[su_row] [su_column size=”1/2″][/su_column][su_column size=”1/2″]สิ่งนี้สิ ที่คนไทยทั้งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ทำเกี่ยวกับสมุนไพร หรือยาไทย ที่ควรมอบรางวัลดีเด่น เป็นผลงานดีเด่น ที่ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้น น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญและน่ายินดีของคนทั้งโลก ที่เป็นคนค้นพบทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำไมยาแผนไทย แผนจีน หรือที่เราเรียกว่า แผนโบราณ ที่เอานั่นผสมนี่ เอานี่ผสมนั้น รู้ทั้งรู้ว่า หากผสมเข้าไปแล้ว มันย่อมเกิดผลต่อการรักษาโรคนั้นๆได้ แต่ไม่มีใครที่จะให้เหตุผลว่า แล้วทำไมอ๊ะ มันมีอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ที่มันสามารถพิสูจน์ได้เป็นเหตุเป็นผล หรือเป็นวิทยาศาสตร์เล่า ผมเองก็ถูกถามมาตลอดเวลา แต่ก็ไม่สามารถ หากเหตุผลในการพิสูจน์เป็นเหตุเป็นผลที่น่าเชื่อถือได้ แม้กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ท่านอาจารย์ ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ ทีท่านมีปัญหาเรื่องกรวยไตอักเสบ แล้วผมก็ผสมเห็ดเป็นยาสูตรที่เหมาะสมให้แก่ท่าน ท่านถามผมว่า คุณไปเอาสูตรนี้มาจากไหน แล้วคุณรู้ได้ไง ที่จะต้องทำเป็นสูตรนี้ ซึ่งผมตอบไม่ได้ ได้แต่บอกว่า ได้สูตรจากญาติผู้ใหญ่มา แต่ก็ให้เหตุผลไปมากกว่านี้ไม่ได้ แต่ผมก็ย้อนถามท่านว่า แล้วอาจารย์ดีขึ้นหรือไม่ ท่านก็บอกว่า ก็เพราะมันดีขึ้นสิ จึงถามว่า ทำไมจึงรู้ วันนี้ ผมได้คำตอบแล้วครับ เป็นคำตอบที่ตอบคำถามให้แก่ทุกท่านที่ทำยาจากสมุนไพร ที่ทำเป็นสูตรต่างๆ ดร.สมศักดิ์ ได้ค้นพบถึงปฏิกิริยาด้วยคำตอบทางเคมี โดยใช้สมุนไพรสามชนิดผสมกัน โดยสมุนไพรแต่ละชนิด มีสารเป็นยาที่สำคัญโดดเด่นของแต่ละตัว แต่เมื่อผสมกับแล้ว กลับได้สารสำคัญ ที่มีคุณสมบัติทางยาอีกชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลทำให้คุณสมบัติในการรักษาโรคของการผสมสมุนไพรทั้งสามดียิ่งขึ้น ตรงนี้แหละครับ ที่ผมถือว่า เป็นการค้นพบสิ่งที่เรารอคำตอบ และคำที่เราจะต้องเอาไปอธิบายให้แก่บรรดาผู้ที่สงสัยได้อย่างมีเหตุมีผล การทดลองครั้งนี้ หาก ดร.สมศักดิ์ เป็นคนที่ใจแคบ และเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่า ป่านนี้ เราก็ยังมืดแปดด้านไปอีกนาน แต่นี่ท่านได้นำสิ่งที่ท่านค้นพบออกมาเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วไปรู้ ผมว่า พวกเราทุกคน หรือทั้งโลก ควรชื่นชมยินดีในผลงานอันทรงค่านี้ ของ ดร.สมศักดิ์ นวลแก้ว แห่งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผมได้ทาบทามท่านไว้แล้วว่า ในอนาคต ผมจะเชิญท่านมาเป็นวิทยากรในการอบรมเห็ดเป็นยาในโอกาสต่อไปด้วยครับ ซึ่งท่านให้ความสนใจและยินดีครับ[/su_column] [/su_row]
[su_row] [su_column size=”1/2″][/su_column] [su_column size=”1/2″]อีกเรื่องที่มีประโยชน์ มีค่ายิ่งต่อมวลมนุษยชาติ ไม่เพียงเฉพาะคนไทย กับคำตอบที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย และสืบเสาะหาทั้งเหตุ ทั้งผลว่า ทำไมจะต้องทำการหมักเห็ดเป็นยาหรือสมุนไพร หรือหมักแล้ว มันจะมีอะไรเกิดขึ้นในขบวนการหมัก เรื่องนี้ ดร.สมศักดิ์ก็ได้ทำการศึกษา และพบว่า สมุนไพรบางอย่างเช่น ไพล หากใช้เดี่ยวมากเกินไปอาจจะมีสารเป็นพิษ หรือสารบางอย่างมากเกินไปจนเป็นอันตราย แต่หากนำมาทำการหมัก ปรากฏว่าสารพิษที่เป็นอันตรายกลับลดลง และปรากฏมีสารที่มีคุณสมบัติทางยา ที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น ขอให้ดูตามกราฟแสดงที่ท่านอาจารย์ ดร.