เห็ดเยื่อไผ่ เห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย

โดย ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส(เห็ด) องค์การสหประชาชาติ ปี 2524-2548

ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงเชื่อมานานแล้วว่า เยื่อไผ่ที่เราทานกันในร้านอาหารจีน ที่มีราคาแพงๆและหายากนั้น คงมาจากเยื่อจะต้นไผ่สายพันธุ์พิเศษจากจีน และเชื่อว่า หลายคนที่มั่นใจว่า การกินเยื่อไผ่เป็นยาบำรุงนั้นมาจากต้นไผ่สายพันธุ์พิเศษที่มีเฉพาะที่ประเทศจีนเช่นเดียวกับผม แต่พอเอาเข้าจริงๆแล้ว เยื่อไผ่ ไม่ได้มาจากต้นไผ่ แต่เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ตามพื้นที่เขตร้อนชื้น เช่น ในประเทศไทย ที่มักจะพบเจอแทบทุกภาคของประเทศ โดยเกิดขึ้นตามพื้นดินที่มีเศษซากวัสดุเก่าที่เน่าเปื่อยผุพังและมีความชื้นสูง เช่น ใต้สวนมะพร้าว สวนยางพารา ตามป่าร้อนชื้น โดยเห็ดชนิดนี้ มีลักษณะไม่เหมือนเห็ดอื่นๆ กล่าวคือ มันจะมีกระโปรงเป็นตาข่ายหลากหลายสี ขึ้นอยู่กับชนิดหรือสายพันธุ์ของมัน บางชนิดจะมีหมวกครอบบนสุดของก้านเป็นสีดำ หรือสีเทา มีก้านและกระโปรงสีขาว บ้างก็สีเหลือง สีส้ม สีแดง บ้านเราเรียกว่า เห็ดร่างแห ทางอิสานเรียก เห็ดดางแห ภาษาอังกฤษเรียก Bamboo mushroom, Veiled lady, Long net stinkhorn หรือ Basket stinkhorn ภาษาจีนเรียก Zhu Sheng ( 竹笙 , พินอิน : zhúshēng) หรือ ดวงอาทิตย์ Zhu( 竹荪 ; พินอิน : zhúsūn)(ยูนนานและเรียกว่า Sheng Zhu หรืออาจูในจีน) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เห็ดเยื่อไผ่สีเหลือง Dictyophora multicolor Fisch ที่เกิดตามพื้นที่มีอินทรีย์วัตถุเน่าเปื่อย ผุพังแล้ว

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.22.17-PM
การเตรียมวัสดุเพาะเห็ดเยื่อไผ่ที่อานนท์ไบโอเทค โดยมีผู้เชี่ยวชาญเพาะเห็ดเยื่อไผ่จากประเทศจีน มาให้คำแนะนำปรึกษา

รวมทั้งส่งออกเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่จีนที่สำคัญ โดยมีตำนานการบริโภคเห็ดนี้มานานกว่า 3,000 ปีแล้ว เพื่อใช้เป็นอาหารบำรุงร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากท้องเดิน รักษาโรคความดันโลหิตสูง และปัญหาเนื้อเยื่อมีไขมันมาก ตับอักเสบ โรคที่เกี่ยวข้องกับไต ตา ปอด และเป็นหวัดนอกจากนี้ยังใช้ เป็นตัวป้องการการบูดเสียของอาหารต่าง ๆได้เป็นอย่างดี จากความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ได้มีการวิจัยเห็ดชนิดนี้ในเชิงลึกพบว่า เห็ดชนิดนี้มีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูง มีโปรตีน 15-18% โดยเฉพาะน้ำตาลที่สำคัญเช่น mannitol 90.89 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวอย่างแห้ง 1 กรัม ซึ่งสูงกว่าเห็ดขอน ( Grifola frondosa ) และเห็ดสมองลิง ( Hericium erinaceus ) ที่มีเพียง 9.36 และ 12.98 ตามลำดับ ผมจึงให้ความสนใจที่จะทำการเพาะเห็ดชนิดนี้ให้ได้ แต่ก็ไม่ประสพผลสำเร็จเท่าที่ควร ในปี พ.ศ. 2540 ผมได้เดินทางไปดูวิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ที่ประเทศจีน แล้วก็ได้นำเชื้อเห็ดเยื่อไผ่มาทำการเพาะที่ประเทศไทย ก็พบว่า สามารถทำการเพาะเห็ดชนิดนี้ได้ ก็จึงได้ทำการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง ปัจจุบันมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า เราสามารถเพาะเห็ดเยื่อไผ่ได้ผลดีตลอดทั้งปีในประเทศไทย เวลาที่ใช้ในการเพาะสั้นกว่าที่เพาะในประเทศจีน และมีวัสดุที่ใช้เพาะหลากหลายกว่าอีกด้วย ขณะนี้กำลังขยายฐานการผลิตในเชิงธุรกิจ ณ สถานที่ตั้งของอุทยานเห็ดอานนท์เวิลด์ ต.เพนียด อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี เพื่อทำการเพาะเห็ดเยื่อไผ่จำหน่ายทั้งในรูปเห็ดเยื่อไผ่สดส่งจำหน่ายตลาดภายในประเทศ และแปรรูปเป็นเห็ดแห้งเพื่อการส่งออก และเพื่อเป็นสถานที่ฝึกอบรมให้แก่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการในอนาคตอันใกล้นี้

