ผมจั่วหัวข้อค่อนข้างทันสมัย และรุนแรงว่า “พันธุกรรม ทำนายโรค มีคนไทยทำได้ แต่หน่วยราชการที่ไหนอยากจะทำ” มันเป็นหัวข้อที่แฝงความจริงทั้งสิ้น โดยอยากจะขออธิบายดังนี้ว่า การทำนายโรค สามารถตรวจคัดกรองด้านพันธุกรรมได้

เนื่องจากส่วนเล็กที่สุดของร่างกายที่เป็นเซลนั้น ยังมีส่วนที่เล็กลงไปอีกที่เป็นสิ่งสืบทอดพันธุกรรม คือ ดีเอ็นเอ ที่มียีนส์เป็นองค์ประกอบ แล้วเจ้ายีนส์ตัวนี้ คือ ตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกาย หากร่างกายเกิดอาการผิดปกติขึ้น เช่น มีเซลมะเร็ง ซึ่งไม่ใช่เป็นเซลปกติเกิดขึ้น ยีนส์ที่เรียกว่า GSTM1(Glutathione S Transferase M1) จะสร้างเอ็นไซม์ที่มีหน้าที่ทำลายพิษของสารก่อมะเร็ง ทำให้ร่างกายสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง ไม่ให้ลุกลามไปได้ แต่หากร่างกายไม่มีสารพันธุกรรมหรือยีนส์ดังกล่าว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง ที่ควรจะทำการตรวจอย่างละเอียดต่อไป

ดังนั้นการตรวจสอบระดับยีนส์ในเบื้องต้น จึงเป็นการตรวจเพื่อคัดกรองความสุ่มเสี่ยงต่อการกำเนิดโรคในเบื้องต้นได้ เแกเช่น โรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็น่าจะมีพันธุกรรมของยีนส์เป็นตัวควบคุมอยู่ ซึ่งการศึกษาระดับเล็กที่สุด ถึงระดับยีนส์นั้น มีผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่ มักจะเป็นนักวิชาการที่ทำการศึกษา วิจัยชั้นสูง(ไม่ได้หมายความว่า ทำงานอยู่บนตึกสูงๆ แต่เป็นเทคโนโลยี ที่ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์สูง) ใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย มีราคาแพงมาก

โชคดีที่ประเทศไทย เคยมี(ต้องบอกว่าเคยมี)นักวิชาการที่จบระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยโตเกียวด้านพันธุกรรม คือ อาจารย์ ดร.ดนัย ทิวาเวช รองเลขาธิการ สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(สสวทท) อดีตหัวหน้างานชีววิทยามะเร็ง สถาบันวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ที่ได้ทำการศึกษา ค้นคว้าทดลอง และพัฒนาวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรมได้อย่างแม่ยำ รวดเร็วและค่าใช้จ่ายถูกกว่าต่างประเทศมาก

ถามต่อไปว่า หากตรวจค้นพบว่า มีความผิดปกติในระบบยีนส์ที่เป็นจุดสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งแล้วจะได้อะไร คำตอบก็คือ หากพบในระดับความปกติ ก่อนที่จะปล่อยให้เซลมะเร็งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว แต่อยู่อย่างหลบซ่อนและแฝงอยู่ เพราะร่างกายจะมียีนส์ควบคุมที่จะไม่ยอมให้เซลเหล่านี้เจริญขึ้นมาได้ แต่หากไม่มียีนส์ดังกล่าวในร่างกาย เราก็สามารถทำการรักษาหรือป้องกันได้เสียก่อน ด้วยการรักษาสุขภาพ เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเอาไว้ เราก็จะไม่มีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็ง ที่ส่วนใหญ่ปล่อยให้มันแสดงอาการ ที่จะเป็นระยะท้ายๆที่ยากแก่การรักษาได้