สมศักดิ์นำมาแสดงให้ดู จะเห็นว่า ช่วงเริ่มต้นทำการหมักจะเห็นสารที่เป็นอันตรายอยู่ด้านซ้ายมือสูงมาก แต่พอหมักไประยะหนึ่งสารดังกล่าวจะลดลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ขณะที่สารที่ได้จากปฏิกิริยา ที่อยู่ด้านขวามือเรา ปรากฏขึ้นตามมา นี่ก็เป็นคำตอบว่า ทำไมเราจะต้องหมัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเห็ด สิ่งนี้เป้นเหตุ เป็นผลสำคัญยิ่ง สำหรับ ผู้ที่จะต้องนำเอาเหตุผลนี้ไปอธิบายหรือไปสอนอย่างดียิ่งอีกสิ่งหนึ่ง ที่เรากำลังหาคำตอบอยู่ก็คือ เราจะหมักใช้เวลาเท่าไหร่ จึงจะได้ผล จากการศึกษาของการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในระหว่างการหมัก ดร.สมศักดิ์ ได้ทำการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยตรวจดูสารเบื้องต้นที่สำคัญของส่วนผสมของแต่ละชนิด ผลปรากฏว่า หลังจากทำการหมัก จะมีสารใหม่เกิดขึ้น และมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ และการเพิ่มของสารที่สำคัญที่เกิดขึ้นจะสิ้นสุด หรือคงที่ เมื่อทำการหมักไปได้นานสามเดือน นี่ก็เป็นเหตุ เป็นผล ที่จะสามารถนำไปใช้ในการศึกษาผลทางเคมี ทั้งสารตั้งต้น สารที่เกิดระหว่างการหมัก ที่สำคัญ จะได้รู้ว่า เวลาที่เหมาะสมแก่การหมักว่า สูตรแต่ละชนิด หากทำการหมัก ควรใช้เวลานานเพียงใด สิ่งเล่านี้ ข้อมูลเช่นนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่วงการสมุนไพร หรือแพทย์แผนไทยเป็นอย่างยิ่ง แล้วผลงานเช่น คนไทย หรือคนทั้งโลก จะต้องสดุดีในผลงานครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ สมควรที่จะได้รับการยกย่องอย่างยิ่ง[/su_column] [/su_row]
[su_row] [su_column size=”1/2″][/su_column] [su_column size=”1/2″]ท่านอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ นวลแก้ว ได้อรัมภบท แล้วย้อนถึงเหตุที่ท่านสนใจเรื่องสมุนไพรไทย ที่มีการบันทึกการใช้มาตั้งแต่อดีต และถูกถ่ายทอดกันมานับร้อยนับพันปีแล้ว ท่านจึงเข้าไปเรียนแพทย์แผนไทยจนจบ โดยเป็นนักศึกษาแพทย์แผนไทย ของ ศ. นพ. อวย รุ่นที่ 6 แล้วท่านก็ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ก็ติดขัดเรื่องหลักฐาน และข้อมูลทางวิชาการ ที่สากลยอมรับ ท่านจึงตัดสินใจเรียนเภสัชจนจบปริญญาเอกด้านเภสัช และภรรยาของท่านก็จบมาด้านนี้ ท่านจึงเอาวิทยาการทั้งสองแขนงเอามาเสริมซึ่งกันและกัน โดยพยายาม นำเอาเรื่องแพทย์แผนไทย สมุนไพรที่สำคัญ เอามาทำให้เป็นทางวิชาการที่ทั่วโลกยอมรับ และหาข้อพิสูจน์ ถึงตำนาน ตำรา และความเฉลียวฉลาดของภูมิปัญญาไทย ที่ทำไม ต้องใช้สมุนไพรหลายชนิดมารวมกันทำยา แม้ว่า นั่นจะเป็นการเฝ้าสังเกต จากการเก็บข้อมูลของสูตรที่มีคนนำไปใช้ สังเกตเก็บข้อมูลสืบทอดกันมาเป็นร้อยเป็นพันปี แต่ในแง่วิทยาศาสตร์ปัจจุบัน จะเอาเหตุผลอะไรล่ะที่เป็นเหตุผลทางวิชาการที่นักวิชาการ หรือวงการแพทย์ยอมรับ เรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องท้าทายยิ่ง ที่ท่านมุ่งมั่นที่จะทำเรื่องนี้ให้กระจ่างให้จงได้ โดยท่านยอมสละตำแหน่งบริหารแทบทุกตำแหน่งของมหาวิทยาลัย โดยทุ่มสุดตัวทางด้านวิชาการ และการดำเนินการผลิตยาแผนไทยให้มีความทันสมัย ซึ่งท่านได้ทำสำหรับมาหลายตำรับแล้ว ยกตัวอย่างเช่น น้ำตรีผลา ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย ที่จะให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง และได้รับการต้อนรับอย่างดีในการตลาด ที่ได้ทดลองวางตลาดดู จะเห็นว่า มีความต้องการสูงขึ้นอย่างน่าสนใจยิ่ง[/su_column] [/su_row]
