Reply To: สารไล่แมลงและ ฟังแบคคิว กับ ไมโตฟากัส และเชื้อ บีที

Home / Forums / สุขภาพ / สารไล่แมลงและ ฟังแบคคิว กับ ไมโตฟากัส และเชื้อ บีที / Reply To: สารไล่แมลงและ ฟังแบคคิว กับ ไมโตฟากัส และเชื้อ บีที

    May 16, 2017 at 12:08 am #4312

    ดีใจมากครับที่มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยเข้ามาคุยกันในห้องนี้พอสมควร และดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก ทั้งคำถาม สมาชิกทุกคนคำตอบสามารถถามหรือเข้าดูได้เสมอ ก็ดีแล้วที่คุณถามเรื่องของสารไล่แมลงทั้งหลายมา ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจเรื่องของสารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆพวกนี้เสียก่อน
    สารไล่แมลง ที่ทางศูนย์ได้มอบหมายให้ทางอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเลิศพินิจ เป็นผู้ผลิตนั้น เป็นสารที่ได้จากการนำเอาสมุนไพรที่มีสารธรรมชาติในการไล่ ฆ่า หรือทำให้ไข่หนอนไม่ฟักเป็นตัว เช่น เมล็ดของสะเดา ตะไคร้หอม หนอนตายหยาก หางไหล สาบเสือ ข่าแก่ ยาฉุน เป็นต้น มาผ่านขบวนการหมัก เพื่อสกัดเอาสารดังกล่าวออกมา ส่วนใหญ่ จะเอาน้ำหมักนี้ไปใช้เลย แต่ผลิตภัณฑ์ของทางศูนย์ได้เพิ่มขึ้นตอนที่ดีเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ได้นำเอาน้ำหมักดังกล่าว ไปทำการกลั่นเอาเฉพาะสารระเหย ที่เราได้ทดสอบแล้วว่า มันออกฤทธิ์ได้ดีกว่าน้ำหมัก มีความเข้มข้นมากกว่า เหนือสิ่งอื่นใด มันมีความบริสุทธิ์มากกว่า ทำให้สามารถเก็บได้นานๆ มีสีใส ส่วนสารออกฤทธิ์ที่ถูกกลั่นได้นี้ มันจะมีสารออกฤทธิ์อยู่ 3 ประเภท กล่าวคือ 1. เป็นสารที่มีกลิ่นที่แมลงศัตรูพืช และเห็ดไม่ชอบ จะทำให้แมลงเข้าทำลายน้อยลง เพราะมันไม่ชอบกลิ่นนี้ 2. มันจะไปฆ่าหรือทำให้แมลงที่สัมผัสถูกได้รับอันตรายหรือตายได้ แต่ในปริมาณที่มาก (สามารถลองได้ โดยใช้ในปริมาณที่สูง ฉีดเข้าไปในก้อนที่มีหนอนหรือแมลง หนอนหรือแมลงจะมุดออกมาแบบกระเสือกกระสนแล้วตาย) 3.สารออกฤทธิ์บางตัวไปทำลายขบวนการสร้างผนังเซลของหนอน หรือการสร้าง Calcium pectate ทำให้หนอนไม่สามารถลอกคราบได้ หรือลอกได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้หนอนไม่สามารถพัฒนาเป็นตัวแก่เต็มวัยได้ ปริมาณของแมลงก็จะลดลง
    ส่วนฟังแบคคิวนั้น เป็นอินทรีย์สาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดที่ได้มาจากการหมัก ที่ไปยับยั้งการสร้างผนังเซลของตัวหนอน รวมทั้งยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ดังนั้น ฟังแบคคิว จึงมีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคแมลงได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ผสมน้ำฉีดหน้าก้อนเชื้อเห็ดได้ โดยไม่ทำอันตรายต่อเชื้อเห็ด และยังใช้เป็นยาฆ่าเชื้อในห้องเขี่ยเชื้อ ตู้เขี่ยเชื้อ หรือฉีดพ่นบนพื้นและถุงก้อนวัสดุก่อนที่จะทำการเขี่ยเชื้อ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค และป้องกันแมลงวันก้นขน ที่จะมาไข่แล้วกลายเป็นหนอนชอนไชเข้าไปในถุงวัสดุเพาะในช่วงพักก้อนเชื้อได้ จากเหตุผลดังกล่าว ควรใช้ฟังแบคคิว ร่วมกับสารไล่แมลง อาจจะใช้รวมกัน หรือสลับการใช้ก็ได้
    ส่วนไมโตฟังกัส และเชื้อบีทีนั้น เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ถูกเลี้ยงขึ้นมา เพื่อเข้าไปทำลายหนอนโดยเฉพาะ หมายความว่า เมื่อมีการฉีดเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวเข้าไปแล้ว ตัวหนอนที่อยู่บริเวณนั้น เมื่อได้รับเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปแล้ว มันจะกลายเป็นโรคและตายไปในที่สุด ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการปรับลดปริมาณของตัวหนอนหรือศัตรูของเห็ดได้ แต่ปัญหามีอยู่ว่า เชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าว มิได้มีความสามารถในการทำให้หนอนทุกชนิดเป็นโรคได้ มีหนอนบางชนิดเท่านั้น ดังนั้น จากการทดลองที่ผ่านมา ยังไม่อาจสรุปได้ว่า การใช้เชื้อดังกล่าว จะสามารถควบคุมระบาดของตัวหนอน และแมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกไรชนิดต่างๆได้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเชื้อ บีทีนั้น พบว่า หากฉีดเข้าไปในวัสดุคลุม เช่น ดินร่วนปนทราย ที่ใช้คลุมวัสดุเพาะเห็ดกระดุม เห็ดกระดุมบราซิล พบว่า มีส่วนทำการกระตุ้นให้เส้นใยเห็ดรวมตัวกันเป็นดอกได้ดี และผลผลิตเพิ่มขึ้น
    สำหรับแมลงหางหนีบนั้น ก็ถือว่า เป็นการควบคุมแมลงที่เป็นศัตรูเห็ดได้ดีชนิดหนึ่ง โดยมันจะไปทำลายหรือไปกินไข่ ตัวหนอนของแมลงที่เป็นศัตรูเห็ดได้ แต่นั้น ก็มิได้หมายความว่า เราควรจะไปหามันมาใส่ในโรงเพาะเห็ดของเรา ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติเถอะ เมื่อมีแหล่งอาหารอยู่มากมันก็จะมาเอง เพราะตอนนี้เป็นการเฝ้าสังเกตอยู่ด้วยความสงสัยเหมือนกันว่า หากอาหารมันกินไปหมดแล้ว หรืออาหารไม่เพียงพอ มันอาจจะกินเส้นใยเห็ดแทนก็เป็นไปได้ อย่าเสี่ยงเลยครับ อ้าวดูบอลคู่ชิงต่อในช่วงที่สอง ขณะที่ผลยัง 0-0 อยู่ ขณะที่เวลาเข้าไปตีสองกับ28 นาที ขอให้โชคดี แล้วเจอกันหลังบอลโลกเน้อ