คำถามต่อไปก็คือ นักวิทยาศาสตร์และเชี่ยวชาญอย่าง ดร.ดนัย ทิวาเวชนั้น มีความสำคัญต่อสังคม หรือมนุษย์ปุถุชนทั่วไปหรือไม่ ต้องบอกว่าสำคัญมาก สำคัญที่สุด เพราะจากความชำนาญ ที่ท่านลงทุนไปทั้งชีวิต หน่วยราชการใช้เงินไปมหาศาล กว่าจะสร้างคนที่มีความเชี่ยวชาญมากถึงเพียงนี้ หากท่านใช้ความรู้ ความสามารถ และความชำนาญของท่าน แค่เอาเลือดมาเพียง 3 ซีซี เพื่อมาตรวจหายีนส์เสี่ยง ที่ใช้เวลาไม่เกิน 6 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายเพียงหลักไม่กี่พันบาท เพื่อจะให้รู้ว่า คนๆนั้นมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ หากมียีนส์ GSTM1(Glutathione S Transferase M1) อยู่ก็แสดงว่า ท่านปกติ แต่หากตรวจไม่พบ แม่ว่าจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติของการเป็นมะเร็ง เพราะ จะอยู่ในระดับแค่เริ่มต้น เราสามารถไปตรวจในรายละเอียดและสามารถรักษาเบื้องต้นได้ง่าย และมีโอกาสหายขาดได้ ดีกว่าปล่อยให้แสดงอาการ ที่หมายถึงว่า เป็นมะเร็งระดับสูงขึ้นแล้ว โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดก็จะยากและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

 หากจะถามต่อไปอีกว่า ในเมื่อรู้ทั้งรู้ว่า มันมีการตรวจคัดกรองโรคได้อย่างนี้แล้ว และมีคนไทยที่มีประสบการณ์สูงเช่นนี้ ทำไมหน่วยราชการไม่มีบริการด้านนี้ล่ะ เรื่องพรรค์อย่างนี้ เราต้องรับความจริงว่า คนที่มีความรู้สูงอย่าง ดร.ดนัย ทิวาเวช มีกี่คนในประเทศไทย และหากท่านได้มีโอกาสไปเยี่ยมโรงพยาบาลของรัฐ แค่รักษาโรคทั่วไป แพทย์ผู้รักษาก็ยังไม่เพียงพออยู่แล้ว ยิ่งเป็นโรงพยาบาลที่รักษามะเร็งโดยเฉพาะแทบทุกแห่ง ก็เต็มความสามารถทั้งจำนวนแพทย์ และโรงพยาบาลที่จะรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงไม่สามารถไปตำหนิ ติเตือนหรือโยนความผิดให้แก่หน่วยราชการได้เลย ที่ว่า จะจัดให้มีการบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหรือโรคอย่างอื่นในระยะเริ่มต้นได้อย่างเพียงพอ

ถามต่อ แล้วไงต่อ สิ่งที่พวกเราทุกคนที่ควรทำคือ ต้องหาทางสนับสนุนคนที่มีความรู้อย่าง ดร.ดนัย ให้มีที่ยืน ให้มีที่ที่ท่านสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีประโยชน์มากต่อสังคมไทยหรือมนุษยชาติ แม้ว่าท่านจะเกษียณอายุราชการไปแล้ว โชคดีครับ ที่มีบุคลากรของชาติ เป็นผู้ที่มีสายตาอันกว้างไกล ใจเป็นพระ(หายากมากในโลกนี้ โดยเฉพาะวงการแพทย์)คือ นายแพทย์อิสระ เจียวิริยบุญญา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ที่ท่านเฝ้าติดตามงานด้านพันธุกรรมทำนายโรคมาหลายปี และก็ได้ติดต่อติดตามผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ล้วนแล้วมีราคาแพงทั้งอุปกรณ์ เครื่องไม้ เครื่องมือ รวมทั้งบุคลากรแพงมากๆ พอท่านได้มาทราบถึงการรวมตัวของบุคลากรที่เต็มไปด้วยคุณภาพ ความรู้และประสบการณ์ที่มีสถาบันอานนท์ไบโอเทคเป็นแกนนำนั้น ท่านได้อ้าแขนรับและพร้อมให้การสนับสนุนอาจารย์ ดร.ดนัย ทิวาเวช เพื่อให้ท่านได้ใช้และเปิดบริการ “พันธุกรรม ทำนายโรค”ขึ้น ที่ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานีเร็วๆนี้ โดยมีเครือข่ายร่วมกับสถาบันอานนท์ไบโอเทค ที่จะมีคลีนิกหมอทั่วประเทศที่สนใจเป็นเครือข่ายกันต่อไป

[envira-gallery id=”8556″]

 จึงถือว่า ประเทศไทยยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ที่ยังมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ นพ.อิสระ เจียวิริยบุญญา ที่ได้เห็นถึงความสำคัญนี้ จึงไม่เพียงแค่ความหวังหรือความฝันเท่านั้น เรื่องนี้ได้เกิดเป็นรูปเป็นร่างแล้วในผืนแผ่นดินแหลมทองแห่งนี้ครับ

[envira-gallery id=”8559″]

ใส่ความเห็น