ตอบกลับไปยัง: การทำเอ็นไซม์ด้วยจุลินทรีย์ยูเอ็ม 55
หน้าแรก / ฟอรั่ม / สุขภาพ / การทำเอ็นไซม์ด้วยจุลินทรีย์ยูเอ็ม 55 / ตอบกลับไปยัง: การทำเอ็นไซม์ด้วยจุลินทรีย์ยูเอ็ม 55
ขบวนการหมักโดยละเอียดนั้น ขออดใจรออีกนิด จะพยายามรวบรวมมาให้
Pai_Anonworld on Mon Feb 27, 2012 9:41 am
หมู่นี้ นับตั้งแต่ ดร.อานนท์ เริ่มเปิดเผยความรู้ที่ท่านใช้ทำมาหากินมานานพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องของการหมักเอ็นไซม์ และการหมักเห็ดเพื่อทำเป็นเอ็นไซม์หรือยาอะไรต่างๆนั้น ก็ปรากฎว่ามีหลายต่อหลายคนให้ความสนใจ เพราะที่ผ่านมา มีน้อยรายนักที่จะรู้เรื่องของเอ็นไซม์ บางคนด้วยความไม่รู้เรื่องของเอ็นไซม์ กลับกล้าพูดเรื่องเอ็นไซม์จนผิดเพี้ยนไปหมด บางคนก็บอกว่า การทำเอ็นไซม์นั้น ยิ่งหมักนานเป็นสิบปี ยิ่งมีเอ็นไซม์สูง ทั้งๆที่เอ็นไซม์ส่วนใหญ่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ที่ค่าพีเอสต่ำหรือมีความเป็นกรดสูง เช่น การหมักที่มีการรณรงค์ทำกันเต็มบ้านเต็มเมืองนั้น ไม่ได้เป็นการหมักเพื่อให้ได้เอ็นไซม์ แต่เป็นการหมักน้ำส้มสายชูธรรมดาเท่านั้นเอง แน่นอน ที่ต้องหมักกันเป็นปี เพราะเรื่มจากการใช้เชื้อมั่ว หรือใช้อะไรก็ไม่รู้ที่มันมาเอง มันจึงเป็นแหล่งสารพัดเชื้อ รวมทั้งเชื้อโรคด้วย ด้วยเหตุนี้ การหมักเพียงระยะสั้น จึงเสี่ยงอันตรายมาก จึงจำเป็นต้องหมักนานๆ เพื่อสะสมความเป็นกรด
เมื่อมีกรดสูงขึ้น ผลสุดท้ายก็จะเหลือเชื้อน้ำส้มสายชู(Acetobactor acetii) เท่านั้น โดยเชื้อน้ำส้มสายชูนั้น มันจะย่อยพวกน้ำตาลหรือแอลกอฮอลล์ออกมาเป็นกรดน้ำส้ม และแผ่นเซลลูโลสเท่านั้น มันไม่ได้วิเศษวิโสอะไรดั่งที่คุยว่าเป็นยาวิเศษอะไร จริงๆแล้ว การหมักเอ็นไซม์นั้น มันอยู่ที่ว่า เราต้องการเอ็นไซม์อะไร เราขาดเอ็นไซม์อะไร และเราต้องการจะเสริมเอ็นไซม์อะไร ทีนี้ การที่จะทำเอ็นไซม์นั้นๆ เพื่อที่จะไปย่อยอะไร มันก็ต้องมีสารอหารหรือธาตุอาหารตั้งต้นตัวนั้นด้วย และจะต้องมีเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างเอ็นไซม์นั้นๆด้วย กล่าวคือ หากคุณต้องการเอ็นไซม์ที่ย่อยโปรตีน ซึ่งจริงๆคำว่า เอ็นไซม์ที่ย่อยโปรตีนนั้น มันเป็นคำที่กว้างมาก เพราะโปรตีนมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีองค์ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่มีเป็นหลายสิบชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่แตกต่างกันไป บางชนิดอาจจะมีกรดอะมิโนหลายชนิด หรือบางชนิดอาจจะเป็นกรดอะมิโนชนิดเดียวกัน แต่จำนวนที่มันจับเกาะกันนั้น แตกต่างกันไป หรือมีจำนวนที่แตกต่างกันไป ก็คถือว่า เป็นโปรตีนต่างชนิดกัน
ดังนั้น เอ็นไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนแต่ละชนิด ก็จะต้องเป็นเอ็นไซม์เฉพาะ ของมันเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เขาจึงหมายรวมเอาว่า เอ็นไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนนั้น เขาเรียกว่า โปรตีเอส (Protease) ซึ่งเราก็พบว่า มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถย่อยโปรตีนได้ดี บางชนิดสามารถย่อยโปรตีนได้หลายชนิด และอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น เชื้อแบคทีเรียตระกูล เพดิโอคอคคัส พวกนี้ สามารถสร้างเอ็นไซฒ์ในเวลาไม่กี่นาที ได้เป็นแสนๆเท่าที่ร่างกายมนุษย์สร้างได้ ดังนั้น หากเราเอาอาหารที่มีโปรตีนให้มันกิน มันก็จะสร้างเอ็นไซม์พวกนี้อย่างรวดเร็ว เพื่อย่อยโปรตีนเอาไปใช้ในการสร้างเซล หรือแบ่งเซลและการเจริญเติบโตของตัวมันเอง ผลที่ได้ นอกจากมันจะนำไปใช้ในการแบ่งเซลแล้ว มันยังคายของเสียออกมาในรูปของกรดหลายชนิด ที่สำคัญ คือ กรดแลคติก ซึ่งจะทำให้หลังจากหมักแล้วจะมีรสเปรี้ยว เช่น แหนม หรือผักกาดดอง เป็นต้น เมื่อมีปริมาณกรดสูงขึ้นเท่าไหร่ เอ็นไซม์ที่จะใช้ย่อยโปรตีนก็จะหมดสภาพหรือเสื่อมสลายลง พอมาถึงจุดนี้ ก็อยากจะฝากฝังผู้ที่กำลังติดตามคำตอบนี้ว่า การที่เราจะทำเอ็นไซม์ เอามาทาน หรือเอามาใช้ หรือทำไปขายนั้น เราจะต้องเอามาใช้ในช่วงที่จุลินทรีย์สร้างเอ็นไซม์มากที่สุด ซึ่งจะนำมาเสนอต่อไป ตอนนี้ ขอทำความเข้าใจเป็นเรื่องๆไปก่อน ไม่อยากให้ไปเร็วเกินไปโดยที่ไม่เข้าใจ อยากให้ผู้ที่อ่านมาถึงตรงนี้ กลับย้อนไปทำการบ้าน ด้วยการอ่านบทความของ ดร.อานนท์ ในเวปนี้
Pai_Anonworld