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.22.25-PM
แนะนำขยายผลวิธีการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ไปสู่สมาชิก

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.22.51-PM
ใต้ต้นเบาบับ ไม้ที่โตที่สุดในโลกและเป็นไม้โตเร็วที่ปลูกได้ในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นยาและไม้ประดับ ก็สามารถเพาะเห็ดเยื่อไผ่ได้

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.22.35-PM
ขยายผลการเพาะไปยังสมาชิกที่มีสวนมะม่วง สามารถ ยืนยันได้ว่าได้ผลเป็นอย่างดี ทั้งผลผลิตของเห็ดเยื่อไผ่ และผลผลิตของมะม่วงระหว่างต้นเบาบับ

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.23.02-PM
สามารถใช้วัสดุเพาะได้หลากหลาย

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.23.11-PM
ดร.อานนท์ แนะนำการใช้วัสดุเพาะสำเร็จรูปสำหรับเพาะเห็ดเยื่อไผ่ ซึ่ง สามารถนำเอาไปเพาะเห็ดเยื่อไผ่ได้เลย

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.23.19-PM
ดอกเห็ดเยื่อไผ่ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีตลอดทั้งปี ของประเทศไทย และมั่นใจว่า จะเป็นเห็ดเศรษฐกิจตัวใหม่ของไทยอย่างแน่นอน

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.23.29-PM
คณะเพื่อนร่วมงานนักวิจัย ที่พวกเขาเหล่านี้ได้ทุ่มเททุกสรรพสิ่งที่มี เพื่อผลสำเร็จในการรวบรวมข้อมูลการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ทุกแง่ทุกมุม และนี่คือ ผลตอบแทนที่เขาได้ คือ ความพอใจ ที่สามารถเพาะเห็ดเยื่อไผ่ได้ในประเทศไทยตลอดทั้งปี สามารถทำเป็นธุรกิจการผลิตที่มั่นคง

ดอกเห็ดเยื่อไผ่ที่บานสะพรั่งที่อานนท์ไบโอเทค และตามฟาร์มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งที่อุทยานเห็ดอานนท์เวิลด์

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.24.18-PM
กลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตเห็ดจากสามโคกที่เข้าร่วมโครงการ

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.24.26-PM
อ.ประเวช แสงเพชร เจ้าของนามปากกาหมอเกษตร

ของหนังสือพิมพ์เทคโนโลยีชาวบ้านได้มาเยี่ยมชมโครงการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ของ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.26.05-PM
คุณยายเนาวรัตน์ การ่อน อายุ 84 ปี น้องสาวของคุณแม่ผมที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ชื่นชมกับผลงานการวิจัยเห็ดเยื่อไผ่ ที่ได้ผลเป็นอย่างดีสามารถยึดเป็นอาชีพที่มั่นคงของเกษตรกรไทย

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.26.13-PM
คุณปรานอม อาศิรพงศ์พิศิษฐ์ ลูกสาวของป้า และ อ.แสงจันทร์ เจียศิริพงษ์กุล พี่สาวของผม ผู้ซึ่งดูแล และให้กำลังใจผมมาด้วยดีตลอด เปรียบประหนึ่งคุณแม่คนที่สองของผม

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-6.26.23-PM
คุณสง่า เอื้อตระกูล พี่ชายคนโต เปรียบประดุจคุณพ่อคนที่สองของผม ผู้สนับสนุนงานเกี่ยวกับเห็ดอย่างแรงกล้า และเป็นผู้ร่วมเดินทางไปดูงานต่างประเทศด้วยกันหลายครั้ง

Enlarge

Screen-Shot-2017-03-05-at-7.37.37-PM
คณะบอร์ดใหญ่ของบรรดาญาติใกล้ชิด ที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนและให้กำลังใจในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับเห็ดตลอดมา และเป็นผู้สนับสนุนหลักในการวิจัยเรื่องเห็ดเยื่อไผ่ จนประสพผลสำเร็จ ทำให้ประเทศไทยสามารถเพาะเห็ดเยื่อไผ่เป็นเห็ดเศรษฐกิจตัวใหม่ได้แล้ว นำโดย พตท. จำนง พริบไหว กำนันสนิท พริบไหว อ.จำเนียร พริบไหว(อดีตรองอธิการบดีสถาบันนิด้า) คุณสง่า เอื้อตระกูล อ.ธวัช และ อ.แสงจันทร์ เจียศิริพงษ์กุล คุณปรานอม อาศิรพงศ์พิศิษฐ์ คุณมานพ พริบไหว อ.เยานุชและ ดช.โชคชัย เอื้อตระกูล ถือเป็นการเปิดตัวแก่สาธารณชนครั้งแรกในวันชุมนุมญาติวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 ที่บ้านร่องกาศ อ.สูงเม่น จ.แพร่

มีหน้าต่อไป