริญได้อย่างรวดเร็ว และใช้วิธีการกระตุ้นให้เส้นใยรวมตัวกันเป็นดอกได้อย่างง่ายๆ น่าจะเป็นรายแรกของโลก ที่สามารถเพาะเห็ดทรัฟเฟิลในห้องควบคุมได้ จะทำอย่างไรนั้น วันที่ 15 มีนาคม 2561 อาจารย์ธวัช จะมาแสดงและเล่าให้ฟัง พร้อมทั้งนำของจริงมาให้พิสูจน์ด้วย รวมทั้ง เห็ดการบูร ที่เป็นเห็ดเชิดหน้าชูตาของไต้หวันที่ใช้รักษาโรคตับด้วย

Dr. Tan Chon Seng ผู้เชี่ยวชาญด้านไบโอเทค ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลมาเลเซียให้เป็นหัวหน้านักวิจัยและแปรรูปเห็ดนมเสือ หลังจากที่ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ของมาเลเซีย คือ นพ.มหาเธย์ ใช้เห็ดนมเสือรักษาโรคไทรอยด์เรื้องรังของท่านอย่างได้ผล จึงประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ให้ทุกหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง เห็ดนมเสือ จนได้ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ว่า เห็ดนมเสือ สามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด นอกจากนี้ ยังประสพผลสำเร็จในการเพาะเห็ดถั่งเช่าแท้พันธุ์ทิเบตที่มีราคาสูงมาก ให้ออกดอกในห้องควบคุมได้ วันนั้น จะได้เห็นของจริงและผลิตภัณฑ์มาโชว์ด้วย

Mr. Hiroshi Kawano หรือคุณสุวัฒน์ อุตตรสิงห์ ฝ่ายตลาดของบริษัท HOKTO ผู้ผลิตเห็ดไม๊ตาเกะ และเห็ดชิมิจิ ที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในโลก มีโรงงานขนาดลงทุนกว่า สองพันล้านบาท มากถึง 31 แห่ง(ในประเทศ 29 แห่ง) ผลิตเห็ดสดด้วยหุ่นยนต์ ไม่มีการสัมผัสมือมนุษย์โดยตรง ตั้งแต่เริ่มขบวนการเพาะ จนกระทั่งเก็บดอกเห็ดบรรจุถุง ผลผลิตโดยรวมประมาณปีละ 70,000 ตัน มูลค่ากว่า 14,500 ล้านบาท ในโอกาสนี้ จะได้มาสรุปการผลิตเห้ดไม๊ตาเกะแบบย่อๆ และได้ส่งดอกเห้ดไม๊ตาเกะสดๆจากประเทศญี่ปุ่น มาเป็นวัตถุดิบปรุงอาหารในครั้งนี้ด้วย

ใส่ความเห็น