เห็ดเยื่อไผ่ เห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย
โดย ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส(เห็ด) องค์การสหประชาชาติ ปี 2524-2548
ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงเชื่อมานานแล้วว่า เยื่อไผ่ที่เราทานกันในร้านอาหารจีน ที่มีราคาแพงๆและหายากนั้น คงมาจากเยื่อจะต้นไผ่สายพันธุ์พิเศษจากจีน และเชื่อว่า หลายคนที่มั่นใจว่า การกินเยื่อไผ่เป็นยาบำรุงนั้นมาจากต้นไผ่สายพันธุ์พิเศษที่มีเฉพาะที่ประเทศจีนเช่นเดียวกับผม แต่พอเอาเข้าจริงๆแล้ว เยื่อไผ่ ไม่ได้มาจากต้นไผ่ แต่เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ตามพื้นที่เขตร้อนชื้น เช่น ในประเทศไทย ที่มักจะพบเจอแทบทุกภาคของประเทศ โดยเกิดขึ้นตามพื้นดินที่มีเศษซากวัสดุเก่าที่เน่าเปื่อยผุพังและมีความชื้นสูง เช่น ใต้สวนมะพร้าว สวนยางพารา ตามป่าร้อนชื้น โดยเห็ดชนิดนี้ มีลักษณะไม่เหมือนเห็ดอื่นๆ กล่าวคือ มันจะมีกระโปรงเป็นตาข่ายหลากหลายสี ขึ้นอยู่กับชนิดหรือสายพันธุ์ของมัน บางชนิดจะมีหมวกครอบบนสุดของก้านเป็นสีดำ หรือสีเทา มีก้านและกระโปรงสีขาว บ้างก็สีเหลือง สีส้ม สีแดง บ้านเราเรียกว่า เห็ดร่างแห ทางอิสานเรียก เห็ดดางแห ภาษาอังกฤษเรียก Bamboo mushroom, Veiled lady, Long net stinkhorn หรือ Basket stinkhorn ภาษาจีนเรียก Zhu Sheng ( 竹笙 , พินอิน : zhúshēng) หรือ ดวงอาทิตย์ Zhu( 竹荪 ; พินอิน : zhúsūn)(ยูนนานและเรียกว่า Sheng Zhu หรืออาจูในจีน) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เห็ดเยื่อไผ่สีเหลือง Dictyophora multicolor Fisch ที่เกิดตามพื้นที่มีอินทรีย์วัตถุเน่าเปื่อย ผุพังแล้ว




Enlarge

รวมทั้งส่งออกเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่จีนที่สำคัญ โดยมีตำนานการบริโภคเห็ดนี้มานานกว่า 3,000 ปีแล้ว เพื่อใช้เป็นอาหารบำรุงร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากท้องเดิน รักษาโรคความดันโลหิตสูง และปัญหาเนื้อเยื่อมีไขมันมาก ตับอักเสบ โรคที่เกี่ยวข้องกับไต ตา ปอด และเป็นหวัดนอกจากนี้ยังใช้ เป็นตัวป้องการการบูดเสียของอาหารต่าง ๆได้เป็นอย่างดี จากความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ได้มีการวิจัยเห็ดชนิดนี้ในเชิงลึกพบว่า เห็ดชนิดนี้มีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูง มีโปรตีน 15-18% โดยเฉพาะน้ำตาลที่สำคัญเช่น mannitol 90.89 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวอย่างแห้ง 1 กรัม ซึ่งสูงกว่าเห็ดขอน ( Grifola frondosa ) และเห็ดสมองลิง ( Hericium erinaceus ) ที่มีเพียง 9.36 และ 12.98 ตามลำดับ ผมจึงให้ความสนใจที่จะทำการเพาะเห็ดชนิดนี้ให้ได้ แต่ก็ไม่ประสพผลสำเร็จเท่าที่ควร ในปี พ.ศ. 2540 ผมได้เดินทางไปดูวิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ที่ประเทศจีน แล้วก็ได้นำเชื้อเห็ดเยื่อไผ่มาทำการเพาะที่ประเทศไทย ก็พบว่า สามารถทำการเพาะเห็ดชนิดนี้ได้ ก็จึงได้ทำการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง ปัจจุบันมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า เราสามารถเพาะเห็ดเยื่อไผ่ได้ผลดีตลอดทั้งปีในประเทศไทย เวลาที่ใช้ในการเพาะสั้นกว่าที่เพาะในประเทศจีน และมีวัสดุที่ใช้เพาะหลากหลายกว่าอีกด้วย ขณะนี้กำลังขยายฐานการผลิตในเชิงธุรกิจ ณ สถานที่ตั้งของอุทยานเห็ดอานนท์เวิลด์ ต.เพนียด อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี เพื่อทำการเพาะเห็ดเยื่อไผ่จำหน่ายทั้งในรูปเห็ดเยื่อไผ่สดส่งจำหน่ายตลาดภายในประเทศ และแปรรูปเป็นเห็ดแห้งเพื่อการส่งออก และเพื่อเป็นสถานที่ฝึกอบรมให้แก่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการในอนาคตอันใกล้นี้
Enlarge