[su_row] [su_column size=”1/2″][/su_column] [su_column size=”1/2″]ผมได้เรียนให้คุณหมอ นพ.อิสระ และอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เพิ่มเติมว่า ตอนที่ผมสนใจเรื่องเห็ดใหม่ๆ ผมก็สนใจแบบตามก้นต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่น ที่ทำการศึกษาเรื่อเห็ดเป็นยาอย่างจริงจัง มีการนำเอาเห้ดเป็นยาที่สำคัญไปทำการสกัดเอาสารเป็นยาในเห้ด ออกมาเป็นสารบริสุทธิ์ สารเดี่ยว เฉกเช่นสารเคมี ต่างกันตรงที่ สำหรับเห้ดหรือสมุนไพรหรือเห็ดนั้น การที่จะสกัดให้ได้สารเดี่ยวตัวใดตัวหนึ่งมานั้น ต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมหาศาล ได้สารเดี่ยวออกมาเพียงนิดเดียว ทำให้ต้นทุนจะสูงมาก ที่สำคัญ แม้ว่า เราจะสกัดสารเดี่ยวออกมาได้ ก็ใช่ว่า สารนั้นจะมีผลของการรักษาโรคเหมือนกับตอนที่มันอยู่ร่วมกับสารอื่นในสมุนไพรหรือในเห็ด ซึ่งปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกตระหนักเป็นอย่างดีในความผิดพลาดนี้ เช่น ที่ญี่ปุ่น โดยหันกลับไปพัฒนาสารผสม ที่รวมกันแล้วออกฤทธิ์เป็นยาแทน เรื่องนี้ อาจารย์ดร.สมศักดิ์บอกว่า มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ และมีเหตุ มีผลสนับสนุน โดยบอกว่า สมุนไพรแทบทุกชนิด สามารถนำไปแยก หรือไปสกัดเอาสารเดี่ยวออกมาได้ในแง่ทางเคมี แต่สารเดี่ยวที่สกัดออกมาได้ ส่วนใหญ่จะไม่มีผลในด้านการรักษาโรคดีเท่ากับสารผสม ที่มีทั้งตัวเด่นตัวรอง เสริมกันในการทำงานในการรักษาโรค หรือเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ท่านได้ยกตัวอย่างสมุนไพรหลายชนิด รวมทั้ง เห็ดเผาะ ที่กำลังเป็นฤดูที่มันกำลังออก ที่เป็นสุดยอดของยา ที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน สามารถสังเคราะห์ให้ได้สารเดี่ยวบริสุทธิ์ออกมาได้ แต่มันไม่มีผลในการลดน้ำตาลในเลือดได้ แต่หากมันอยู่ในรูปสารผสม มันจะเป็นสุดยอดของยารักษาโรคเบาหวานที่แทบจะหายาอื่นใดมาเทียบได้[/su_column] [/su_row]
[su_row] [su_column size=”1/2″][/su_column] [su_column size=”1/2″]ผมและอาจารย์แม่ก็ได้เล่าประสบการณ์ เรื่องการใช้เห็ดเป็นยา รวมทั้งสมุนไพร หรือพืชบางชนิด ที่ใช้รักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนยจากผลเชีย ที่ใช้รักษาโรคผิวหนัง ยางจากต้นกำยานโอมาน ที่ใช้รักษาอาการเจ็บปวด และอักเสบ และเล่าให้ฟังถึง เรื่องเห็ดเป็นยา ที่เป็นใบเบิกทาง ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสเอาเห็ดไปขายในตลาดค้าส่งที่กรุงโจฮันเนสเบริก ประเทศแอฟริกาใต้ โดยเอาเห้ดเป็นยารักษาโรคเบาหวานและโรคหัวใจให้คนที่ครองตลาดค้าส่งที่นั่น[/su_column] [/su_row]
[su_row] [su_column size=”1/2″][/su_column] [su_column size=”1/2″]จากนั้น อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ได้พาพวกเราและคณะไปเยี่ยมชมสถานที่ผลิตยาสมุนไพรไทยต้นแบบ ที่ได้มาตรฐาน GMP และได้ทำการผลิตยาสมุนไพรที่ได้มาตรฐานและใบอนุญาต อย.แล้ว 13 รายการ และเป็นธุระในการผลิตเห็ดเป็นยาบรรจุแคปซูลให้ทางอานนท์ไบโอเทค เพื่อสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัย การใช้เห็ดเป็นยาร่วมกับการรักษาทางด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน ของโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี[/su_column] [/su_row]

Similar Posts

ใส่ความเห็น