Enlarge

Enlarge

Enlarge

Enlarge

Enlarge

Enlarge

ดอกเห็ดเยื่อไผ่ที่บานสะพรั่งที่อานนท์ไบโอเทค และตามฟาร์มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งที่อุทยานเห็ดอานนท์เวิลด์
Enlarge

Enlarge

ของหนังสือพิมพ์เทคโนโลยีชาวบ้านได้มาเยี่ยมชมโครงการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ของ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล


ลักษณะโครงสร้างภายในของดอกเห็ดเยื่อไผ่ขณะที่ตูมอยู่ จะมีเปลือกห่อหุ้มด้านนอก ถัดเข้าไปข้างในจะเป็นเมือกวุ้น เพื่อป้องกันดอกอ่อนได้รับการกระทบกระเทือนและรักษาระดับความชื้นให้พอเหมาะ แล้วจะถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ส่วนที่เห็นเป็นสีเขียวเข้มนั้น จะเป็นส่วนหมวกที่จะเป็นส่วนที่สร้างสปอร์ ถัดไปก็คือส่วนของกระโปรง ที่เป็นเนื้อเยื่อโปร่งซ้อนกันและจะถูกยืดออกเมื่อดอกโตขึ้น ด้านในสุดคือ ส่วนของก้านที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำจับกันแบบหลวมๆ เมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่มันส่วนนี้และกระโปรงจะเจริญอย่างรวดเร็ว ใช้ระยะเวลาจากดอกที่กำลังแย้มบานจนกระทั่งถึงบานเต็มที่เพียง 1-2 ชม.เท่านั้น
ลูกสาว(อรนุช เอื้อตระกูล) และหลานชายสุดที่รัก (น้องบ๊อบ โชคชัย เอื้อตระกูล) เป็นผู้ช่วยและให้กำลังใจงานวิจัยเรื่องเห็ดเยื่อไผ่ด้วยดีเสมอมา
ลินดา นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศเยอรมัน เพื่อนของลูกสาว ก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ที่อานนท์ไบโอเทค
ที่ไหนมีเห็ดเยื่อไผ่เกิดขึ้น ที่นั่นจะต้องมีแมลงภู่ ผึ้งบินมาตอมบริเวณส่วนหมวกที่มีการสร้างสปอร์และมีกลิ่นคาวฉุนมาก
แกะเอาหมวกดอกที่มีกลิ่นคาวฉุน เป็นส่วนที่มีน้ำเมือกสีเขียวขี้ม้าคล้ำออก สามารถเอาส่วนนี้ไปทำเครื่องชูรสส่วนดอกสีขาวๆ เอาไปปรุงอาหารได้เลย หรือนำไปแปรรูปด้วยการตากแห้ง
Enlarge

Enlarge

Enlarge

Enlarge
